สะท้อนความคิด กิจกรรมบำบัด ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระ


วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2563 ดิฉันและนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระ จังหวัด นครปฐม รู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เพราะที่ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระฯนี้ค่อนข้างมีชื่อเสียงในการดำเนินชีวิตของคนพิการ ที่เป็นไปอย่างอิสระและด้วยตนเอง เมื่อไปถึงพี่ๆที่ศูนย์ฯได้มีกิจกรรมให้ทำ2กิจกรรม โดยในกิจกรรมที่1 เป็นลองสัมผัสถึงความรู้สึกของคนพิการ เป็นการให้นักศึกษาบางส่วนเป็นคนพิการ และที่เหลือเป็นบุคคลภายนอก ที่มีคำพูดต่างๆออกมา เช่น “หน้าตาก็ดี ไม่น่าเป็นแบบนี้เลย” “คงเป็นเวรกรรม ถึงได้เป็นแบบนี้” ฯลฯ หลังจากทำกิจกรรม พี่ๆเจ้าหน้าที่ศูนย์ให้นักศึกษากิจกรรมบำบัดทั้งฝั่งผู้ที่แสดงเป็นคนพิการและผู้ที่แสดงเป็นคนภายนอกสะท้อนความคิดแต่ละคนว่ารู้สึกอย่างไรที่ได้ทำกิจกรรมนี้ พวกเรานักศึกษามีความเห็นตรงกันว่าเข้าใจความรู้สึกผู้พิการมากขึ้น รวมทั้งช่วยกันระดมความคิดว่าคำพูดที่ดี ที่ควรพูดกับคนพิการคืออะไร ในกิจกรรมที่ 2 เป็นกิจกรรมจำลองความพิการ โดยให้นักศึกษาแบ่งกันทดลองสมมติเป็นความพิการต่างๆ เช่น ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ พิการทางแขนขา โดยจะให้ทุกคนร่วมกันเดาะบอลโดยใช้อวัยวะส่วนใดก็ได้ยกเว้นอวัยวะที่มีความพิการ เช่น คนตาบอดก็จะสามารถเล่นเกมส์ได้แต่จะมีผ้าปิดตา ทำให้มองไม่เห็น โดยตั้งแต่รอบแรกจะให้คัดคนออกเรื่อยๆว่าผู้พิการแบบใดมีความสามารถในการเล่นเกมส์ชนิดนี้น้อยที่สุด เมื่อจบกิจกรรมจึงมีการสะท้อนความคิดของแต่ละคน ว่าพิการแบบนี้แล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง ความยากลำบากในการทำกิจกรรม รวมทั้งความรู้สึกของผู้ที่ได้รับการคัดออก ในกิจกรรมครั้งนี้ดิฉันได้ร่วมเป็นผู้คัดเพื่อนออกในรอบแรกด้วย โดยลงความเห็นว่า ควรคัดผู้ที่ตาบอดออกเพราะการมองไม่เห็นน่าจะทำให้เล่นเกมส์นี้ได้ยากที่สุด แต่เมื่อจบกิจกรรมและได้สะท้อนความคิดกัน ฉันจึงได้เรียนรู้ว่าเราไม่ควรตัดสินใจถึงความสามารถของผู้อื่นผ่านความพิการของบุคคลนั้นๆ เราควรจะให้เขาได้ลองก่อน ๆ ในกิจกรรมช่วงเช้านี้ทำให้ฉันเข้าใจและรับรู้ถึงความรู้สึกของคนพิการมากขึ้น รวมทั้งการเข้าหาและคำพูดที่ควรพูด เพื่อนำไปประยุกต์และปรับใช้ในการทำกิจกรรมบำบัดให้ผู้รับบริการในครั้งต่อๆไป และในช่วงภาคบ่ายเป็นการลงชุมชน โดยกรณีศึกษาที่กลุ่มดิฉันได้รับคือกรณีศึกษาที่กลุ่มฉันได้ไปศึกษาผู้พิการ ที่มีปัจจุบัน สามารถขยับท่อนบนของร่างกายได้บางส่วน โดยมีการพูดคุยและสอบถาม พบว่าปัจจุบันสามารถสร้างรายได้ได้มากมายจากความชอบของตนเองซึ่งก็คือต้นกระบองเพชร จึงทำขาย แต่เนื่องจากปัจจุบันผู้พิการไม่สามารถเดินได้ จึงให้คุณแม่เป็นคนดูแลต้นไม้ให้ อีกทั้งผู้พิการได้เป็นวิทยากรในหลายๆงานทั้งในและต่างประเทศ หลังจากที่พูดคุยฉันรู้สึกประทับใจในทัศนคติของผู้พิการคนนี้เป็นอย่างมาก เขามีทัศนคติที่ดี ไม่ยอมแพ้ต่อชีวิต และคิดว่าการพิการไม่ใช่การสูญเสียการใช้ชีวิต อีกทั้งยังเข้าใจมากขึ้นว่าความพิการไม่ใช่สิ่งที่ทำลายชีวิต ผู้พิการหลายๆคนยังสามารถทำงานและดำรงชีวิตได้ปกติ และไม่ต้องการให้คนรอบข้างมาสงสาร อยากยืนหยัดใช้ชีวิตได้ด้วยตนเอง ทำให้ดิฉันสามารถนำไปปรับใข้ในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในอนาคต เมื่อต้องเจอผู้พิการว่าควรเข้าหา และมีคำพูดอย่างไร จะทำอย่างไรให้ผู้รับบริการมีกำลังใจในการเข้ารับการบำบัดมากขึ้นไป ในการศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม ฉันรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้เห็นถึงความแตกต่างในระบบการทำงานของโรงพยาบาลชุมชนที่ต่างไปจากโรงพยาบาลทั่วๆไป ฉันได้เรียนรู้ว่าหากต้องมาทำงานในโรงพยาบาลชุมชน นักกิจกรรมบำบัดจะมีหน้าที่อะไรบ้าง รวมทั้งเทคนิคต่างๆทางกิจกรรมบำบัดที่ได้เรียนรู้ผ่านการบรรยายของพี่ๆเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลและผ่านการลงชุมชน

หมายเลขบันทึก: 675309เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2020 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2020 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท