KM in Journal club ในเครือข่าย R2R ยโสธร


วันนี้เปิดคลาส(classroom)ห้องเรียนเล็กๆในการทำ Journal club ค่ะโดยใช้เครื่องมือ KM มาเป็นกลไกในการเรียนรู้และมีอาจารย์ถนอมมาช่วยเป็น Facilitator นำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้

ถ้าการจัดการเรียนแบบเก่า เกี่ยวกับการค้นคว้าวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจารย์ก็มักจะสอนแบบบรรยาย และเราก็ไปคลำทางเรียนรู้เอง

แต่ห้องเรียนวิจัยครั้งนี้ ฉันจำกัดจำนวนผู้เรียนไม่เกิน 5 คน มีเปเปอร์วิจัยเป็นตัวเดินเรื่อง และร่วมกันอ่านเปเปอร์พร้อมวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนมุมมอง ครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทมาเป็น Facilitator กระตุ้นด้วยคำถามและชวนให้คิด พร้อมสอดแทรกและเติมองค์ความรู้แบบเนียนๆ เข้าไป

จากนั้นก็เชื่อมพร้อมชวนให้ย้อนมามองและใคร่ครวญงานวิจัยของตนเอง ถือว่าเป็นแนวทางของ Reflective Learning อย่างหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยได้มองเห็นภาพงานตนเองมากขึ้น

วันนี้เป็นวันแรก

ทดลองดู ผลลัพธ์ท้ายที่สุดแม้จะได้งานวิจัย แต่นั่นก็ไม่เท่ากับทุกคนกำลังได้ฝึก(Training)เกี่ยวกับการคิดเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

ขอบพระคุณอาจารย์ถนอมที่ให้ความกรุณามาร่วมวงและทำบทบาทครูผู้เป็นFacilitator ได้ยอดเยี่ยมมากมากเลยค่ะ 

และที่สำคัญขอบพระคุณนักพัฒนางานทุกท่านที่ก้าวมาสู่วงเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ค่ะ

#JournalClub

คำสำคัญ (Tags): #km&r2r#km#r2r#ยโสธร
หมายเลขบันทึก: 674598เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2020 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2020 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท