จริต๖


จริต 6

นำเสนอโดย
พระอธิการธนบุตร ปญฺญาวุฑฺโฒ

เสนอ ดร.โสภณ จาเลิศ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒

      จริต  หรือ  จริยา  คือ  ความประพฤติปกติ  ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน  พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ ๆ แห่งพฤติกรรมของตน

          ตัวความประพฤติเรียกว่า จริยา บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้น ๆ เรียกว่า จริต  ได้แก่ 

          1. ราคจริต  คือ  ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ  ประพฤติไปทางรักสวยรักงาม  กรรมฐานคู่ปรับสำหรับแก้ คือ อสุภะและกายคตาสติ

          2. โทสจริต  คือ ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ  ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด  กรรมฐานที่เหมาะ  คือ พรหมวิหารและกสิณ  โดยเฉพาะวัณณกสิณ

          3.  โมหจริต  คือ  ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ  ประพฤติหนักไปทางเขลา  เหงาซึม  เงื่องงง  งมงาย  กรรมฐานที่เกื้อกูล  คือ  อานาปานสติ  และพึงแก้ด้วยมีการเรียน  ถาม  ฟังธรรม  สนทนาธรรมตามกาล  หรืออยู่กับครู  แก้ด้วยมีการเรียน  ถาม  ฟังธรรม  สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครู

          4.  สัทธาจริต  คือ  ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ  ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง  ชื่นบาน  น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย  พึงชักนำไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส  และความเชื่อที่มีเหตุผล  เช่น  พิจารณาอนุสติ  6  ข้อต้น

          5.  พุทธิจริต  หรือ  ญาณจริต  คือ  ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ  ประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา  พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ  เช่น  พิจารณาไตรลักษณ์  กรรมฐานที่เหมาะ คือ  มรณสติ  อุปสมานุสติ  จตุธาตุววัฏฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา

          6.  วิตกจริต  คือ  ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ  ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน  พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์  เช่น  เจริญอานาปานสติ หรือแพ่งกสิณ  เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

พระพรหมคุณาภรณ์  (ป.อ.ปยุตโต).  พจนานุกรมพุทธศาสตร์  ฉบับประมวลธรรม.  พิมพ์ครั้งที่ 24. 
            กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2556.  หน้า 189-190.

คำสำคัญ (Tags): #จริต๖#จริต6
หมายเลขบันทึก: 673509เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2019 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2019 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท