วิชาชุมชนให้อะไรกับฉัน (ครั้งที่ 2 ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ พุทธมณฑล)


วิชาชุมชนเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาลงพื้นที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ เรียนรู้กระบวนการและรูปแบบการทำงานของชุมชนในแต่ละพื้นที่ 

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2563 ครั้งที่ 2 ของการศึกษาดูงานในวิชาชุมชน วันนี้ได้มีโอกาสเรียนรู้การทำงานของศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ พุทธมณฑล Independent living หรือเรียกสั้นๆว่า IL ทั้งวันไ้ด้ทำกิจกรรมและมีโอกาสลงพื้นที่ชุมชน ในช่วงเช้าได้ทำกิจกรรมฐานที่พี่ILจัดให้เพื่อเข้าใจความรู้สึกผู้พิการ โดยกิจกรรมแรกเป็นการจำลองความพิการประเภทต่างๆร่วมกับเล่นบอล แล้วตัดคนออกเพื่อให้สำเร็จตามโจทย์ที่วางไว้ บางครั้งเราตัดสินผู้พิการว่าไม่สามารถทำได้ โดยไม่เปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้และลองทำ ในกิจกรรมที่สอง การพูดลบให้เพื่อนที่จำลองความพิการ เช่น อยู่บ้านเถอะ เป็นภาระคนอื่น เสียดายหน้าตาก็ดีไม่น่าเป็นแบบนี้ เราพูดคำเหล่านี้ซ้ำไปซ้ำมาใส่เพื่อน “ทำไมไม่คิดถึงใจคนฟัง ทำไมตัดสินเราทั้งๆที่ไม่รู้จักกัน ไม่จำเป็นต้องพยายามพูดดีๆ ไม่พูดลบ เข้าใจและเอาใจใส่ในความรู้สึก ขอเพียงมองเราเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ปฏิบัติกับเราเช่นที่คุณทำกับเพื่อนก็พอ” ใจความสะท้อนความรู้สึกที่สร้างความประทับใจอย่างมาก เราเข้าใจความรู้สึกถึงการโดนพูดไม่คิดใส่ดี เรานับถือศาสนาอิสลาม มีคนเคยพูดว่าถ้ามุสลิมหมด ๆ ไปจากโลกก็ดี เขาไม่ได้พูดกับเราโดยตรง แต่พูดกับเพื่อนในขณะที่เรายืนอยู่ใกล้ และคำพูดทำร้ายจิตใจอีกมรกเพียงความแตกต่างทางศาสนาไม่ได้แปลว่าเราไม่ใช่มนุษย์เหมือนคุณ ไม่มีใครชอบโดนตัดสินจากภายนอกแค่เพราะเราไม่เหมือนกัน ดังนั้น การคิดถึงใจผู้ฟังก่อนพูดจึงมีความสำคัญ ผู้พิการอาจมีบางอย่างที่ต่างจากคุณ แต่เขาก็คือมนุษย์ เขาสามารถใช้ชีวิตและดำรงชีวิตได้เอง ขอเพียงคุณเข้าใจ เรียนรู้ และเปิดโอกาส ในส่วนของกิจกรรมสุดท้าย บทบาทจำลองสถานการณ์ การทำงานของทีมILในการลงชุมชนพูดคุยกับผู้พิการและผู้ดูแล ในลักษณะ Peer counseling จากผู้พิการต้นแบบที่มีลักษณะความพิการคล้ายกัน เพื่อสร้างพลังใจให้ลุกขึ้นดำเนินชีวิตด้วยตนเอง โดยการรับฟัง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยมีความเชื่อที่ว่าเราทุกคนสามารถพัฒนาได้ เป้าหมายก็คือผู้พิการสามารถเลือกวิถีชีวิตและจัดการตนเองได้ 

สิ่งสำคัญที่ได้เรียนรู้นอกจากการทำงานของ IL แล้ว คือการมองเห็นภาพ Occupational Adaptation model(OA) หนึ่งในโมเดลของกิจกรรมบำบัดชัดมากขึ้น คุณก.นามสมมติ หนึ่งในทีมงานเริ่มต้นของIL ที่พวกเราได้มีโอกาสเรียนรู้วิถีชีวิตของเขาในช่วงบ่าย ปัจจุบันนั่งรถWheel chair จากที่ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ คุณก.ได้รับแรงบันดาลใจจากหัวหน้าILคนก่อน การรับฟังและเล่าถึงประสบการณ์ทำให้เกิดแรงจูงใจและความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง(Desire for Mastery) มีOccupational challenge  คือ การทำกิจวัตรประจำวันในบ้านโดยใช้wheel chairด้วยตนเอง เนื่องจากอยู่คนเดียวและไม่ต้องการเป็นภาระแก่พี่น้อง(Occupational role expctations) จึงฝึกการดำเนินชีวิต เช่น เรียนรู้การเคลื่อนย้ายตัวจากเตียงไปwheel chairด้วยตนเอง ในช่วงแรกมีการล้มบ้าง เกิดการหลังจากฝึกและปรับหาวิธีที่เหมาะสมกับตนเองและปลอดภัยจึงสามารถเคลื่อนย้ายได้ปลอดภัย และได้รับการสนับสนุนจากILในการให้ความรู้สิทธิการปรับสภาพบ้านสำหรับผู้พิการ ช่วยซ่อมแซมและปรับบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิต ในปัจจุบันคุณก.สามารถทำกิจวัตรประจำวันภายในบ้านหรือการออกไปข้างนอก เช่น ตลาด โรงพยาบาลด้วยตนเอง กลายเป็นผู้พิการต้นแบบที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจและสอนประสบการณ์การใช้ชีวิตอย่างอิสระแก่ผู้อื่น เป็น Relative mastery เกิดความพอใจ มีประสิทธิภาพ 

จากการได้ลงพื้นที่เรียนรู้การทำงานของศูนย์IL ทำให้เกิดความรู้สึกประทับใจ เข้าใจในสภาวะของผู้พิการมากขึ้น ได้เห็นภาพOA modelที่เรียนหลายต่อหลายครั้งในคาบก็ยังไม่มั่นใจ จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในในครั้งนี้ไปพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพกิจกรรมบำบัดในการพูดคุยโดยเข้าใจ สร้างความน่าเชื่อถือ และทำให้ผู้รับบริการเกิดแรงจูงใจภายในตัวที่อยากเปลี่ยนแปลงให้สามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 675109เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท