ศูนย์เครือข่ายฝึกอบรมปัญญาปฏิบัติ นครปฐม


          ตอนแรกที่รู้ว่าจะได้ออกชุมชนครั้งแรก ก็รู้สึกตื่นเต้นมากๆ เพราะยังไม่เคยได้ไปออกชุมชนจริงๆสักครั้ง เคยแต่ไปสังเกตรุ่นพี่ที่ออกชุมชนเมื่อตอนปี 1 เมื่อได้ไปที่รพสต.คลองใหม่ ได้เจอกับพี่ชาตรี รู้สึกนับถือมากๆ เพราะพี่ชาตรีเป็นนักวิชาการที่สามารถเข้าถึงชุมชนได้เป็นอย่างดี สามารถพูดคุยและชักชวนคนในชุมชนได้ อีกทั้งพี่ชาตรีเป็นคนพูดเก่ง สามารถอธิบายโครงสร้างต่างๆของรพสต.ให้เราเข้าใจได้ง่าย และการทำงานของรพสต.และอสม.ในการดูแลเรื่องต่างๆของคนในชุมชนก็น่าสนใจมากๆ เพราะอาจจะคล้ายกับชุมชนแถวบ้านของเรา จึงน่าสนใจ เมื่อเราโตขึ้นและได้ทำงานแล้ว ก็อยากจะนำระบบนี้ไปปรับใช้กับชุมชนของเรา และใช้วิธีการเข้าถึงชุมชนของพี่ชาตรี ให้เราสามารถเข้าถึง เข้าใจผู้คนและให้ความรู้กับคนในชุมชน ทำให้สามารถพัฒนาสาธารณสุขของชุมชนที่เราอยู่ต่อไปได้

          หลังจากที่เราได้เรียนรู้การทำงานและระบบโครงสร้างของรพสต.คลองใหม่แล้ว ก็ได้ไปเยี่ยมบ้านของผู้ป่วยในชุมชน อายุ 54 ปี เป็น SCI T1-4 ทำให้เป็น Paraplegia และมีโรค DM ตอนนี้ on foley’s catheter tube อยู่ด้วย ก่อนที่จะได้ไปเยี่ยมก็เตรียมคำถามไว้ถามมากมายทั้งการทำ ADL การประเมินเพิ่มเติมต่างๆ ทั้ง trunk balance แผลกดทับต่างๆ เมื่อไปถึงบ้านผู้ป่วย ก็ได้พบว่าผู้รับบริการอยู่ในท่านอนบนพื้น พิงโซฟาและมีถุงปัสสาวะวางอยู่ที่พื้น เราเลยถามและประเมินผู้รับบริการตามที่เตรียมไว้ แต่ก็ประเมินอะไรไม่ได้มาก อาจเป็นเพราะท่าทีของเราที่ดูไม่มั่นใจในการพูดให้คำแนะนำและปรึกษา เราจึงต้องปรับการพูดและท่าทางของเราให้ดูมีความมั่นใจมากขึ้น และผู้รับบริการก็มีอาการปวดท้อง ถ่ายไม่ออก ท้องอืด ปวดเมื่อยตัว นอนไม่หลับ แต่พวกเราก็ไม่รู้ว่าจะช่วยยังไง เลยได้แต่ให้คำแนะนำในการปรับท่าการนั่ง อาจารย์เลยได้เข้ามาช่วยปรับท่านั่งให้ผู้รับบริการได้นั่ง 90 องศา สอนวิธีออกกำลังกายง่ายๆ และสอนวิธีนวดท้องเพิ่มลดอาการท้องอืด รวมถึงให้คำแนะนำให้การดื่มน้ำให้ได้ 1.5 L/วัน และการกินน้ำมันละหุ่ง เพื่อให้ถ่ายได้ดีขึ้น ลดอาการปวดท้องได้ จากที่อาจารย์ให้คำแนะนำกับผู้รับบริการ ก็ทำให้เรารู้ว่ายังมีความรู้อีกมากมายที่เราต้องเอามาใช้ในการช่วยเหลือผู้รับบริการ เพราะโรคที่เกิดขึ้นมันจะส่งผลกระทบในหลายๆระบบ รวมถึงกิจกรรมการดำเนินชีวิตมากมาย พวกเรานักกิจกรรมบำบัดจึงต้องมีความรู้ที่หลากหลาย ต้องค้นหาความรู้ภายนอกห้องเรียนให้มากขึ้น

        ในช่วงบ่ายเราก็ได้ไปที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านหัวอ่าว ต.บางช้าง ก็ได้พบผู้ใหญ่ฌาญา มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ โดยผู้ใหญ่เล่าว่า ที่มาทำเกษตรอินทรีย์นี้ เพราะตนเองและพ่อป่วยจากสารเคมีที่ใช้ฉีดเพื่อฆ่าแมลงและเชื้อราต่างๆ ทำให้เสียทั้งเงินและสุขภาพไปมากมาย จนมาคิดได้ว่าทำไมไม่ทำเกษตรปลอดสาร ในตอนแรกก็ไม่มีใครเห็นด้วย เนื่องจากเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมี มีต้นทุนสูง ผักและผลไม้ก็ไม่สวย ขายได้ราคาไม่ดี แต่พอผู้ใหญ่ได้ทดลองทำด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก และจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้นี้ขึ้นมา ก็ทำให้คนในชุมชนหันมาสนใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น และเกษตรกรในตำบลก็เริ่มเข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์ โดยผู้ใหญ่ฌาญาก็จัดหาตลาดที่จะรองรับผลผลิตนี้ได้ โดยมีทางอบต.ช่วยเหลือในการจัดหาที่ขาย ซึ่งก็คือตลาดสุขใจ เพื่อเป็นการรับรองว่าผลผลิตปลอดสารพิษจะมีคนซื้ออย่างแน่นอน สิ่งที่ผู้ใหญ่ฌาญาได้ทำนี้เป็นการเข้าถึงคนในชุมชนผ่านการทำเป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ตนเองทำมีประโยชน์ และดีต่อสุขภาพ แม้จะไม่มีใครเห็นด้วย แต่ผู้ใหญ่ก็ยังทำต่อไป ทำให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจของผู้ใหญ่ เราสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานทางกิจกรรมบำบัด เราจะต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการดูแลผู้รับบริการให้ดีที่สุด และการที่ผูเใหญ่ฌาญาทำ ก็เป็นการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนทางอ้อม ผ่านการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดโรคที่จะเกอดจากสารเคมีทั้งผู้ผลิต ก็คือชาวสวน และผู้บริโภคที่จะมากินผักผลไม้เหล่านี้ เรามีส่วนช่วยในการให้ความรู้แก่คนในชุมชนถึงอันตรายและโรค ที่อาจจะเกิดได้จากการใช้สารเคมีเหล่านี้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนต่อไป

จณิสตา ศิริพงษ์เวคิน  6023004

นักศึกษากิจกรรมบำบัด

หมายเลขบันทึก: 675048เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท