การวางแผนใช้สื่ออย่างเป็นระบบ The Assure Model


การวางแผนใช้สื่ออย่างเป็นระบบ The Assure Model


การวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการสอน สามารถใช้รูปแบบจำลองที่เรียกว่า The ASSURE Model ของไฮนิคและคณะ ซึ่งมีรูปแบบจำลองเป็นดังนี้

ภาพที่ 1 แบบจำลอง The ASSURE Model

ความหมาย ASSURE Model

              ASSURE Model เป็นรูปแบบของการวางแผนหรือออกแบบการสอนโดยเน้นการใช้สื่อ และเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบ และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจ ที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุดตามความสามารถ ของแต่ละคน รายละเอียดของโมเดลมีดังนี้
1. Analyze Leaner Characteristics การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
2. State Objectives การกำหนดวัตถุประสงค์
3. Select, Modify, of Design Materials การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่
4. Utilize Materials การใช้สื่อ
5. Require Learner Response การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
6. Evaluation การประเมิน
แบบจำลอง The ASSURE Model มีขั้นตอนดังนี้

1.  Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)  การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ  

       1. ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ       

       2. ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่                                     2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
                   2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล
                   2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือไม่
                   2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน
2. State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์) การเรียนการต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน  เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมโดยวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ          

          1. พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และการพัฒนา
          2. จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา
          3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ
3. Select instructional methods, media, and materials (การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่) การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ         

          1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว
          เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้         

          • ลักษณะผู้เรียน
          • วัตถุประสงค์การเรียนการสอน
          • เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน
          • สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด         

          2. การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว
          กรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้         

          3. การออกแบบสื่อใหม่
          กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่
4. Utilize media and materials (การใช้สื่อ) ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ         

        1. ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ / ทดลองใช้ ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ จะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน          

        2. เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที่ การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด          

        3. เตรียมผู้เรียน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้น จะต้องมีการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น ๆ มีการเร้าความสนใจ หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ          

        4. การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน ผู้สอนที่ทำหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น ในการนำเสนอควรปฏิบัติดังนี้
                   4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ
                   4.2 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้า
                   4.3 ประเมินความสนใจของผู้เรียน โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่วทั้งชั้นซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน และวิเคราะห์สีหน้า ท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน
5. Require learner participation (การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)  การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถตอบสนองโดยเปิดเผย  โดยการพูดหรือเขียน เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ โดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม
6. Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)  หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดสิ่งที่ต้องประเมินได้แก่
          การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อ ๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
          การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ

บทสรุป

        จากรูปแบบจำลอง ASSURE model จะเน้นถึงการวางแผนการใช้สื่ออย่างเป็นระบบในสภาพของห้องเรียนจริง เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำรูปแบบจำลองนี้ มาใช้วางแผนการสอนได้อย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากผู้สอนสามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการได้ถูกต้องทุกขั้นตอนจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ ASSURE Model หากพิจารณาแล้ว จะเห็นว่าเป็นรูปแบบจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนเน้นการเรียนรู้ของรายบุคล เนื่องจากเน้นการจัดเตรียมสื่อหลากหลาย รูปแบบเพื่อตอบสนองผู้เรียนที่ผู้สอนได้วิเคราะห์แล้วว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อีกทั้งเน้นการมีส่วนร่วมและการมีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลการเรียนการสอน เน้นการวัดผลทั้งกระบวนการเรียนการสอนว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่ ไม่ได้เน้นมุ่งการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนอย่างเดียว

อ้างอิง


http://edtechsaranya.blogspot.com/2017/04/the-assure-model.html
 http://educationaltechnology.n...
https://wanlee2212.files.wordpress.com/2017/01/e0b980e0b8a5e0b988e0b8a1e0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899assure.pdf







คำสำคัญ (Tags): #The assure model
หมายเลขบันทึก: 674946เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2020 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2020 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท