44นาที อลเวง


ทุกชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน มีเวลามากเท่าใดให้รีบทำสิ่งที่ใฝ่ฝัน อย่าปล่อยเวลานั้นหลุดไป

               วันนี้ห้องเรียนสี่เหลี่ยมสร้างสรรค์เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกตื่นเต้นที่เออล้นอยู่ในใจ เพราะทุกคนไม่อาจล่วงรู้เลยว่าวันนี้จะเกิดอะไร อาจารย์ป๊อปจะเตรียมกิจกรรมอะไรมาสอดแทรกความรู้ ที่ไม่เหมือนกันเลยในแต่ละครั้งที่พบเจอ เมื่อได้เห็นรัศมีความสุขและรอยยิ้มทำให้รับรู้ว่าวันนี้ไม่ธรรมดาอีกเช่นเคย อาจารย์กล่าวว่าคนที่สวยที่สุดของแถวริมเปิดม่าน มันแฝงความรู้ไปว่านักกิจกรรมบำบัดที่ดีต้องรู้จักการปรับสิ่งแวดล้อม เปรียบเสมือนการเปิดความคิดไม่ให้เรามองอยู่แค่ในกรอบ เมื่อมองออกไปนอกหน้าต่าง เห็นตึกขาว ต้นไม้เขียว ม้านั่ง และแล้วความท้าทายก็เข้าใกล้เข้ามาอาจารย์ให้รับเขียนสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต อย่างละ10 ข้อ ซึ่งทุกคนส่งเสียงโห้ เพราะที่เราเห็นมันไกลจากสถานที่จริงและเป็นสภาพอากศที่อึมครึมฝนกำลังจะล้วงหล่รลงมา แต่สุดท้ายทุกคนก็เขียนครบเนื่องจากมีจิตนาการขั้นสุดยอด วันนี้อาจารย์มาสอนหลักการพื้นฐานกิจกรรมบำบัดที่มีชื่อว่า EHP(The Ecology of Human Performance) สิ่งที่น่าสนใจของหลักการนี้คือให้คำว่า Task แทน Occupation ดังนั้นดิฉันจะกล่าวหลักการนี้ให้ชมกัน 

Ecology มีความหมายว่าระบบนิเวศ คือการมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของสิ่งมี่ชีวิตและสิ่งแวดล้อม มี 3 แก่นหลัก คือ 

1.Person(บุคคล) : ถูกล้อมรอบ หรืออยู่ในบริบท สิ่งแวดล้อม แต่ละบุคคลมีเอกลักษณ์ ประกอบด้วย คุณค่า ความสนใจ ประสบการณ์ ดังกล่าวมากจาก Sensorimotor, Cognitive, Psychological skills และรับอิทธิพลจาก Context เช่นกัน

2.Context(บริบท) : จุดศูนย์กลางของการแสดงความสามารถของมนุษย์ ประกอบด้วย Temporal, Physical, Social, Culture บริบทจะช่วยสนับสนุนการมีส่วนร่วม เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมและ การแสดงความสามารถในหลายๆด้าน เนื่องจากเป็นข้อบังคับเพื่อให้ได้พฤติกรรมที่เหมาะสม สิ่งนี้จะเป็นเมื่อตัวบุคคลเผชิญกับความคาดหวังจากสังคม เรียกว่า Social roles

3.Task : กิจกรรมต่างๆที่มีเป้าหมาย เมื่อบุคคลเลือกทำตามบริบท เรียกว่า Performance range ขึ้นอยู่กับ ทักษะ และความสามารถของตัวบุคคล 

               กล่าวคือหากบุคคลนั้นมีทักษะความสามารถและสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการทำกิจกรรม ช่วงของ Performance range จะกว้าง แต่หากเมื่อใดที่บุคคลนั้นมีข้อจำกัด Performance range แคบลง เช่นบุคคลถูกกักขัง แต่หากบุคคลอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จำกัดหรือไม่เอื้อต่อการทำกิจกรรม แม้บุคคลนั้นจะมีทักษะความสามารถ แต่สิ่งแวดล้อมไม่สามารถที่จะหาแหล่งทรัพยากรได้ Performance range ก็จะแคบลงเช่นกัน เช่น วัยรุ่นสามารถขับรถได้ แต่ไม่มีรถขับ ถ้าเมื่อใดที่ OT ประเมินไม่คำนึงถึงContext จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ทำให้การบำบัดรักษาไม่เหมาะสม                

              


               สิ่งนี้นำไปสู่กิจกรรมที่อาจารย์ป็อปรังสรรค์เพื่อนำความรู้มาสอดแทรก โดยการวาดรูปดังกล่าวขึ้นซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า บุคคลเมื่อประกอบด้วยประสบการณ์ชีวิต โดยอาศัยทักษะจาก Sensorimoter ,Cognitive และPsychological ตัวบุคคลอยู่ในบริบทที่ประกอบด้วย Temporal ,Physical ,Social ,Cultural ทั้งสองมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิด ความสามารถนำไปสู่ Tasks 3 อย่างที่อาจารย์กำหนดคือ 1.แต่งกลอน 2.แต่งเพลง 3.กล่าวสุนทรพจน์ 3อย่างนี้ เรียกรวมเป็น 1Activity ซึ่งความสามาถดังกล่าวจะก่อให้เกิด Performance range ของแต่ละคน และนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน 

               ในเวลา44นาทีที่วุ่นวายต่อจากนี้ ภารกิจของฉันในวันนี้ คือ การแต่งกลอน เนื่องจากดิฉันมีความสามารถในด้านการแต่งกลอน อาจารย์ให้นำสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในข้างต้นมาแต่งเป็นกลอน ดิฉันเลือกเป็น โครงสี่สุภาพ เชิญทุกท่านรับชม และลองอ่านให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของโคลง เรื่องปัญจวัย

                                                             เวหาเปรียบนที        สดใส           เกินกว่า

                                                       ดุจกุมารใคร่ใจ             ปริ่มยิ้ม

                                                       วายุเล่าไฉนเล่า             พัดผ่าน         คึกคะนอง

                                                       เฉกทรามวัยพร่างยิ้ม      ระรำเริงร่า                                                            

                                                             พฤกษาเติบใหญ่มา  หลายพัน      ปีนา 

                                                       แผ่ร่มบารมีอัน               กว้างขวาง                                                                                      

                                                       อีกทั้งนกแมลง               มดต่าง        พึงพา

                                                       ฉะนั้นหนาขอสถิต           ฉัตรพฤกษ์ตลอดกาล 

                                                              เวลาผันเปลี่ยนกาล   เร็วช้า 

                                                       อนิจจังท้องฟ้านั้นผันกลาย มืดมน

                                                       วายุคึกคะนองกลาย         เปลี่ยนเป็น  ช้าสิ้น

                                                       ฉัตรพฤกษ์ผิดพิกล          เขียวปนน้ำตาล 

                                                             อนิงจังสิ้นกาล          หยุดทุก       สรรพสิ่ง

                                                       ท้องฟ้าพื้นนี้ชั่ง               ดับสูญ

                                                       วายุสิ้นทุกสยบ               นิ่งเงียบ       ดับกาย

                                                       สุดท้ายฉัตรพฤกษ์          ร่วงรายกองสู่พสุธา

20191106001848.MP4 (สามารถรับชมคลิปได้โดยกดลิงค์ตรงนี้)

               จากโคลงดังกล่าวสามารถถอนบทโคลง ปัญจวัย คือ 5วัย ได้แก่ วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ วัยชรา และวาระสุดท้าย

บทแรก     กล่าวถึงวัยเด็กสดใสเหมือนผืนน้ำ ยิ้มแย้มแจ่มใจ วัยรุ่นเหมือนพายุคึคะนอง รูปร่างสะสวย ที่เพลิดเพลินกับทุกสิ่งอย่าง

บทที่สอง   กล่าวถึงวัยผู้ใหญ่เหมือนต้นไม้ ที่แผ่ร่มเงาดูแลสัตว์ตัวน้อยๆ เช่นนก แมลง เปรียบเหมือนการให้ความดูแล เลี้ยงดูแก่บุตร

บทที่สาม   กล่าวถึงวัยชราว่าเมื่อเวลาผ่านไปไม่ช้าก็เร็ว ท้องฟ้าเริ่มมืด พายุเริ่มพัดช้าลงค่อยซาลง ต้นไม้เริ่มเหี่ยวเฉา ใบจากสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

บทสุดท้าย กล่าวถึงวาระสุดท้ายว่าทุกชีวิตไม่มีอะไรแน่นอนท้องฟ้าต้องดับสูญ พายุย่อมมีวันสงบลง ต้นไม้ย่อมใบร่วงหล่นและตายไป 

                ทุกอย่างคืออนิจจังจากบทกลอนดังกล่าวอยากให้ทุกท่านได้รับรู้ร่วมกันว่า ทุกชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน มีเวลามากเท่าใดให้รีบทำสิ่งที่ใฝ่ฝัน อย่าปล่อยเวลานั้นหลุดไป เพราะสุดท้ายทุกคนย่อมมีวันที่เวลาหมดลงเช่นเดียวกัน

                หลังจากนั้นได้มีการรวมกลุ่มกับเพื่อนอีก 2 คน และได้ทำการถ่ายทำวิดีโอเพื่อส่งอาจารย์ในเวลา44นาที ที่สามารถทำอะไรได้หลากหลายมากมาย จากบทโคลงสี่สุภาพที่กล่าวในข้างต้นใช้ Experiences ที่ประกอบด้วย

1.Sensorimotor -Visual :ในการมองเห็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต 

                       -Figure ground : จากการถอดโคลง                                             

                       -Endurance : ความอดทนในการแต่งกลอนในเวลาอันสั้น 

                       -Gross coordination : การขยับแขน 

                       -Bilateral integration : การใช้มือขวาเขียน 

                       -Motor control : มีการวิ่งรวมกลุ่ม คำนวณเวลา ความเร็วในการทำงาน 

                       -Visual-Motor integration : ในระหว่างการจดก็มองสิ่งมีชีวิตรอบตัวไปพร้อมกับเขียนลงกระดาษ

2.Cognitive      -Recognition : จดจำ สามารถระบุสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิตได้ และโครงสร้างสัมผัสโครงสี่สุภาพ 

                       -Attention : จดจ่อกับภารกิจที่ต้องทำ คือการแต่งกลอน                        

                       -Initiation :สามารถเริ่มทำได้ แต่ตอนแรกยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร 

                       -Termination : ทำงานให้เสร็จสิ้น เมื่อครบ 44 นาที ต้องเสร็จ และหยุดทำ 

                       -Categorization :จัดเรียงหมู่ ได้แก่ สิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต 

                       -Generalization :นำความรู้ด้านการแต่งมาประยุกต์ใช้กับ Health promotion and prevention

3.Psychological-Values : การให้ความสำคัญของแต่ละวัย 

                       -Interest : สนใจในการทำเกี่ยวกับช่วงวัย และให้ความสนใจในการแต่งโคลง

                       -Coping skills :การจัดการความเครียด ไม่ให้เครียดเกินไป ทำงานตามความสบาย 

                       -Time management : การจัดการเวลา ในการวางแผนในการทำงานต่างๆภายในเวลา 44นาที

**มีการนำหลักการOPP มาใช้ในการแจกแจง 

                สิ่งที่ได้รับจากการงานภายใน 44 นาทีนี้ ทำให้รู้ว่าแต่ละคนมีความสามารถที่ไม่เหมือนกัน ความถนัดที่ไม่เหมือนกัน ทุกคนมีวิธีการทำงานที่ต่างกันและการจัดการต่างๆที่ต่างกัน แต่ทุกอย่างสามารถผสมผสานได้อย่างลงตัว ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม รับผิดชอบในหน้าที่ของตน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆในการนำเสนอ และการได้นำความรู้ใหม่ๆมาประยุกต์ใช้เทียบตามความเข้าใจของตัวเราได้อย่างลึกซึ้ง

หมายเลขบันทึก: 672790เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2019 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2019 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท