take home 2


Independent living เป็นระบบอย่างไรที่อยู่ในชุมชนและนักกิจกรรมบำบัดสามารถมีส่วนร่วมทำงานกับทีม IL

           ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลเพื่อพัฒนาการรูปแบบการจัดการฟื้นฟู โดยทางโรงพยาบาลจะเป็นคนคัดเลือกเคสที่เห็นว่าควรได้เจอกับIL หรือเป็นทางทีมILที่ได้เข้าไปเยี่ยมเคสและเลือกเคส โดยทางทีมIL จะเริ่มจากการเข้าไปพูดคุยให้คำปรึกษาแบบ peer counseling เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ ความเชื่อมั่น พลังใจ และหาความต้องการ จากนั้นมีการช่วยฝึกทักษะการดำรงชีวิตอิสระ แนะนำข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิที่สามารถได้รับ และยังช่วยมีบริการช่วยเหลือคนพิการ เช่น การจัดหารถอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ นอกจากจะร่วมมือกับทางโรงพยาบาลแล้วทีมIL ยังทำงานเชิงรุกโดยการเข้าไปลงชุมชนหรือเมื่อได้รับข้อมูลจากทางนักพัฒนาชุมชนจึงได้มีการลงไปเยี่ยมบ้านหากยังมีผู้พิการที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการรักษาทางทีมจะติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลในการร่วมมือกันฟื้นฟูให้คนพิการกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ

           โดยนักกิจกรรมบำบัดสามารถทำงานร่วมกับทีมIL ได้โดยติดต่อแนะนำทีม IL มาเป็น role model ให้กับผู้รับบริการที่หมดกำลังใจและมีปัญหาคล้ายคลึงกัน เพื่อที่ผู้รับบริการจะเห็นว่ามีคนที่เป็นคล้ายคลึงกับตนเองแต่ก็สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเองหรือมีคนช่วยเหลือน้อยที่สุดและมีแรงจูงใจในการเข้ารับการบำบัดรักษาเพิ่มมากขึ้น หรืออาจจะติดต่อกลับทีมILให้ช่วย coaching การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ยังสามารถทำงานร่วมกับทีม IL ในการลงชุมชน

หมายเลขบันทึก: 675328เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2020 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท