๔ รสชาติแบบไทย ที่ไปไกลจนเป็นขนมถุง


อาหารไทยใครจะคิดว่าจะเป็นขนมถุงในปัจจุบัน สวัสดีค่ะกลับมาพบกันอีกแล้วนะคะกับ เมย์มีเรื่องเล่า และวันนี้นะคะเรื่องเล่าที่เมย์จะนำมาฝากกันก็คือ ตำหรับอาหารบนซองขนมถุง จากตำหรับอาหารไทยในวันนั้น มาสู่ซองในวันนี้นะคะด้วยวิวัฒนาการหรือเทคโนโลยีอะไรก็แล้วแต่ได้เก็บรวบรวมอาหารรสชาติอร่อยๆและก็โบราณกลับมาให้เราได้ทานกันในซองขนมถุง วันนี้เรามาดูกันดีกว่านะคะว่า มีอาหารรสอะไรบ้างที่ปรากฏอยู่ในซองขนมถุง

เมนูแรกที่เราจะนำเสนอนะคะก็คือ แสร้งว่า อาหารชื่อแปลกแต่รสชาติอร่อยนะคะ แสร้งว่าเป็นอาหารชาววัง โดยนัยแล้วแสร้งว่ามีความหมายคลับคล้ายคลับคลา ว่าเป็นการโกหกนะคะ ก่อนที่จะบอกว่าแสร้งว่านั้นทำไมถึงถูกตั้งชื่อเช่นนี้ เรามาทราบข้อมูลคร่าวๆกันก่อนนะคะก่อนที่จะมาเป็นแสร้งว่าเนี่ย ตัวแสร้งว่าเองพัฒนามาจากอาหารพื้นบ้านชนิดหนึ่ง ที่น่าจะตีความได้ว่าเป็นแกงไตปลาค่ะ เพราะว่าส่วนประกอบหลักของแกงนี้จะใช้ไตปลาในการประกอบอาหาร

แต่พอต่อมาเมื่อส่วนประกอบนี้ได้รับความนิยม จนกระทั่งมาเป็นอาหารตำหรับชาววัง การใช้ไตปลาจึงเป็นสิงที่ไม่ได้รับการยอมรับจากในวังเท่าไหร่นัก เพราะมีกลิ่นคาวแรง และดูไม่น่ากินสักนัก ทำให้ชาววังนั้นปรับประยุกต์จากไตปลา มาเป็นกุ้งนาง หรือกุ้งแม่น้ำซึ่งดูน่ากินมากกว่าค่ะ ทำให้อาหารประเภทนี้ถูกตั้งชื่อว่า “แสร้งว่าไตปลา” หรือแกล้งว่าเอากุ้งมาใช้แทนไตปลา แต่ต่อมาก็เกิดการกร่อนเสียงมาเป็นแสร้งว่าในที่สุดค่ะ ซึ่งแสร้งว่าจัดอยู่ในอาหารประเภทเครื่องจิ้ม คล้ายๆกับน้ำพริกค่ะ

เมนูแสร้งว่านี่ถือได้ว่ามีความโด่งดังเป็นอย่างมากค่ะ โดยหลักฐานที่น่าจะเป็นที่ประจักษ์ก็น่าจะมาจาก “กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน” ของรัชกาลที่2 หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั่นเองค่ะ ซึ่งพระองค์ได้กล่าวถึงแสร้งว่า

“ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน”

“ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เศร้าเจ้าดวงใจ”

และในปัจจุบันความโด่งดังทั้งในเรื่องน่ากิน และภูมิปัญญาของคนโบราณ แสร้งว่าก็ได้ถูกพัฒนามาเป็น ขนมมันฝรั่งทอดกรอบ

เมนูต่อไปที่เราจะพูดถึงก็คือ แกงเขียวหวานค่ะ แกงเขียวหวานมีความเป็นไปเป็นมาอย่างไรอันที่จริงก็ไม่มีประวัติความเป็นไปเป็นมาที่ไม่แน่ชัดนัก แต่น่าจะเป็นอาหารที่มี หลังจากที่เราค้าขายกับโปรตุเกส กับพวกแขกค่ะ เพราะเนื่องจากพวกพริก การทำอาหารด้วยกะทิแต่เดิมมักจะไม่ได้รับความนิยม หรือยังไม่มีวัตถุดิบ ทำให้อาหารดั่งเดิมของเรามักจะเป็นพวกแกงเลียง หรือแกงป่าที่ใช้วัตุดิบที่มาจากพื้นถิ่นเสียมากกว่า

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการวิวัฒนาการในด้านการประกอบอาหารรวมถึงการเข้ามาพืชพันธ์ต่างถิ่น อย่างพวกพริกจากชาวโปรตุเกส ทำให้ แกงเขียวหวานนั้นเริ่มประกอบความเป็นตัวตนมากยิ่งชึ้น โดยการทำแกงเขียวหวานก็มักจะเป็นแกงเขียวหวาน ไก่ หรือ ปลา โดยเฉพาะเมนูอย่าง แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากรายที่เป็นเมนูที่ใครต่อใครก็ต้องร้องอ๋อกันเลยทีเดียวค่ะ

และแม้ว่าแกงเขียวหวานนั้น จะมีชื่อเขียวหวาน อันเป็นรสสัมผัสถึงความหวานก็ตาม แต่ความหวานตามแบบโบราณดั่่งเดิมนั้นก็ไม่ใช่ความหวานที่มาจากรสน้ำตาล แต่เป็นความหวานมันที่มาจากกะทิ ผสมเครื่องแกงแสนเข้มข้นเคล้าไปกับเนื้อสัตว์ที่นุ่มจากการเคี่ยวกลำมาอย่างดีนั่นเองค่ะ

และนอกจากรูปแบบการทำแกงเขียวหวานจะถูกพัฒนาไปอย่างก้าวไกลแล้วรูปแบบการรับประทานแกงเขียวหวานเองก็ถูกปรับปรุงตามความชอบ และความริเริ่มสร้างสรรค์ของคนในกลุ่มต่างๆ ซึ่งการรับประทานนั้นก็มีตั้งแต่การกินกับข้าว ขนมจีน เส้นสปาเก็ตตี้ โรตี หรือแม้แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือขนมกรุบกรอบนั้นก็มีปรับรสชาติของแกงเขียวหวานมาใส่ในวัตถุดิบเหล่านี้ เพื่อสร้างความตื่นตาตืนใจ ตื่นลิ้นในเรื่องของรสชาติด้วยเช่นกันค่ะ

ส่วนรสชาติที่สามที่เราจะพูดถึง นั่นก็คือ รสของเมนูเมี่ยงคำนั่นเองค่ะ

เมี่ยงคำถือว่าเป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง นิยมกินร่วมกับ เครื่องดื่มร้อนหรือว่าเย็น ก่อนรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ซึ่งในตัวเมี่ยงคำนั้นก็จะประกอบไปด้วย ขิง หอมแดง มะนาว พริก มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำเชื่อม และที่ขาดไม่ได้ก็คือใบชะพูลนั่นเองค่ะ ซึ่งลักษณะในการรับประทานนั้นก็จะใช้ใบชะพูล ห่อเครื่องทั้งหมดแล้วตามด้วยราดน้ำเชื่อมก่อนจะห่อและรับประทานเป็นคำๆ

