@chokdeemeechai
วิชาชีวิตเพื่อความมั่นคงทางจิตใจ โชคชัย คงบวรเกียรติ

โครงสร้างบุคลิกภาพ


โครงสร้างบุคลิกภาพ

            ประกอบด้วย ทัศนคติ (Attitudes) อารมณ์ร่วม (Emotions) เจตนารมณ์จุดมุ่งหมาย (Intentions) ความรู้สึกนึกคิดตัวตนหลัก (Self) และ อุปนิสัย (Trails)

            ทัศนคติ (Attitudes) ความรู้สึกนึกคิดคำนึงถึงภายในจิตใจ ที่ตีความหมายคำจำกัดความ ในการตัดสินใจเลือก ให้กับสิ่งนั้น โดยใส่อารมณ์ร่วม (Emotion) เข้าไป ด้วยความชอบพึงพอใจ หรือ ความไม่ชอบ ให้กับสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะปรับตัว ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายใน และสิ่งเร้าตัวกระตุ้นจากภายนอก ตามความรู้สึกนึกคิดของตน (Self)   ตามความมุ่งหมายเจตนารมณ์ (Intentions) ให้ได้รับการตอบสนองที่ตนต้องต้องการ ซึ่งนำไปสู่การแสดงเป็นการกระทำ (Action to Behavior) พฤติกรรมออกมา เมื่อกระทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ จนเกิดความเคยชิน เป็นนิสัย อุปนิสัยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคลนั้น

            ทัศนคติ เป็นตัวชี้นำให้เกิด จิตสำนึก สร้างตัวตน ที่มีเอกลักษณ์ ที่มี อิดIdสัญชาตญาณ อีโก้Egoอัตตาทิฐิ ซุปเปอร์อีโก้Superegoมโนสำนึกมโนธรรม ในแบบฉบับของตนเอง ประกอบขึ้นเป็นจิตใจของคน ๆ นั้น ที่ จิตสำนึก ส่งเป็นต้นแบบหลัก ให้กับ จิตใต้สำนึก ลักษณะอุปนิสัยในแบบอย่างที่เขามีความรู้สึกนึกคิดในแบบของตนเองก่อเกิดเป็นบุคลิกภาพ ตามกระบวนการเรียนรู้ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล กระผมขอเรียกว่าความรู้สึกนึกคิดหลัก  Mind Setหรือตัวตนหลัก Mind Self ของบุคคล

                ตัวตน ที่มี ความรู้สึกนึกคิด Mind Self ปรับตัว ตอบสนองต่อสิ่งเร้า แรงจูงใจ ความต้องการอยาก ได้ไม่เท่ากัน ปรับตัวป้องกันตนเอง จากความคับข้องใจ ไม่เหมือนกัน วิธีการคิด มุมมอง วิสัยทัศน์ ทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึก กระบวนการตัดสินใจ วิธีการแก้ปัญหา การวางแผนในการดำเนินชีวิต ไม่เหมือนกัน จึงทำให้แต่ละคนแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ทัศนคติ อารมณ์ที่รู้สึก วิธีการคิด กระบวนการตัดสินใจ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่บ่งชี้ว่าเราต่างกับคนอื่นอย่างไร

                ความคิด ทัศนคติ ที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ เหตุการณ์ สถานการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ แต่ละคนคิดอ่าน ตีความหมาย มีวิจารณญาณไม่เหมือนกันในความรู้สึกของแต่ละคน นึกคิดไปคนละอย่างในรายละเอียดที่รู้สึกต่อสิ่งนั้น ๆ ที่ต่างกันไปในแต่ละบุคคล ความรู้สึกนึกคิดหลัก จึงเป็นตัวชี้นำถึงพฤติกรรมที่แสดงออกทางอารมณ์ต่อสิ่งนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองที่แตกต่างกันไป ตามทัศนคติ อุดมคติของตนที่ตัวตนหลักแสดงความรู้สึกของตนเองผ่านพฤติกรรม มันจึงส่งผลให้คนมีอุปนิสัย บุคลิกภาพที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง

                พฤติกรรมของบุคคล จะเกิดจากแรงจูงใจ แรงขับ (drive) และความปรารถนา (desire) แรงขับจากสิ่งเร้าภายใน ความต้องการได้รับการตอบสนองทางร่างกายและจิตใจ และสิ่งเร้าจากภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความต้องการอยากได้รับการตอบสนองความพึงพอใจ แต่ถ้าไม่ได้รับการตอบสนอง ก็จะเกิดความเครียดเป็นความคับข้องใจ นำไปสู่การปรับตัวเพื่อป้องกันตนเอง ถ้ามีกระบวนการคิด ทัศนคติ กระบวนการตัดสินใจที่ดี คนนั้นก็จะหาทางออกในการปรับตัวให้เข้ากับสถาพแวดล้อมได้ ปรับตัวเอาตัวรอดได้อย่างเหมาะสมโดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ก็จะเป็นบุคลิกภาพที่ดี แต่ถ้าปรับตัวไม่ได้ดีพอ ไม่เหมาะสมจะเกิดบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม มาก ๆ นาน ๆ จะสะสมนำไปสู่บุคลิกภาพแบบบกพร่องผิดปกติ (Personality Disorder : PD) เรื่องนี้จะขอยกไปกล่าวในประเภทของคนนะครับ เพราะมีเป็นกันมากมายโดยที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นกัน

                การทำงานของจิตใจ ทัศนคติ เจตนารมณ์ และการแสดงออกทางอารมณ์เป็นพฤติกรรมนั้น ทำงานเกือบเป็นอัตโนมัติ คือ มันทำงานผ่านจิตใจเราโดยเทียบเคียงยึดตาม ความรู้สึกนึกคิดหลัก  Mind Set (Mind Self) ของตัวตนของจิตเรา ดึงขึ้นมาเป็นความคิดเห็น ทัศนคติ ที่มีผลประเมินค่าตีความหมายให้กับสิ่งนั้น และมีอารมณ์ร่วมกำกับการแสดงออกทางอารมณ์กับสิ่งนั้น ๆ หรือเหตุการณ์เรื่องราวใกล้เคียงกับความนึกคิดในอดีต จนเกิดความเคยชิน ก่อเกิดเป็นนิสัยส่วนตัว ในวิธีการคิด ประเมินค่า ตีความหมาย กระบวนการตัดสินใจเลือก แสดงความตั้งใจมุ่งหมายของตน เพื่อแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาทางอารมณ์ เมื่อเกิดบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ก็จะติดเป็นความเคยชิน กระบวนการทำงานของจิตสำนึก ก็จะเป็นไปเป็นระบบอัตโนมัติ Autopilotจนตัวของเราแทบจะไม่รู้สึกถึงขั้นตอนที่จิตนั้นทำงาน มันเป็นไปของมันเองเพราะเป็นการตอบสนองแบบทันทีทันใดเศษเสี้ยวของนาที ยิ่งเราไม่ได้สังเกตุตนเองหรือมีสติมากพอก็จะไม่รู้ไม่เห็นไม่รู้สึกถึงกระบวนการทำงานของจิตสำนึกนั้น ตัวเราปล่อยให้จิตมันทำงานตามความเคยชิน เข้าสู่โหมดขับเคลื่อนอัตโนมัติเอง นิสัยหลาย ๆ อย่างที่เราปล่อยให้ทำงานในแบบอัตโนมัตินี้เองที่กลายเป็นอุปนิสัยหลัก สะสมจนเกิดความรู้สึกนึกคิดหลัก หรือตัวตนหลักของเราเองขึ้นมา จนก่อเกิดบุคลิกภาพหลักในแบบฉบับเอกลักษณ์ของตนเองขึ้นมา

                กระบวนการคิด ทัศนคติ เจตนารมณ์ กระบวนการตัดสินใจเลือก แสดงออกทางอารมณ์ เป็นพฤติกรรม คนทั่วไปจะปล่อยให้เป็นไปในแบบอัตโนมัติ เช่น เคยประสบปัญหาความคับข้องใจและได้หาทางออกโดยใช้กลไกการป้องกันตนเองแบบนั้นบ่อย ๆ จนเคยชิน ติดเป็นนิสัย ฝั่งแน่นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของคน ๆ นั้น แต่บางครั้งคนเราก็มีเวลาได้สติไตร่ตรองนึกคิด ขับเคลื่อนจิตใจด้วยจิตสำนึกของตนเองเข้าสู่โหมด Manual กระบวนการคิด ทัศนคติ เจตนารมณ์ กระบวนการตัดสินใจเลือก จะเป็นไปอีกแบบหนึ่งเข้าสู่โหมดขับเคลื่อนด้วยจิตสำนึกของตนเองในการควบคุมการทำงานของจิตใจ แต่ก็ยังมีความเป็นตัวตนหลักของคน ๆ นั้น อยู่ดี เพราะวิธีการคิด การตัดสินใจของแต่ละบุคคล แต่ละเหตุการณ์เ แต่ละเรื่องราว มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เหตุเพราะทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต่างกัน น้อยคนนักที่จะมีคนมีความคิดอ่าน ตัดสินใจเหมือนพ่อแม่ของตนเองที่สั่งสอนมาหาได้ยากยิ่งนัก เพราะแต่ละคนจะมีการพัฒนา ปรับทัศนคติ ปรับตัวเองให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ สถานะของตนเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ บางครั้งไม่มีทางเลือกนอกจากการปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์นั้น ๆ ในทางออกที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมสำหรับตนเอง

                กระบวนการทำงานขับเคลื่อนของจิตใจ

                โดยทั่วไปคนเราจะปล่อยให้มันทำงาน แบบออโต้ Autopilot ปล่อยให้ขับเคลื่อนในโหมดอัตโนมัติไร้คนขับ ปล่อยให้จิตสำนึกทำงานตามความเคยชิน ด้วยการดึง ความรู้สึกนึกคิดหลัก Mind Self เป็นตัวขับเคลื่อน โดยจิตสำนึกไปดึงตัวตนต้นแบบจากจิตใต้สำนึกมาครอบงำจิตสำนึกให้ทำงานแทน เหมือนกับแม่พิมพ์ของบุคลิกภาพมาเป็นต้นแบบในกระบวนการคิด กระบวนการตัดสินใจ ปรับตัวเอาตัวรอดของจิต ซึ่งแสดงพฤติกรรมโดยแทบจะไม่รู้สึกตัว กระทำไปตามสัญชาตญาณความเคยชินในการตอบสนองความพึงพอใจของตนเอง ในเรื่องนั้น ๆ                         

                Manual บังคับขับเคลื่อนด้วยจิตสำนึกของตนเอง คือ มีสติ จิตสำนึกที่รู้ตัว ล่วงรู้ตระหนักถึงกระบวนการทำงานของจิต กระบวนการคิด ทัศนคติ กระบวนการตัดสินใจ อารมณ์ที่มีส่วนร่วม จนถึงพฤติกรรมการแสดงออกของตนเอง มีสติรับรู้ได้ ถึงกระบวนการคิด ไตร่ตรอง พิจารณา ประเมินค่า ตัดสินใจเลือก กระทำตอบสนองตามเจตนาจุดประสงค์ของตน รู้เท่าทันความคิดของตนเอง สามารถห้ามปราบ ยับยั้งชั่งใจ ชั่งน้ำหนัก เลือกตัดสินใจอย่างเหมาะสมได้ด้วยจิตสำนึก

                Semi-Autopilot กึ่งขับเคลื่อนอัตโนมัติ คือ การให้ความรู้สึกนึกคิดหลัก Mind Self ทำงานขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ แต่จิตสำนึกยังรับรู้ถึงได้ถึงวิธีการคิด ทัศนคติตีความหมายที่มีต่อเรื่องราวนั้นตามความรู้สึกนึกคิด แต่ทำการดึงสติกลับมาให้จิต ขับเคลื่อนบังคับควบคุมด้วยจิตสำนึกของตนเอง แบบ Manual ทำการประเมินผล คิดไตร่ตรอง พิจารณา ตัดสินใจเลือก และปล่อยให้เป็นหน้าที่ ขับเคลื่อนแบบออโต้ทำงานในการจะแสดงพฤติกรรมออกมา เพราะมั่นใจว่าจะแสดงออกในทางที่ดีเหมาะสม และเป็นเรื่องที่ทำเป็นประจำคุ้นเคยอยู่แล้ว

                ซึ่งตัวของเรา ต้องพยายามมีสติรู้ตัวให้สามารถรับรู้ตระหนักถึง กระบวนการคิด ทัศนคติของเรา ที่จะตีความหมาย ประเมินค่า ตัดสินใจเลือก แสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งการจะปล่อยให้จิตทำงาน แบบออโต้ ถ้ามันเป็นเรื่องง่าย เรื่องเล็กน้อยไม่สำคัญ และไม่มีผลที่เสียหายในทางลบ ก็ปล่อยให้จิตทำงานในโหมดออโต้ไร้คนขับไปเถอะ ปล่อยให้จิตทำงานตามตัวตนความรู้สึกนึกคิดหลัก ของเราไปเพราะเรื่องที่ทำเป็นนิสัยที่ดีเหมาะสมอยู่แล้วก็ปล่อยให้จิตมันทำงานไปในแบบฉบับออโต้ไป เพียงแต่เราคอยเฝ้ามองหรือสังเกตการทำงานของจิตบ้างบางครั้งเพื่อตรวจสอบถึงผลกระทบว่าจะออกมาในทางที่ดีเหมาะสมไม่ก่อความเสียหายทางลบ การปล่อยให้ขับเคลื่อนจิตในแบบออโต้ ถ้ากระทำบ่อย ๆ จนเคยชิน ก็จะฝั่งลึกเป็นตัวตนในแง่ที่มีความรู้สึกนึกคิด จนติดเป็นนิสัย ต้องคอยหมั่นตรวจสอบจิตอยู่เป็นประจำ สม่ำเสมอ รู้เท่าทันจิต

                คนเราทั่วไป ปล่อยให้กระบวนการทำงานของจิต เป็นแบบ Autopilot จนเกิดความเคยชิน เป็นอุปนิสัยส่วนตัว ขึ้นมาในแบบฉบับของตนเอง กลายเป็นบุคลิกภาพหลัก คือ มีทัศนคติตีความหมาย วิธีการคิด ประเมินค่า กระบวนการตัดสินใจเลือก ตามเจตนารมณ์ของตนเองเป็นหลัก ตัวเราซึ่งเป็นเจ้าของจิต เป็นนายที่ควบคุมสั่งการทำงานของจิตใจ ให้รับรู้ ตระหนักถึง การทำงานของจิต มีสติ รู้ตัว จะได้ยับยั้งชั่งใจได้ทัน และชี้นำกระบวนการคิด ทัศนคติ วิธีการคิด กระบวนการตัดสินใจเลือก แสดงอารมณ์ร่วมออกมาเป็นพฤติกรรมในทางที่เหมาะสมได้นั้น ก็ต้องพยายามควบคุมกระบวนการทำงานของจิตใจ เข้าสู่ Mode Semi กึ่งอัตโนมัติแต่รู้เท่าทัน ควบคุมได้ทัน หรือ Mode Manual บังคับควบคุมกระบวนการทำงานของจิตตั้งแต่มีความรู้สึกนึกคิดถึงเรื่องราวนั้นอย่างมีสติรู้ตัวเท่าทันความคิดอ่านของตัวเอง สามารถจัดการ ยับยั้งและคิดหาทางแก้ปัญหา ทางออกที่เหมาะสมได้

                การจะเลือกวิธีการทำงานของจิตใจ ให้อยู่โหมดแบบใด ก็อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลนะครับ มันเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่ไม่มีใครสอนใครได้ มันอยู่ที่ตัวคุณจะเลือกใช้ เลือกปฏิบัติ ให้เหมาะสม ดีที่สุด สำหรับตัวของคุณเอง และขึ้นกับการเรียนรู้ลองผิดลองถูก ของตัวคุณเอง ตัวคุณต้องเป็นผู้เลือกตัดสินใจเอง นั่นคือ ชีวิตของคุณ คุณต้องตัดสินใจเลือกหาทางออกด้วยตัวของคุณเอง ชีวิตเป็นของคุณ อย่าเพียงแค่ใช้ชีวิต แต่เป็นคนดำเนินชีวิต รู้วิธีจัดการกับชีวิตของตนเองให้ดีสำหรับตนเองและคนใกล้ชิดรอบตัวของคุณ

                รายละเอียดของ ทักษะการคิด ทักษะวิธีการในการแก้ปัญหา กระบวนการตัดสินใจ กระผมขอยกไปกล่าวในบทความ ทักษะการรับมือในการดำเนินชีวิต Life Coping Skills ในตอนที่ 2 เรื่องตัวของเรา กับ การจัดการชีวิต เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญรากฐานทางความคิด ในการชี้นำ แนวทางการพฤติกรรม บุคลิกภาพ และตัวกำหนดแนวความคิดทัศนคติในการดำเนินชีวิต

หมายเลขบันทึก: 674659เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2020 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2020 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท