กิจกรรมบำบัดในชุมชน : ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระของคนพิการพุทธมณฑล นครปฐม


วันที่ 13 มกราคม 2563 ได้เดินทางไปที่ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระของคนพิการพุทธมณฑล

ช่วงเช้าเวลา 8.00 - 12.00 น. ได้ไปทำกิจกรรมที่วัดเสถียรรัตนารามกับพี่ๆทีม Independence Living (IL) เมื่อไปถึงที่หมาย พี่ๆก็ได้แนะนำตัวและอธิบายจุดประสงค์ของการจัดตั้งทีม IL อธิบายวิธีการทำงานของทีมในชุมชน รวมไปถึงมีการแสดงบทบาทสมมติเพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์ได้เห็นภาพการทำงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นก็เป็นการทำกิจกรรมฐาน 2 ฐาน โดยกิจกรรมในฐานนี้เข้าร่วมทั้งนักศึกษาและอาจารย์ 

ฐานแรก คือ การเรียนรู้ความรู้สึกของคนพิการ จะต้องมี 8 คนที่รับบทบาทเป็นคนพิการโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ผ้าปิดตา , wheelchair ฯลฯ จากนั้นให้คนที่จำลองเป็นคนพิการยืนเกาะกลุ่มกันตรงกลาง ส่วนคนที่เหลือยืนล้อมวงนอก แล้วพี่ทีม IL ก็ให้กระดาษที่มีประโยคคำพูดต่างๆ เช่น 'สภาพแบบนี้จะไปทำอะไรได้' , 'หน้าตาก็ดีไม่น่าเป็นแบบนี้เลย' , 'ชาติที่แล้วคงไปทำกรรมไว้เยอะถึงได้พิการแบบนี้'  ฯลฯ ให้คนที่ยืนอยู่วงนอกพูดคนละ 3 ประโยควนไปเรื่อยๆจนครบทั้งวง จากนั้นก็ให้เขยิบวงเข้ามาทีละ 1 ก้าว พูดคนละ 3 ประโยคเหมือนเดิม ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนรู้สึกว่าวงนอกเขยิบเข้ามาใกล้มาก แล้วถามความรู้สึกของคนที่จำลองเป็นคนพิการว่ารู้สึกอย่างกันบ้าง จากกิจกรรมนี้ทำให้สามารถเข้าใจความรู้สึกของคนพิการได้มากขึ้น คำพูดต่างๆของคนรอบข้างเป็นเหมือนกับเสียงที่สะท้อนซ้ำไปซ้ำมาอยู่ในหัว จนทำให้คนฟังเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไร้ความสามารถ/เป็นภาระของคนอื่นจริงๆหรอ? เกิดเป็นความคิดลบวนอยู่ในหัว อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต/การเข้าสังคมของคนพิการได้

ฐานที่ 2 คือ จำลองเป็นคนพิการผ่านกิจกรรมการเล่น โดยให้ในฐานนี้จะมีให้เลือกอุปกรณ์จำลองเช่นกัน พอเลือกครบทุกคนแล้วต่อไปก็เป็นการอธิบายกฎกติกา โดยในกิจกรรมนี้เราจะเล่นเดาะบอลกันเป็นวงซึ่งมีกติกาคือให้ทุกคนช่วยกันเดาะลูกบอลโดยไม่ให้หล่นพื้น โดยจะนับคะแนนตามจำนวนครั้งที่เดาะลูกบอลได้และระหว่างที่เล่นเกมนั้นจะมีการโหวตคนออกครั้งละ 1 คน ให้โหวตคนที่คิดว่าไม่สามารถเล่นเกมนี้ได้/เป็นตัวถ่วงของกลุ่ม จากกิจกรรมนี้ทำให้ได้เรียนรู้ว่าเราไม่ควรตัดสินใจความสามารถของใครจากภายนอก/การตัดสินโดยไม่ให้โอกาสแก่คนๆนั้นเลย แม้ว่าจะเป็นคนพิการแต่เขาเองก็มีความต้องการที่จะทำกิจกรรมต่างๆ/ต้องการเข้าสังคมโดยไม่ถูกผู้อื่นตัดสินแค่ภายนอก

จากกิจกรรมในช่วงเช้านี้ ทำให้พวกเราได้เรียนรู้ว่าคนพิการก็อยากเลือกวิธีการใช้ชีวิตด้วยตัวเขาเอง สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรมอบให้คนพิการคือการสร้างกำลังใจให้เขาสามารถกลับมาใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตัวเอง

ในช่วงบ่ายเป็นการแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่มเพื่อแยกย้ายกันไปดูกรณีศึกษาตามสถานที่ต่างๆ กลุ่มของพวกเราได้ไปที่ตลาดไฟฟ้าและได้พบกับผู้รับบริการ วินิจฉัยเป็น Spinal Cord Injury (SCI) T10 ซึ่งผู้รับบริการประสบอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ จากนั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากทางทีม IL ในปัจจุบันผู้รับบริการจึงสามารถใช้ชีวิต/ดูแลตัวเองได้ รวมทั้งสามารถทำงานที่ได้ตลาดได้เหมือนเดิม 

จากกิจกรรมในช่วงบ่ายนี้ทำให้ได้เห็นบทบาทการทำงานของทีม IL ได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งทีม IL ได้ช่วยเหลือคนพิการโดยใช้วิธีการพูดคุยความรู้สึกของคนที่มีความพิการเหมือน สร้างกำลังใจในการกลับมาใช้ชีวิตด้วย รวมไปถึงให้แนะนำต่างๆ เช่น การปรับรถยนต์ที่คนพิการสามารถขับได้ , การทำใบขับขี่สำหรับคนพิการ , การแนะนำการรักษาตามโรงพยาบาลต่างๆ 

จากการเรียนรู้การทำงานของทีม IL ในวันนี้ในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัด เราสามารถนำความรู้สึกจากกิจกรรมจำลองเป็นคนพิการ ข้อคิด/คำพูดต่างๆที่มาจากผู้ที่มีความพิการจริงๆ วิธีการสร้างกำลังใจ/แรงจูงใจต่างๆ ไปปรับใช้ในการพูดคุยและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการคนอื่นๆได้อย่างเหมาะสมในอนาคต

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 675027เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2020 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2020 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท