การเดินทางด้านจิตวิญญาณ


ดาไลลามะองค์ที่ 14 หรือที่รู้จักคือ Tenzin Gyatso ได้ประพันธ์หนังสือเกือบร้อยเล่ม แต่ My Spiritual Journey เป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุด หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเขา และโลกทัศน์ของเขา

การเดินทางด้านจิตวิญญาณ

My Spiritual Journey

พลตรี มารวย  ส่งทานินทร์

[email protected]

26 ตุลาคม 2562

บทความเรื่องการเดินทางด้านจิตวิญญาณ (My Spiritual Journey) นำมาจากหนังสือ My Spiritual Journey จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ HarperOne; Reprint edition (Oct. 4, 2011)

ผู้ที่สนใจเอกสารนี้แบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ https://www.slideshare.net/maruay/my-spiritual-journey-187116998

เกริ่นนำ

  • ดาไลลามะองค์ที่ 14 หรือที่รู้จักคือ Tenzin Gyatso ได้ประพันธ์หนังสือเกือบร้อยเล่ม แต่ My Spiritual Journey เป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุด หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเขา และโลกทัศน์ของเขา
  • ต้องชมเชย Sofia Stril-Rever ผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตที่มีชื่อเสียง ล่ามของดาไลลามะมานานกว่าทศวรรษครึ่งแล้ว ที่ได้ทำการรวบรวม จัดทำเชิงอรรถ และคำอธิบายประกอบที่จำเป็น ในหนังสือเล่มนี้

เกี่ยวกับดาไลลามะ

  • ดาไลลามะ (Dalai Lama) เป็นชื่อที่ชาวทิเบตมอบให้กับผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญที่สุดของพวกเขา คนปัจจุบันเป็นคนที่สิบสี่ ฉายาทางศาสนาของเขาคือ Tenzin Gyatso
  • เขาได้รับเลือกเป็นดาไลลามะในปี ค.ศ.1940 และถือว่าเป็นหนึ่งในผู้นำทางจิตวิญญาณของโลกอย่างต่อเนื่อง
  • ดาไลลามะได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี ค.ศ.1989 และได้รับการขนานนามว่าเป็น "Children of Mahatma Gandhi" จาก TIME magazine

การเดินทางด้านจิตวิญญาณของฉัน (My Spiritual Journey)

  • พิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาฝรั่งเศสคือ My Spiritual Autobiography ต่อมาเป็นฉบับภาษาอังกฤษที่ใช้ชื่อว่าMy Spiritual Journey ผู้ทำหน้าที่แปลและรวบรวมหนังสือเล่มนี้คือ Sofia Stril-Rever
  • บรรณาธิการฉบับภาษาอังกฤษกล่าวว่า "เป็นการพิสูจน์ตัวตนที่แท้จริงของดาไลลามะ มีเรื่องราวซึ่งสร้างแรงบันดาลใจ บทเรียน และความจริงด้านจิตวิญญาณ อีกทั้งเป็นการนำเสนอการเดินทางด้านจิตวิญญาณที่น่าทึ่งที่สุด"

ความมุ่งมั่นสามประการในชีวิตของดาไลลามะ

  • ในหนังสือ การเดินทางด้านจิตวิญญาณของฉัน ประกอบด้วยสามส่วน คือ 1. ในฐานะที่เป็นมนุษย์ 2. ในฐานะพระสงฆ์ 3. ในฐานะดาไลลามะ
  • หนังสือเล่มนี้ วางกรอบตามแบบที่เป็นคำบรรยายของดาไลลามะ ณ รัฐสภายุโรปในกรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2008 และถูกพิมพ์เป็นหนังสือในเวลาต่อมา

1. ความมุ่งมั่นแรกของดาไลลามะ ในฐานะมนุษย์ คือ

  • “การส่งเสริมคุณค่าของมนุษย์และคุณภาพของจิตวิญญาณ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในชีวิตที่มีความสุข ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ครอบครัว หรือชุมชน”
  • ทุกวันนี้ มีคนน้อยมากที่จะปลูกฝังค่านิยมนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่า ทำไมดาไลลามะจึงคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เขาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

ชีวิตของเราต้องพึ่งพาผู้อื่น

  • พื้นฐานของความเชื่อส่วนตัวของดาไลลามะนั้นค่อนข้างง่ายคือ
  • ไม่ว่าเราจะมาจากส่วนไหนของโลก โดยพื้นฐานแล้ว เราทุกคนต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน เราทุกคนแสวงหาความสุขและต้องการหลีกเลี่ยงความทุกข์ เราทุกคนมีความต้องการและความกังวลที่คล้ายกัน ในฐานะมนุษย์ เราทุกคนต่างต้องการอิสระ มีสิทธิ์ในการตัดสินชะตากรรมของเราในฐานะปัจเจกบุคคล รวมถึงชะตากรรมของประชาชนของเรา นั่นคือธรรมชาติของมนุษย์
  • ชีวิตของเราต้องพึ่งพาคนอื่นอย่างมากดาไลลามะกล่าวรากเหง้าของการดำรงอยู่ของเรา มีความต้องการพื้นฐานคือความรัก นี่คือเหตุผลว่า ทำไมจึงเป็นการดีที่จะปลูกฝังความรู้สึกที่แท้จริงของความรับผิดชอบของเรา และความห่วงใยอย่างจริงใจต่อสวัสดิภาพของผู้อื่น
  • ถ้ามนุษย์ทุกคนปรารถนาความรัก เราจะคาดหวังได้อย่างไรว่า ค่านิยมแบบปัจเจกนิยม สามารถเตรียมหนทางที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น ในศตวรรษที่ 21

ฉันจะแผ่เมตตาจนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของฉัน

  • ความเมตตาที่แท้จริง ไม่ได้เกิดจากความสุขที่ได้ใกล้ชิดกับคนคนหนึ่ง แต่มาจากความเชื่อมั่นที่ว่า คนอื่นก็เป็นเหมือนเรา ที่ไม่ต้องการที่จะต้องทนทุกข์ทรมาน แต่ต้องการที่จะมีความสุข และความมุ่งมั่นนี้ไม่ควรจำกัดอยู่ที่วงของญาติและเพื่อนของเรา มันจะต้องขยายไปถึงศัตรูของเราด้วย ความเมตตาที่แท้จริงนั้น เป็นความความรู้สึกรับผิดชอบต่อสวัสดิการและความสุขของผู้อื่น ความเมตตาที่แท้จริง นำมาซึ่งการระงับความตึงเครียดภายในตน เป็นสภาวะของความสงบและความสุข จะเป็นประโยชน์อย่างมากในชีวิตประจำวัน เมื่อเราต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องมั่นใจในตนเอง และคนที่มีความเมตตา จะสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและผ่อนคลายที่รับรู้ได้รอบตัวเขา ส่วนในเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ ความเมตตาก่อให้เกิดสันติภาพและความสามัคคี
  • ดาไลลามะคิดว่าตัวเองเป็น "ผู้รับใช้ของความเมตตา (a devoted servant of compassion)" เขากล่าวว่า ไม่มีอะไรที่จะทำให้เขาพึงพอใจมากไปกว่าแผ่เมตตา
  • เมื่อเขาออกจากทิเบต เขามักจะพูดว่า เขาทิ้งสมบัติและวัสดุสิ่งของไว้ข้างหลังเขา แต่ในหัวใจของเขาเกิดบางสิ่งที่ล้ำค่านั่นคือ ความเมตตาที่ไม่มีที่สิ้นสุด
  • อีกสิ่งหนึ่งที่เขาไม่ลืมที่จะนำติดตัวไปด้วยคือ เสียงหัวเราะ เขาบอกว่าเขายิ้มตลอดเวลา และเขาก็พยายามหัวเราะเพื่อให้ความวิตกกังวลหมดไปเสมอ
  • เขาทำได้อย่างไร เขาบอกว่าเขาเป็น "ผู้ที่มีความสามารถหัวเราะระดับมืออาชีพ (a professional laugher)" และเราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เขาล้อเล่นหรือเปล่า!

2. ความมุ่งมั่นที่สองของดาไลลามะในฐานะที่เป็นพระภิกษุ คือ

  • “การส่งเสริมความปรองดองในหมู่ศาสนาต่าง ๆ” ในตอนแรกสิ่งนี้อาจฟังดูแปลก ๆ เพราะการเผชิญหน้ากันของศาสนาส่วนใหญ่คือ การพิสูจน์ว่าศาสนาของพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น
  • ดาไลลามะเป็นคนที่เข้าใจแนวคิดของความอิจฉา และยิ่งกว่านั้น เขามีความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างศาสนาและจิตวิญญาณ
  • ไม่มีใครสงสัยถึงความจำเป็นของการมีหลายฝ่ายในทางการเมือง ซึ่งเป็นสาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตยใช่หรือไม่ แต่ถึงกระนั้น ผู้คนก็ยังไม่มั่นใจในเรื่องของความเชื่อและศาสนาที่หลากหลาย
  • ดาไลลามะมองเห็นเหตุผลเบื้องหลังนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมมองของความจริงที่ว่า "ศาสนาที่สำคัญทั้งหมดสอนให้เรามีความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ความอดทน ความพอประมาณ และวินัยในตัวเรา"

ความแตกต่างระหว่างศาสนาและจิตวิญญาณ

  • มันสำคัญสำหรับฉันที่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างศาสนาและจิตวิญญาณ ศาสนาหมายถึงระบบความเชื่อที่มีพื้นฐานมาจากอภิปรัชญาพื้นฐาน คำสอน ผู้ปฏิบัติพิธีกรรม หรือการสวดมนต์ อย่างไรก็ตาม จิตวิญญาณนั้น สอดคล้องกับการพัฒนาคุณสมบัติของมนุษย์ เช่นความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ความอดทน การให้อภัย หรือความรับผิดชอบ คุณสมบัติภายในเหล่านี้ เป็นแหล่งแห่งความสุขสำหรับตัวเองและผู้อื่น เป็นอิสระจากศาสนาใด ๆ นั่นคือเหตุผลที่บางครั้งฉันก็กล่าวว่า ผู้คนอาจไม่ต้องนับถือศาสนา แต่ไม่มีเรื่องจิตวิญญาณไม่ได้ และแรงจูงใจที่เห็นแก่ผู้อื่น เป็นองค์ประกอบร่วมกันของคุณสมบัติที่ฉันกำหนดว่าเป็นจิตวิญญาณ
  • นี่คือเหตุผลที่ดาไลลามะเรียกร้องให้มีการปฏิวัติทางจิตวิญญาณและจริยธรรม ที่จะทำให้เส้นแบ่งระหว่างสิ่งนี้กับสิ่งนั้น เปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยของเรานี้
  • ดาไลลามะชี้ให้เห็นสังคมตะวันตก ซึ่งถึงแม้จะน่าทึ่งในพลังงาน ความคิดสร้างสรรค์ และความหิวโหยเรื่องของความรู้ แต่ก็ไม่สนใจเรื่องการพึ่งพาซึ่งกันและกันทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องของธรรมชาติและชีวิต
  • และถ้ารูปแบบของชีวิต แม้ในระดับย่อย ๆ คือปรากฏการณ์ทางวัตถุที่ถูกควบคุมโดยการพึ่งพาซึ่งกันและกัน แล้วทำไมมนุษย์จึงต้องสร้างความแตกต่างกันขึ้นมา?

3. ความมุ่งมั่นที่สาม ในฐานะดาไลลามะ

  • ตามคาดหวัง ความมุ่งมั่นที่สามของดาไลลามะคือ ทิเบต
  • ผู้คนมักลืมว่า แม้ดาไลลามะจะเป็นหนึ่งในผู้นำทางจิตวิญญาณของโลก แต่เขาก็ยังเป็นผู้นำทางการเมืองของประเทศที่ถูกครอบครองโดยจีน
  • ดาไลลามะลี้ภัยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เขาอาศัยอยู่ในอินเดีย แต่เขาไม่เคยลืมความเป็นอยู่ของผู้คนของเขา
  • เขาตระหนักดีว่า ไม่เหมือนกับความมุ่งมั่นสองข้อแรกของเขา (ซึ่งขึ้นอยู่กับความตั้งใจและวินัยส่วนตัว) ข้อที่สามจะเกิดได้เมื่อพบวิธีการแก้ปัญหาที่น่าพอใจซึ่งกันและกันระหว่างชาวทิเบตและชาวจีน
  • แต่ดูเหมือนว่าดาไลลามะจะเลิกหวังว่า สิ่งนี้จะเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเขา

ฉันฝากความหวังไว้ในหัวใจมนุษย์

  • “ ถึงแม้จะเป็นความผิดที่คนจีนกระทำต่อประเทศของเรา” ดาไลลามะเขียน “ในใจฉันไม่ได้ความเกลียดชังคนจีน ”
  • ทำไม? เพราะดาไลลามะกล่าวต่อว่า หนึ่งในอันตรายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคปัจจุบันคือ “การตำหนิประเทศชาติต่ออาชญากรรมที่กระทำโดยปัจเจกบุคคล” จะก่อความเสียหายให้กับทุกฝ่าย!
  • เมื่อใดก็ตามที่คุณพูดว่า “คนฝรั่งเศสเลว” หรือ “คนอเมริกันไม่ดี” คุณกำลังดูถูกเหยียดหยามชาวฝรั่งเศสและชาวอเมริกันโดยรวม ดาไลลามะบอกว่า เขารู้จักคนจีนที่น่าชื่นชมมากมายเช่นกัน และมันเป็นความผิดที่จะโทษคนจีนทั้งหมด สำหรับความโชคร้ายของดาไลลามะและประชาชนของเขา
  • ไม่ใช่เรื่องของ "คนดีกับคนเลว" แต่เป็นเพียงเรื่องของคนที่มีความหวังและคนทำลายความหวังของคนอื่น คนหลังต่างหากเป็นคนที่ทำผิด
  • “จงเป็นผู้ที่อยู่อย่างมีความหวัง” ดาไลลามะกล่าว

สามบทเรียนสำคัญจาก การเดินทางทางจิตวิญญาณของฉัน

  • 1. เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก (Only Compassion Has the Power to Save Humanity)
  • 2. กำจัดกิเลสทั้งสาม (Eliminate These Three Mental Poisons to Become a Better Person)
  • 3. พันธกิจสามประการของดาไลลามะ (Dalai Lama’s Three Commitments in Life)

บทเรียนที่ 1. เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก

  • จากคำพูดของดาไลลามะ เราทุกคนเป็นแบบเดียวกัน (แม้จะมีความพยายามแสดงให้เห็นตรงกันข้ามอย่างไม่หยุดหย่อน)
  • ลักษณะของมนุษย์ที่ดีควรมีคือ ความเมตตา ไม่มีพลังใดเท่า ความเมตตาเกิดขึ้นเมื่อคุณตระหนักว่า ทุกคนบนโลกนี้ต้องการมีความสุข และไม่มีใครที่ต้องการทนทุกข์
  • เตือนตนเองให้บ่อยเท่าที่คุณสามารถทำได้ แล้วโลกจะเป็นสถานที่ที่ดีกว่าเดิม

บทเรียนที่ 2. กำจัดกิเลสทั้งสาม

  • ตามปรัชญาของชาวพุทธ กิเลสสามอย่างที่คุณควรระวังคือ โลภ โกรธ หลง
  • ทุกครั้งที่ใจของคุณถูกกระทบโดยหนึ่งในกิเลสนั้น ร่างกายของคุณจะเริ่มทำงานในทางที่ตรงกันข้ามกับความต้องการที่จะช่วยเหลือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสังคม และทำให้พวกเขาเป็นเผ่าพันธุ์ที่พัฒนาแล้วมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของจักรวาล
  • คุณต้องคำนึงถึงกิเลสทั้งสามนี้ ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในใจและร่างกายของคุณ
  • ดังนั้นทุกครั้งที่คุณตระหนักว่า คุณไม่รู้ตัวว่าต้องการอะไรแน่ หรือเกลียดใครสักคน ให้หยุดสักวินาที เขียนลงในกระดาษ แล้วคิดให้ดี

บทเรียนที่ 3. พันธกิจสามประการของดาไลลามะ

  • ในฐานะมนุษย์ ดาไลลามะมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมคุณค่าของมนุษย์
  • ในฐานะที่เป็นพระภิกษุ เขามีความสนใจในการสร้างความสามัคคีระหว่างศาสนาต่าง ๆ
  • ในฐานะที่เป็นดาไลลามะที่ 14 เขาต้องการเห็นทิเบตเป็นอิสระ
  • สิ่งเหล่านี้คือพันธสัญญาสามประการของดาไลลามะ และเขาตั้งใจที่จะรักษาไว้จนกว่าลมหายใจสุดท้ายของเขา

สรุป

  • เช่นเดียวกับหนังสือส่วนใหญ่ของดาไลลามะ My Spiritual Journey คือการรวมชุดคำปราศรัยและคำพูดของเขาในหลาย ๆ โอกาส หนังสือเล่มนี้ มุ่งเน้นไปที่การเติบโตทางจิตวิญญาณของเขา ซึ่งเรียบง่าย ให้ข้อมูล การสร้างแรงบันดาลใจ และนำเสนอด้านจิตใจของหนึ่งในผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกปัจจุบัน

****************************************

หมายเลขบันทึก: 671914เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2019 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2019 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท