นี่เป็นบทความกึ่งแปล เพราะการแปลจะรวบรวมเอานักวิชาการคนอื่นๆที่เขียนเกี่ยวข้องกับการรับรู้ภาษาที่ 2 ของ Stephen Krashen ไว้ด้วย เราจะมาลองแปลความคิดรวบยอดกว้างๆของ Krashen ก่อน
-การรับรู้ภาษา (language acquisition) ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎไวยากรณ์ที่รู้ตัวในขณะนั้น (use of conscious grammatical rule) และไม่จำเป็นต้องฝึกการท่องอย่างน่าเบื่ออีกต่อไป (tedious drill)
-การรับรู้ต้องให้มีการปฏิสัมพันธ์ในภาษาที่ต้องการจะฝึกอย่างมีความหมาย---การสื่อสารโดยธรรมชาติ (natural communication) ซึ่งผู้พูดไม่จำเป็นต้องท่องประโยคที่ได้จดจำมา แต่เกี่ยวข้องกับสาร (message) ที่พวกเขาพูดถึง และทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
-ตัวป้อนที่ยกระดับการใช้ภาษา (comprehensible input) คือส่วนผสมอันจำเป็นและสำคัญในการรับรู้ภาษา
-ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการจัดให้ผู้เรียนพบกับตัวป้อนที่ยกระดับการใช้ภาษา ในสถานการณ์ที่ปล่อยวาง และเต็มไปด้วยสารที่นักเรียนต้องการที่จะได้ยิน วิธีการเหล่านี้จะไม่บังคับให้เกิดการผลิตภาษาในตอนเริ่มต้น (early production) แต่จะให้นักเรียนผลิตภาษาเมื่อพวกเขาพร้อม และต้องตระหนักรู้ว่าการพัฒนาเกิดขึ้นจากการสื่อสารที่เพิ่มขึ้น และตัวป้อนที่ยกระดับการใช้ภาษา ไม่ใช่เกิดจากการบังคับ และแก้ไขการผลิตภาษา
-ในโลกจริง การสนทนากับเจ้าของภาษาที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้เรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจ คือสิ่งที่มีประโยชน์
Stephen Krashen เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาที่ 2 และการพัฒนา งานวิจัยในช่วงนี้จำนวนมากเป็นเรื่องการรับรู้ภาษาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และกระบวนการ 2 ภาษา ตั้งแต่ปี 1980 เขาได้พิมพ์หนังสือมากกว่า 100 เล่ม รวมทั้งบทความ และได้ไปเป็นผู้บรรยายมากกว่า 300 ครั้งในมหาวิทยาลัยทั้งสหรัฐและแคนาดา
นี่เป็นบทบรรยายแบบย่อในเรื่องทฤษฎีการรับภาษาที่สองที่ได้ยอมรับและมีชื่อเสียง ที่ส่งผลกระทบต่อการวิจัยภาษาที่สอง และการสอน
การบรรยายทฤษฎีการรับภาษาที่สองของ Krashen
ในอดีต ตอนปี 1980 Krashen ได้เสนอสมมติฐานไว้ถึง 9 สมมติฐาน ได้แก่
1. The acquisition-learning hypothesis
2. The nature order hypothesis
3. The monitor hypothesis
4. The input hypothesis
5. The affective hypothesis
6. The aptitude hypothesis
7. The filter hypothesis
8. The L1 hypothesis
9. Individual variation in monitor use
แต่เนื่องจากสมมติฐานดังกล่าวไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นทฤษฎีการรับภาษาที่สองของ Krashen ประกอบด้วย 5 สมมติฐานหลัก
1. สมมติฐานว่าด้วยการเรียนรู้กับการรับภาษา (the acquisition-learning hypothesis)
2. สมมติฐานว่าด้วยการสังเกตการณ์ (the monitor hypothesis)
3. สมมติฐานว่าด้วยการรับภาษาแบบธรรมชาติ (the nature order hypothesis)
4. สมมติฐานว่าด้วยตัวป้อน (the input hypothesis)
5. สมมติฐานว่าด้วยการกรองของความรู้สึกนึกคิด (the affective filter hypothesis)
1. สมมติฐานว่าด้วยการเรียนรู้กับการรับภาษา (the acquisition-learning hypothesis)
ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ภาษากับการรับภาษาเป็นสมมติฐานที่พื้นฐานที่สุดในบรรดา 5 สมมติฐานของ Krashen และเป็นที่ยอมรับของนักภาษาศาสตร์และครูสอนภาษา ตามหลักการที่ Krashen กล่าวไว้จะมีระบบการแสดงออกของภาษาต่างประเทศอยู่ 2 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบรับรู้ (acquired system) และ 2. ระบบเรียนรู้ (learned system) ระบบรับรู้ หรือ acquisition เป็นผลผลิตของกระบวนการใต้สำนึก (subconscious process) ที่ใกล้เคียงกับเด็กใช้ในการรับภาษาแรก ระบบนี้อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ที่ทรงความหมายในภาษาที่กำลังใช้ หรือการสื่อสารแบบธรรมชาติ (natural communication) ซึ่งผู้สนทนาไม่ได้เกี่ยวข้องกับประโยคที่เตรียมมา แต่ใช้กระบวนการสื่อสารนั้นให้เกิดผล
ระบบเรียนรู้ หรือ learning เป็นผลผลิตของการสอนที่เป็นทางการ และมันเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่มีสำนึก (conscious process) ซึ่งก่อให้เกิดความรู้แบบมีจิตสำนึกกับภาษา เช่น ความรู้เกี่ยวกับไวยากรณ์ การสอนแบบนิรนัย (a deductive approach) ที่ยึดครูเป็นศูนย์กลางคือการสอนแบบเรียนรู้ แต่การสอนแบบอุปนัย (a inductive approach) ที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางคือการสอนแบบรับรู้
ตามความเห็นของ Krashen การเรียนรู้สำคัญน้อยกว่าการรับรู้
ตัวอย่างของการรับรู้กับการเรียนรู้
การรับรู้ = ไร้สำนึก เป็นไปโดยอ้อม
การเรียนรู้ = มีสำนึก เรียนอย่างชัดแจ้ง
การรับรู้ = เรียนอยู่ไม่ทางการ
การเรียนรู้ = เรียนอยู่ทางเป็นทางการ
การรับรู้ = ไวยากรณ์ที่ต้องใช้จริง
การเรียนรู้ = กฎไวยากรณ์
2. สมมติฐานว่าด้วยการสังเกตการณ์ (the monitor hypothesis)
สมมติฐานการสังเกตการณ์นี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และการเรียนรู้ และเน้นว่าการเรียนรู้ส่งผลต่อการรับรู้ หน้าที่ของการสังเกตการณ์คือผลเชิงปฏิบัติของการไวยากรณ์ที่ได้เรียนในชั้นเรียน ตามหลักการของ Krashen ระบบรับรู้คือผู้เริ่มต้นประโยค แต่ในขณะที่ระบบการเรียนรุ้คือบทบาทของผู้สังเกตการณ์แลบรรณาธิการ การสังเกตการณ์ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนคือ การวางแผน (planning), การแก้ไข (editing), การทำให้ถูกต้อง (correcting) เมื่อมีสถานการณ์เฉพาะ 3 อย่างปรากฏขึ้น ได้แก่
1. ผู้เรียนภาษาที่สองมีเวลาเพียงพอในการสังเกตการณ์
2. พวกเขาเน้นไปที่รูปแบบโครงสร้าง หรือคิดเกี่ยวกับการทำให้ถูกต้อง
3. พวกเขารู้กฎมาเป็นอย่างดี
มันดูเหมือนว่าบทบาทของการเรียนรู้แบบเป็นทางการบางครั้งอาจกีดกันลักษณะเชิงสื่อสารในภาษาที่สองก็ได้ ตามหลักการ Krashen ถือว่ากระบวนการสังเกตการณ์ควรเป็นอันดับสอง และจะใช้ก็ต่อเมื่อปรับการพูดแบบธรรมชาติให้กลายเป็นการพูดแบบเป็นทางการเท่านั้น (polished appearance)
นอกจากนี้ เขายังเสนอว่ามีความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคล (individual variation) ในหมู่ผู้เรียนภาษา ตอนมาถึงขั้นสังเกตการณ์ (monitor use) เขายังได้แยกระหว่างบุคคล 3 ประเภท ได้แก่ คนที่ใช้การสังเกตการณ์ตลอดเวลา (over-users, คนที่ไม่เคยเรียนหรือไม่ใช้ความรู้แบบที่เรียนอย่างเป็นทางการ (under-users), และคนที่การสังเกตการณ์ที่เหมาะสม (optimal-users) การประเมินประวัติชีวิตจะบอกคุณได้ว่าทั้งสามกลุ่มนี้คือพวกใด ปกติแล้วพวกคนเข้าหาสังคม (extrovert) จะเป็นพวก under-users ในขณะที่พวกที่มีโลกส่วนตัวสูงหรือไม่ชอบเข้าสังคม และพวกสมบูรณ์แบบ (introvert, perfectionist) จะเป็นพวก over-users พวกที่ขาดความมั่นใจในตนเอง โดยมากแล้วจะเป็นพวก over-users ด้วยเช่นกัน
3. สมมติฐานว่าด้วยการรับภาษาแบบธรรมชาติ (the nature order hypothesis)
สมมติฐานนี้คือการรับภาษาแบบธรรมชาติที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งมาจากการศึกษา ที่เสนอว่าการรับโครงสร้างทางไวยากรณ์จะเป็นไปตามลำดับก่อนหลังที่สามารถพยากรณ์ได้ เช่น ในภาษาหนึ่งๆ บางโครงสร้าง เรารับรู้ได้ในตอนต้น แต่บางโครงสร้างก็มาทีหลัง ลำดับขั้นการได้โครงสร้างเป็นอิสระจากอายุของผู้เรียน, พื้นฐานทางภาษาที่ 1 ของผู้เรียน, สภาพแห่งการพอเจอ (exposure) ถึงแม้ว่าความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคลจะไม่ถึง 100% ในการศึกษา แต่ก็มีสถิติในการยืนยันถึงลำดับขั้นเรื่องไวยากรณ์ในภาษาต่างๆ
จากงานวิจัยของ Heidi Dulay และ Marina Burt เรื่องการรับรู้หน่วยของภาษา (morpheme) ของเด็กที่เรียนภาษาอังกฤษแบบ L1 และ L2 ผลปรากฏดังนี้
ภาษาอังกฤษภาษาแม่ ได้อันดับ 1
Morpheme = Progressive (-img)
ตัวอย่าง = He is talking
ภาษาต่างประเทศ ได้อันดับ 3
อย่างไรก็ตาม Krashen เสนอว่าถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานอันเชื่อได้ว่าการเรียงลำดับจะเป็นไปตามขั้นตอน แต่หลักสูตรไม่สมควรจะตามลำดับขั้นอย่างในการศึกษา ในความเป็นจริงแล้ว เขาปฏิเสธการเรียงลำดับโครงสร้าง ในเมื่อเราพูดถึงการรับภาษาเป็นจุดมุ่งหมายหลัก
4. สมมติฐานว่าด้วยตัวป้อน (the input hypothesis)
สมมติฐานคือความพยายามของ Krashen ในกาอธิบายว่าเด็กๆรับภาษาที่ 2 ได้อย่างไร สมมติฐานตัวป้อนเป็นการรับภาษา (ซึ่งเกิดโดยจิตไร้สำนึก) ไม่ใช่การเรียนรู้ (ซึ่งเกิดโดยการเรียนภาษาแบบเป็นทางการ) ตามหลักการ ผู้เรียนจะพัฒนาและก้าวหน้าไปในลำดับขั้นตามธรรมชชาติ ก็ต่อเมื่อผู้เรียนรับตัวป้อนที่เหนือกว่าความสามารถทางภาษาที่เขามีไปอีก 1 ขั้น เช่น ผู้เรียนสามารถรู้ถึงขั้น i แต่เมื่อเสนอภาษาต้องเป็นขั้น i+1 เราเรียกตัวป้อนเหล่านี้ว่า ตัวป้อนที่ยกระดับการใช้ภาษา (comprehensible input)
5. สมมติฐานว่าด้วยการกรองของความรู้สึกนึกคิด (the affective filter hypothesis)
Krashen ใช้สมมติฐานนี้เพื่อดูคความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนในการทำให้การเรียนง่ายขึ้น ความรู้สึกนึกคิดคือแรงจูงใจ, ความเชื่อมั่นในตนเอง, ความกระวนกระวาย, คุณลักษณะของบุคคลเป็นคนๆไป Krashen เสนอว่า คนที่มีแรงจูงใจสูง มีความเชื่อมั่นในตนเอง, มองเห็นเองในทางบวก, มีความกระวนกระวายน้อย, เข้าหาสังคม มีแนวโน้มที่จะเรียนภาษาที่สองได้ดีกว่า คนที่มีแรงจูงใจต่ำ, ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง, กระวนกระวาย, ปิดตนเอง คนที่มีลักษณะดังกล่าวจะสร้างอิฐทางความคิด (mental block) ที่คอยกีดกั้นไม่ให้ตัวป้อนที่เป็นการยกระดับภาษาให้ทำหน้าที่แบบเต็มที่ นั่นคือไม่สามารถรับภาษาได้
บทบาทของไวยากรณ์ในมุมมองของ Krashen
ตามหลักการของ Krashen การศึกษาโครงสร้างของภาษามีข้อได้เปรียบในการศึกษาโดยทั่วไป และให้ค่ากับการเรียนในระดับมัธยม และวิทยาลัยอาจนำโครงสร้างไปใส่ไว้ในหลักสูตรทางภาษาของเขา อย่างไรก็ตาม หากจะได้ผลได้ดีขึ้นก็ขึ้นอยู่กับผู้เรียนมีความคุ้นเคยกับภาษานั้นมากน้อยขนาดไหน แต่ที่สมควรเตือนไว้ก็คือ การวิเคราะห์ภาษา, การสร้างกฎเกณฑ์, การนำข้อยกเว้นในภาษาออกไป, และการสอนข้อเท็จจริงที่ซับซ้อนในภาษาที่กำลังสอนไม่ใช่การสอนภาษา แต่เป็นการซาบซึ้งภาษา (language appreciation) หรือภาษาศาสตร์มากกว่า ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสื่อสารเลย (communicative proficiency)
มีเหตุผลในการสอนไวยากรณ์ในการรับรู้ภาษาเพียงประการเดียว นั่นคือ นักรเรียนสนใจในวิชา และภาษาที่กำลังเรียนมีการใช้ในลักษณะที่เป็นการสื่อสารเท่านั้น บ่อยครั้ง เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความเชื่อว่าการศึกษากฎไวยากรณ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรับภาษาที่สอง และตัวครูต้องมีทักษะประเภทอธิบายโครงสร้างจนนักเรียนเข้าใจ หรือหากกล่าวในอีกแง่ การสอนของครูเป็นตัวป้อนที่ยกระดับภาษา (comprehensible input) และในบางครั้ง หากนักเรียนเข้าร่วม ชั้นเรียนก็จะกลายมาเป็นบรรยากาศที่เหมาะสมกับการรับรู้ภาษา แน่นอนว่าความรู้สึกนึกคิดของเด็กจะต่ำลง เพราะไปสนใจแต่คำอธิบาย
แปลและเรียบเรียงจาก
Ricardo E. Schutz. Stephen Krashen’s Theory of Second Language Acquisition
https://www.sk.com.br/sk-krash-english.html
ครูบ้านนอก. สมมติฐาน 5 ประการของ Stephen Krashen. ตอนที่ 1
I am (still) learning English (and Thai and other languages). From my experience ‘interactive and repetitive learning’ (talking+listening/Q&A and getting ‘immediate corrections’ again and again) is best. Then grammar comes in to make understanding more exact between speakers/writers and listeners/readers.
Prof. Krashen presents a very high (meta) theory of learning that learners need not know but teachers should study and compare with their own teaching.
I am (still) learning English (and Thai and other languages). From my experience ‘interactive and repetitive learning’ (talking+listening/Q&A and getting ‘immediate corrections’ again and again) is best. Then grammar comes in to make understanding more exact between speakers/writers and listeners/readers.
Prof. Krashen presents a very high (meta) theory of learning that learners need not know but teachers should study and compare with their own teaching.
-ขอบคุณมากครับ คุณ sr12zar@gmail.com