โดยเมี่ยงคำนั้นถือว่าเป็นอาหารที่สร้างความเพลิดเพลินทางรสชาติเป็นอย่างมากเพราะในหนึ่งคำนั้นเราสามารถที่จะสัมผัสรสชาติได้ทุกรส แล้วที่สำคัญเมี่ยงคำยังถือว่าเป็นภูมิปัญญาทางด้านอาหารของคนไทยเพราะสมุนไพรแต่ละชนิดก็จะช่วยเสริมลดธาตุต่างๆในร่างกายเพื่อในหเกิดความสมดุลย์ทางร่างกายได้อีกด้วยนะคะ เรียกได้ว่าทั้งอร่อยและได้ประโยชน์ในคราวเดียวกันนั่นเองค่ะ

นอกจากความอร่อย และได้สุขภาพของเมี่ยงคำแล้ว ตัวเมี่ยงคำเองก็ได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างดังที่ปรากฏ “กาพย์แห่ชมเครื่องว่าง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งได้กล่าวเอาไว้ว่า

“เมี่ยงคำน้ำลายสอ เมี่ยงสมอเมี่ยงปลาทู”

“ข้าวคลุกคลุกไก่หมู น้ำพริกกลั้วทั่วโอชา”

แม้ว่าเมี่ยงคำจะไม่ใช่อาหารจานหลัก ที่ทุกคนต้องกินเป็นประจำแต่ด้วยความกินง่าย และครบรสชาติของมัน ทำให้เมี่ยงคำเองก็ได้รับการปรับปรุงออกมาเป็นรูปแบบของขนมกรุบกรอบ หรือแปรรูปเป็นสินค้าอื่นๆนอกเหนือจากความดั้งเดิมในตัวของมันนั่นเองค่ะ

และเมนูสุดท้ายที่เราจะพูดถึงในวันนี้นะคะ คงจะไม่พูดไม่ได้เพราะเมนูนี้ถือได้ว่าเป็นอาหารอันดับหนึ่งที่ทั้งไทยและต่างชาติต่างร่ำลือ นั่นก็คือ “ต้มยำกุ้ง” นั่นเองค่ะ

แต่กว่าที่ต้มยำกุ้งจะเดินทางมาเป็นอาหารต้นๆของเมืองไทยอย่างทุกวันนี้จุดกำเนิดของมันกลับเป็นไม่ใช่ต้มยำกุ้งอย่างปัจจุบันค่ะ เพราะว่าจากหลักฐานที่มีการบันทึกเมนูต้มยำที่เก่าแก่ที่สุด อย่างตำหรับอาหารในรัชกาลที่5ที่มีชื่อว่า “ประติทินบัตรแลจดหมายเหตุ รศ108” ก็ไม่ได้กล่าวถึงต้มยำกุ้งแต่อย่างใดค่ะ แต่เมนูที่เกี่ยวข้องกับต้มยำนั้นมักจะเป็น ต้มยำปลา อย่างเช่น ปลาหมอ ปลากระเบน หรือปลาช่อนค่ะ

และก็เช่นเดียวกับ“ตำหรับสายเยาวภา” ซึ่งเป็นหนังสือที่บันทึกและรวบรวมตำหรับอาหารส่วนพระองค์ ของ “พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท” ธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 กับ เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ ก็ได้บันทึกสูตรต้มยำที่เป็นแต่ปลาเอาไว้เท่านั้น

จนกระทั่งปีพ.ศ. 2507 ก็ได้มีการกล่าวถึงต้มยำกุ้งอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านหนังสือ “ของเสวย” ที่เขียนขึ้นโดย หม่อมราชวงศ์ กิตินัดดา กิติยากร อดีตเลขาคณะองคมนตรี และทรงมีศักดิ์เป็นพระญาติสนิท ของสมเด็จพระพันปี นับว่าตำหรับต้มยำ ของหม่อมราชวงศ์ กิตินัดดา ที่ผสมผสานกับกุ้ง จึงเป็นต้นตำหรับต้มยำกับกุ้งในยุคแรกๆที่มีการบันทึกเอาไว้นั่นเองค่ะ

จวบจนยุคต่อมาต้มยำกุ้งก็ได้แพร่หลายมาสู่ชาวบ้าน กลายเป็นต้มยำกุ้งที่มีเครื่องหลากหลายเต็มไปด้วยสมุนไพร ซึ่งต้มยำกุ้งก็ได้ถูกแบ่งเป็น ต้มยำกุ้งน้ำข้น และต้มยำกุ้งน้ำใส โดยต้มยำกุ้งน้ำข้น ก็มีการใส่นมสดทำให้น้ำแกงนั้นเข้มข้นและหอมมันมากยิ่งขึ้น หรือบางตำราเองก็มีผสมน้ำตาลเพื่อเพิ่มความหวานไปด้วย เรียกได้ว่ามีสูตรให้เลือกมากมายหลากหลาย และเปลี่ยนไปตามความต้องการของคนในแต่ละยุคสมัย

แต่อย่างไรก็ตามแม้ต้มยำกุ้งจะเปลี่ยนรูปแบบไปมากแค่ไหนแต่สิ่งที่ต้มยำนั้นก็ยังคงไว้ ซึ่งเปรี้ยว เค็ม เผ็ด แซ่บ และเมื่อผสมผสานกับเครื่องสมุนไพรแล้วก็ทำให้คนไทยและคนต่างชาติต่างคิดถึงนั่นเองค่ะ

และนี่ก็คือ 4 รสชาติไทยที่ปรากฏอยู่บนซองขนม ซึ่งเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวันนะคะ ฝากติดตามเราตามที่อยู่ด้านล่างกันด้วยนะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ

สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของช่องของเราได้ที่ Youtube: เมย์มีเรื่องเล่า
https://is.gd/9OpQaO

Facebook: เมย์มีเรื่องเล่า https://is.gd/h1c9IE

IG: maymeerunglao
https://is.gd/hF4n51

Twitter: เมย์มีเรื่อง!(เล่า) @maymeerunglao
https://is.gd/C74vVJ

Gotoknow.org : Maymeerunglao https://is.gd/rK0mvU

แหล่งข้อมูลอ้างอิงโดย Takeaway - งานของตัว, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=9792781https://sites.google.com/a/nanoi.ac.th/miang-north-2-1/home/baimianghttps://www.wongnai.com/recipes/boiled-shrimp-salad-with-thai-herb-sauceโดย Takeaway - งานของตัว, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=16265731http://www.thaifoodheritage.com/recipe_list/detail/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87โดย Xufanc - งานของตัว, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=22931236โดย Wibowo Djatmiko (Wie146) - งานของตัว, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=22104402a href=”https://www.freepik.com/free-photos-vectors/background”Background photo created by freepikhttps://sites.google.com/site/thaifoodtomyumkoong/kung-maenahttps://sites.google.com/site/tertgyhujio/rachkal-thi2โดย Franz Eugen Köhler, Köhler’s Medizinal-Pflanzen - List of Koehler Images, สาธารณสมบัติ, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=255528โดย Takeaway - งานของตัว, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=22630076โดย Takeaway - งานของตัว, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=10274907https://www.wikiwand.com/th/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99โดย ร้านถ่ายรูปหลวงฉายานรสิงห์ - National Archive of Thailand, สาธารณสมบัติ, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=60672830โดย Xufanc - งานของตัว, CC BY-SA 4.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=37241169โดย Paul K - Flickr: Our country’s fishes and how to know them - a guide to all the fishes of Great Britain WJ Gordon 1902 l, CC BY 2.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=16954050โดย Wie146 - งานของตัว, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=2781296โดย Unknown - Bureau of the Royal Household, Kingdom of Thailand, สาธารณสมบัติ, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=7651919http://oknation.nationtv.tv/blog/tewson/2016/11/16/entry-1a href=”https://www.freepik.com/free-photos-vectors/background”Background photo created by freepik - www.freepik.com/a

หมายเลขบันทึก: 674435เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2020 05:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2020 05:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท