ภัยของผู้สูงอายุ


      ในสังคมไทยเราเริ่มชินกับคำว่าผู้สูงอายุมากขึ้น จากคำเล่าขานหรือจากกลุ่มนักวิชาการที่มักใช้คำนี้ในเชิงธุรกิจหรือพานิชที่เรียกว่าเป็นศัพท์เศรษฐกิจ หรือในครอบครัวที่มีผู้สูงวัย อันหมายถึงพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หากจะถามคนในครอบครัวว่า ท่านสูงวัยเหล่านั้น เป็นภาระหรือไม่ คงเป็นบาปกรรมที่ลูกหลานจะตอบว่า เป็นภาระมาก หากตอบเช่นนั้น อันหมายถึงความอกตัญญูู เพราะนั่นคืออนวชาตบุตร 

      ภัยผู้สูงอายุผู้เขียนมองใน ๒ ลักษณะคือ ประการแรกมองในแง่ของผู้เอาคำศัพท์ไปใช้เพื่อการค้าขายหากำไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภัณฑ์ ยา อาหารเป็นต้น ประการที่สองคือสภาวะทางครอบครัวหรือชุมชน ครอบครัวคือต้นทุนของความสุขแบบสันติ เงินคือปัจจัยเสริมให้สุขแบบสบาย หากคนในครอบครัวเอาใจใส่ดูแลกันและกัน จะไม่มีความทุกข์ยากใดจะมากล้ำกลาย หากแต่เมื่อใดที่คนในครอบครัวเกิดภาวะความแตกแยก เมื่อนั้นแม้จะมีเงินทองมากมาย ก็หามีความสุขได้ไม่ 

     วันนี้เรามีผู้สูงอายุ วันต่อไปเราเองนั่นแหละคือผู้สูงอายุนั่นคือวงจรของชีวิต สำคัญอยู่ที่ว่าเราจะทำให้ผู้สูงอายุเป็นอยู่อย่างมีความสุขได้อย่างไร  ความกตัญญูคือนิมิตหมายของคนดี นี่คือหลักความจริงของชีวิต  

หมายเลขบันทึก: 673201เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019 07:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019 07:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท