อนันตริยกรรม


อนันตริยกรรม

นำเสนอโดย
พระเสรี  สาทโร

เสนอ ดร.โสภณ จาเลิศ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒

อนันตริยกรรมหมายถึง กรรมหนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ

         1. มาตุฆาต – ฆ่ามารดา
             2. ปิตุฆาต – ฆ่าบิดา
             3. อรหันตฆาต – ฆ่าพระอรหันต์
             4. โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ขึ้นไป เช่น พระเทวทัตได้ทำร้ายพระพุทธองค์ ในสมัยพุทธกาล
             5. สังฆเภท - ยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกัน ทำลายสงฆ์

             อนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการนี้ จัดเป็นกรรมหนักหรือครุกรรม ผู้ใดทำกรรมอนันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นจะได้รับโทษทั้งทางโลกและทางธรรม โทษของทางโลกคือจะถูกผู้คนประณามและสาปแช่ง ไม่คบค้าสมาคมใด ๆ เลย และยังถูกกฎหมายบ้านเมืองลงโทษอีกด้วย (โดยเฉพาะมาตุฆาต ปิตุฆาต และอรหันตฆาตเท่านั้น ยกเว้นสังฆเภทและโลหิตตุปบาทที่กฎหมายไม่สามารถลงโทษได้) ส่วนโทษของทางธรรมคือจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนบาปหนักบาปหนาที่สุด ฟ้าไม่อาจจะยกโทษให้เลยแม้แต่น้อย พระพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใดทำกรรมอนันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจะไม่สามารถบวชเข้ามาเป็นภิกษุได้เลย เพราะถือว่าเป็นผู้ต้องปาราชิก สำหรับฆราวาสแล้ว  จะไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานใด ๆ เลย ตลอดชีวิตในชาติที่ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อตายจากโลกไปจะต้องตกนรกเพียงสถานเดียว ไม่สามารถขึ้นสวรรค์ได้ ต่อให้ทำกรรมดีมากมายเพียงใดก็ไม่อาจหนีพ้นจากนรกไปได้

บรรณานุกรม

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. อนันตริยกรรม [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/
              อนันตริยกรรม [1 พ.ย. 2562].

หมายเลขบันทึก: 673522เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2019 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2019 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท