The Assure model


ASSURE Model



แบบจำลอง The ASSURE Model มีขั้นตอนดังนี้1.  Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)       การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2ลักษณะ คือ          1. ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ          2. ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่                   2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
                   2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล
                   2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือไม่
                   2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน


2. State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์)          การเรียนการต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่กำหนดความสามารถของผู้เรียนว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในระดับใด และภายใต้เงื่อนไขใดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม
โดยวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3ด้าน คือ          1. พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และการพัฒนา
          2. จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
          3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ


3. Select instructional methods, media, and materials (การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่)การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ          1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
          เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้           • ลักษณะผู้เรียน
          • วัตถุประสงค์การเรียนการสอน
          • เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน
          • สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด          2. การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
          กรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้          3. การออกแบบสื่อใหม่
          กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่


4. Utilize media and materials (การใช้สื่อ)ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ          1. ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ / ทดลองใช้ ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ จะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน          2. เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที่ การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด          3. เตรียมผู้เรียน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้น จะต้องมีการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น ๆ มีการเร้าความสนใจ หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ           4. การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน ผู้สอนที่ทำหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น ในการนำเสนอควรปฏิบัติดังนี้
                   4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ 
                   4.2 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้า
                   4.3 ประเมินความสนใจของผู้เรียน โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่วทั้งชั้นซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน และวิเคราะห์สีหน้า ท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน


5. Require learner participation (การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)          การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ ตอบสนองโดยเปิดเผย  โดยการพูดหรือเขียน เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ โดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม


6. Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)          หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดสิ่งที่ต้องประเมินได้แก่
          การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อ ๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
          การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ

ตัวอย่างบทเรียนที่ใช้ The ASSURE Model(การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจำลอง) เรื่อง สมบัติความเป็นกรดและสมบัติความเป็นเบสของสารละลาย
1.  Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)

          1.1  ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน  : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1ของโรงเรียนดำรงปัญญา มีนักเรียนทั้งหมด 20 คน เป็นนักเรียนหญิง 12 คน และนักเรียนชาย 8 คน          1.2 ข้อมูลเฉพาะของนักเรียน           1) ความรู้และทักษะพื้นฐาน : นักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องสารละลายและลักษณะของสารละลายในบทเรียนก่อนหน้า และผ่านการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน           2) ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของ : ทักษะด้านภาษา ทักษะการสังเกต ทักษะการใช้เหตุผล           3) เจตคติ : นักเรียนตระหนักถึงการใช้สารละลายให้ถูกคุณสมบัติและปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

2. State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์)
            1. นักเรียนอธิบายคุณสมบัติความเป็นกรดของสารละลายได้(พุทธิพิสัย)
          2. นักเรียนอธิบายคุณสมบัติความเป็นเบสของสารละลายได้(พุทธิพิสัย)
          3. นักเรียนสามารถจำแนกสารละลายกรดและสารละลายเบสได้(ทักษะพิสัย)
          4. นักเรียนมีความตระหนักถึงการใช้สารละลายกรดและเบสให้ถูกคุณสมบัติและปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

3. Select instructional methods, media, and materials (การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่)
          1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว          โดยหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1  จากhttp://www.scimath.org/ebook/sci/m1-1/student/


          2 การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
          โดยให้นักเรียนดูวิดีโอเรื่อง กรด – เบส ในชีวิตประจำวันแล้วเลือกกรดและเบสที่นักเรียนใช้ภายในบ้านมาคนละ 1 ชนิด 

          
ให้นักเรียนดูวิดีโอการทดสอบความเป็นกรดและเบส ก่อนที่จะเรื่องการทดลองจริงในชั้นเรียน


  

ชนิดของสื่อ ความสนใจ วัตถุประสงค์ การใช้ ข้อจำกัด
หนังสือเรียน วิทยาศาสตร์ ม.1 ปานกลาง นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเองและรู้แนวทางในการเรียน ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการเรียนการสอบและเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆ -
การทดลองในชั้นเรียน มาก เป็นการเพิ่มความเข้าใจในเรื่องที่เรียนและฝึกให้นักเรียนมีทักษะการสังเกตและใช้เหตุผล ใช้สารละลายกรดและเบสในชีวิตประจำวันมาทดสอบด้วยวงล้อ pHซึ่งเป็นการทดลองที่ง่ายและปลอดภัย ข้อจำกัดในเรื่องสารละลาย อุปกรณ์ และเวลา 
การจัดจำแนกสารละลายกรดเบส มาก นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องคุณสมบัติความเป็นกรดและเบสในชีวิตประจำวันได้ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจำแนกสารละลายกรดเบสที่ได้รับพร้อมบอกเหตุผลในการจำแนก สารละลายอาจไม่เพียงพอสำหรับการจำแนก อาจใช้เป็นรูปภาพแทนได้
สื่อวิดีโอ มาก เพื่อดึงความสนใจของผู้เรียนก่อนนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการ์ตูนที่แนะนำสารละลายกรดเบสที่พบรอบๆตัวนักเรียน ซึ่งเป็นการ์ตูนที่สามารถดูได้เองที่บ้าน
-



4. Utilize media and materials (การใช้สื่อ)
          1. อ่านทบทวนเนื้อหาเรื่องคุณสมบัติความเป็นกรดและเบสจากคู่มือครูและหนังสือเรียนของนักเรียน การหาสื่อวิดีโอต้องเลือกวิดีโอที่อธิบายความเป็นกรดเบสที่ถูกต้องและมีความน่าสนใจสามารถดึงดูดนักเรียนได้          2. ในห้องเรียนเรื่อง สมบัติความเป็นกรดและสมบัติความเป็นเบสของสารละลาย จะต้องมีการจัดโต๊ะนักเรียนเป็นกลุ่ม ทรงตัว U ขณะทำการทดสอความเป็นกรดเบสด้วยวงล้อ pH และการแบ่งกลุ่มจัดจำแนกสาร ขณะที่ครูเปิดวิดีโอให้ดูโดยใช้โปเจ๊กเตอร์ ให้นักเรียนนั่งพื้นรวมกันเพื่อนดูวิดีโอ ซึ่งการจัดที่นั่งแบบนี้จะทำให้ครูสามารถเดินเข้าไปหานักเรียนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง และครูวางสารละลายกรดและเบสกลางห้องเพื่อให้นักเรียนแต่ละกลุ่มมาหยิบใช้ได้ง่าย          3. เตรียมผู้เรียนโดยการให้ผู้เรียนดูการ์ตูน เกี่ยวกับสารละลายที่เป็นกรดและเบสในชีวิตประจำวันเพื่อดึงดูดความสนใจและเร้าให้นักเรียนอยากรู้ว่าสารละลายใดบ้างที่มีคุณสมบัติเป็นกรดและสารละลายใดบ้าง          4. ในการใช้แต่ละสื่อมีการสร้างข้อตกลงกับนักเรียนเพื่อให้การเรียนการสอนราบรื่น และสื่อที่ใช้เช่นสารละลายในการทดลองหรือวงล้อ pH จะต้องสร้างกฎกติกาในการใช้และให้รักเรียนแต่ละกลุ่มดูแลรักษาอุปกรณ์ตัวเองให้ดี ขณะที่ใช้สื่อแต่ละชนิดมีการสังเกตและประเมินพฤติกรรมของนักเรียนด้วยเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป

5. Require learner participation (การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)                  หลังจากการใช้สื่อหนังสือเรียน ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายบทเรียนเพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในเรื่องคุณสมบัติความเป็นกรดและเบสของนักเรียน          หลังจากดูการ์ตูนเรื่อง กรด – เบส ในชีวิตประจำวันแล้วเลือกกรดและเบสที่นักเรียนใช้ภายในบ้านมาคนละ 1 ชนิด และเขียนคุณสมบัติพร้อมบอกเหตุผล          หลังจากทำการทดลองการทดสอบความเป็นกรดและเบส และกิจกรรมจัดจำแนกความเป็นกรดและเบสในชีวิตประจำให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนอธิปรายในหัวข้อ “ใช้สารละลายกรดเบสอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย”  และส่งตัวแทนมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

6. Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)                     6.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน       -  ประเมินการความสนใจของผู้เรียนที่มีต่อเนื้อหาที่สอน อาจวัดจากการทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกหัด หรือตอบคำถามเกี่ยวกับวิดีโอที่ให้ดู      -  ประเมินความเข้าใจในการทำกิจกรรมทั้งการทดลอง การจำแนกสาร ด้วยการให้นักเรียนตอบคำถามง่ายๆที่ครูอธิบายให้ฟังก่อนหน้า      -  การประเมินความเข้าใจและความสามารถใช้เรื่องที่สอนได้มากน้อยเพียงใด ผ่านการทำแบบทดสอบหลังเลิกเรียน การทำปฏิบัติการ และการจัดจำแนกสารว่ามีความถูกต้องมากหรือน้อย          6.2 การประเมินสื่อและวิธีใช้            ประเมินสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน ทั้งด้านความถูกต้อง ความสอดคล้องกับเนื้อหาและความเหมาะสมกับผู้เรียน นอกจากนี้สื่อที่ให้สามารถดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้หรือไม่และสามารถเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาได้หรือไม่          6.3 การประเมินกระบวนการเรียนการสอน          -  แบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความรูพื้นฐานของผู้เรียนและแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน
          - สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนขณะสอนและการทำกิจกรรมในห้องเรียน 
          - ดูการตอบสนองของผู้เรียนหลังจากสอนเนื้อหาหรือมีการใช้สื่อ อาจใช้การตอบคำถามปากเปล่าหรือวัดจากการให้ทำแบบฝึกหัดท้ายบท

คำสำคัญ (Tags): #model
หมายเลขบันทึก: 675251เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2020 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2020 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท