แกงเผ็ดปลาหมึกยัดไส้


สับปะรดเป็นพืชเขตร้อนที่อุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุ ใยอาหาร และมีเอนไซม์บรอมมีเลน (Bromelain) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา นอกจากการนำสับปะรดมาบริโภคในรูปแบบของผลไม้สดและใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารและขนมต่างๆแล้ว ยังมีการนำสับปะรดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น สับปะรดกระป๋อง สับปะรดอบแห้ง สับปะรดแช่แข็ง น้ำสับปะรด น้ำส้มสายชู ไวน์สับปะรด อุตสาหกรรมเบียร์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และการใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับสับปะรดได้เป็นอย่างดี


คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด 100 กรัม ประกอบด้วย
* พลังงาน 50 กิโลแคลอรี่
* คาร์โบไฮเดรต 13.12 กรัม
* น้ำตาล 9.85 กรัม
* เส้นใย 1.4 กรัม
ไขมัน 0.12 กรัม
* โปรตีน 0.54 กรัม
* วิตามินบี1 0.079 มิลลิกรัม 7%
* วิตามินบี2 0.032 มิลลิกรัม 3%
* วิตามินบี3 0.5 มิลลิกรัม 3%
* วิตามินบี5 0.0213 มิลลิกรัม 4%
* วิตามินบี6 0.112 มิลลิกรัม
* วิตามินบี9 18 ไมโครกรัม 5%
* โคลีน 5.5 มิลลิกรัม 1%
* วิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม 58%
* แคลเซียม 13 มิลลิกรัม 1%
* เหล็ก 0.29 มิลลิกรัม 2%
* แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
* แมงกานีส 0.927 มิลลิกรัม 44%
*ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม 1%
* โพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม 2%
* โซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
* สังกะสี 0.12 มิลลิกรัม 1%

สับปะรดอุดมด้วยวิตามินซีซึ่งช่วยต่อต้านหวัด ลดเสมหะในลำคอ และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง ช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง และวิตามินซีในสับปะรดยังช่วยในการทำงานของเนื้อเยื่อเกี่ยวฟัน สับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิเดนซ์ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีนและแมงกานีสที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ สับปะรดช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และช่วยบรรเทาอาการร้อน กระสับกระส่าย กระหายน้ำ

เอนไซม์ Bromelain ในสับปะรดจะช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ร้ายในปอด ป้องมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งรังไข่ สับปะรดมีวิตามินซีสูงป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหงือกได้ สับปะรดยังมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ รักษาอาการอึดอัดแน่นท้อง มีลมในกระเพาะ ไม่สบายท้อง บรรเทาอาการท้องผูก สับปะรดมีกากใยอาหารสูงจึงช่วยในการย่อยอาหารได้ดีมาก โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีน กากใยอาหารยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือด แกนสับปะรดช่วยขับปัสสาวะแก้นิ่วได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้สุขภาพช่องปาก ฟัน และเหงือกแข็งแรง บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส

เมนูแกงเผ็ดปลาหมึกยัดไส้ในวันนี้เนื่องมาจากมะเขือพวงในสวนหลังบ้านกำลังออกผลดกมาก จึงต้องเก็บมาประกอบอาหารก่อนที่ผลจะแก่เกินไป แกงเผ็ดปลาหมึกยัดไส้มีขั้นตอนเพิ่มขึ้นคือการนำปลาหมึกที่มีขนาดกลางมายัดไส้หมูสับที่ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว น้ำตาล น้ำมันหอย แล้วนำไปนึ่งให้สุกเสียก่อนจึงนำมาทำแกงเผ็ด ขั้นตอนการทำเหมือนการแกงเผ็ดทั่วไป โดยเริ่มจากการผัดน้ำพริกแกงเผ็ดกับกะทิให้หอมแล้วจึงเติมหางกะทิ ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลมะพร้าว น้ำที่ได้จากการนึ่งปลาหมึกให้ใส่ลงไปด้วย เมื่อน้ำแกงเริ่มเดือดจึงใส่พืชผักต่างๆลงไป ได้แก่ มะเขือพวง มะเขือเทศ สับปะรด พริกชี้ฟ้า เมื่อน้ำแกงเดือดอีกครั้งนำปลาหมึกยึดไส้ใส่ลงไป ใส่ใบโหระพาแล้วรีบยกลง จะใช้เวลาในการต้มปลาหมึกเพียงเล็กน้อยเพราะนึ่งสุกมาแล้ว ถ้าต้มนานปลาหมึกจะแข็ง กระด้าง รับประทานไม่อร่อย

แกงเผ็ดปลาหมึกยัดไส้จะมีรสละมุนกว่าแกงเผ็ดทั่วไป ทั้งนี้เพราะได้สับปะรดเพิ่มรสชาตินั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 674496เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2020 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2020 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท