กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม (glufosinate-ammonium)


จัดเป็นสารเคมีอันตรายต่อการสัมผัสผิว อันตรายต่อดวงตา ติดไฟง่าย และ ควันไฟมีพิษ

กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม (glufosinate-ammonium)

เป็นสารเคมี ที่กำลังกล่าวขานถึงในช่วงนี้ ว่าสามารถจะนำมาใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดวัชพืช 

ตัวเก่า คือ  ไกลโฟเซต (Glyphosate) และ พาราคว็อท (Paraquat) 

ที่กำลังถูกเสนอให้ยกเลิกการใช้ในประเทศไทยในขณะนี้

แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม (glufosinate-ammonium)

จัดเป็นสารเคมีอันตรายต่อการสัมผัสผิว อันตรายต่อดวงตา ติดไฟง่าย และ ควันไฟมีพิษ 
.
กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม (glufosinate-ammonium)
ชื่ออื่นๆ : 
 กรดออร์โทฟอสฟอรัส (orthophosphoric acid)
.                กรดเมตาฟอสฟอริก (metaphosphoric acids)

เป็นสารเคมีในกลุ่ม : กรดฟอสฟอริก (Phosphinic acid)

.

Phosphinic acid

กรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) เป็นกรดแร่ มีสูตรเคมี H3PO4 กรดฟอสฟอริกบริสุทธิ์จะอยู่ในรูปผลึกใส (มีจุดหลอมละลายที่ 42.35° C) แต่กรดฟอสฟอริกที่ความเข้มข้น และอุณหภูมิอื่น ๆ อาจพบในรูปของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น สามารถละลายน้ำ และแอลกอฮอล์ได้

กรดฟอสฟอริกถูกใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในการผลิตสารพวกฟอสเฟต เช่น ผงซักฟอก สบู่ ปุ๋ย รวมถึงใช้ผสมเป็นวัสดุอุดฟัน จนถึง ถูกใช้เป็นส่วนผสมของน้ำอัดลม

อันตรายของกรดฟอสฟอริก หากได้รับโดยตรงในปริมาณที่มากพอ ทั้งจากการหายใจ หรือสัมผัสทางผิวหนัง ก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ชื่อพ้อง 9 รายการ

  • orthophosphoric acid
  • o-Phosphoric acid
  • Phosphoric acid ortho
  • ortho-Phosphoric acid
  • Sonac
  • white phosphoric acid
  • กรดฟอสฟอริค
  • กรดออโธฟอสฟอริค
  • กรดออร์โท-ฟอสฟอริก

.
.
กรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) 

อันตราย (ตามระบบ GHS)
อุปกรณ์ป้องกัน/ข้อควรปฏิบัติทั่วไป
เป็นอันตรายเมื่อกินเข้าไป / อาจจะเป็นอันตรายเมื่อสัมผัสทางผิวหนัง / ดวงตาได้รับอันตรายอย่างรุนแรง / อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ หรือ อาจทำให้เกิดอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ
การควบคุมเชิงวิศวกรรม
 ฝักบัวนิรภัย และอ่างล้างตา.  ใช้ในตู้ดูดควันสารเคมีเท่านั้น.

สุขลักษณะทั่วไป

 ทำความสะอาดเสื้อผ้าที่เปื้อนก่อนนำมาใช้ใหม่.  ทิ้งรองเท้าที่เปื้อน.  ล้างให้สะอาดหลังการสัมผัส.

เครื่องป้องกันส่วนบุคคล

 การป้องกันทางเดินหายใจ:  เครื่องช่วยหายใจที่ผ่านการรับรองโดยรัฐ
 การป้องกันมือ:  ถุงมือชนิดที่ทนสารเคมี.
 การป้องกันดวงตา:  แว่นตาแบบก๊อกเกิลส์ ที่ป้องกันสารเคมี.
ข้อปฏิบัติการใช้สาร
 คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติที่ปลอดภัย:  อย่าหายใจเอาฝุ่นเข้าไป.  ระวังอย่าให้เข้าตา, โดนผิวหนัง, หรือเสื้อผ้า.  หลีกเลี่ยงการได้รับสารเป็นเวลานานหรือซ้ำหลายครั้ง.

การเก็บรักษา

 สภาวะสำหรับการเก็บ:  ปิดให้สนิท.  เก็บภายใต้ไนโตรเจน.

สิ่งที่ต้องมีเป็นพิเศษ:

     เก็บภายใต้แก๊สเฉื่อย.  สารดูดความชื้น.

ข้อปฏิบัติกรณีหกรั่วไหลหรือเกิดเพลิงไหม้

การปฐมพยาบาล

ข้อควรปฏิบัติสำหรับบุคคลในกรณีที่หก หรือรั่วไหล
     อพยพคนออกจากบริเวณ.

วิธีป้องกันภัยของบุคคล

     สวมอุปกรณ์ช่วยหายใจแบบครบชุด, รองเท้าบูท และถุงมือยางแบบหนา.

วิธีการทำความสะอาดหลังการปนเปื้อน หรือรั่วไหล

     กวาด, เก็บไว้ในถุงและรอการกำจัด.  ระบายอากาศในบริเวณนั้น และล้างตำแหน่งที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว.
ความเสี่ยงเฉพาะ
     อันตรายเฉพาะ:  ปล่อยควันพิษออกมาภายใต้สภาวะที่เกิดไฟ.

อุปกรณ์ป้องกันพิเศษสำหรับผู้ผจญเพลิง

     สวมเครื่องช่วยการหายใจแบบครบชุด และเสื้อผ้าที่ใช้ป้องกัน เพื่อป้องกันการสัมผัสกับผิวหนัง และดวงตา.
เมื่อสูดดมสาร
     ถ้าสูดดมเข้าไป, ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์.  ถ้าไม่หายใจ ให้การช่วยหายใจ.  ถ้าหายใจลำบาก, ให้ออกซิเจน.

เมื่อสัมผัสสาร

     ในกรณีที่ถูกผิวหนัง, ให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ถอดเสื้อและรองเท้าที่เปื้อนสาร.  ไปพบแพทย์.

เมื่อสารเข้าตา

     ในกรณีที่เข้าตา, ให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที.  ต้องแน่ใจว่าได้ล้างตาอย่างเพียงพอ โดยใช้นิ้วมือแยกเปลือกตาออกจากกันระหว่างล้าง.  ไปพบแพทย์.

เมื่อกลืนกิน

     เมื่อกลืนกิน, ให้ใช้น้ำบ้วนปากในกรณีที่ผู้ป่วยที่ยังมีสติอยู่.  ไปพบแพทย์ทันที.  ห้ามทำให้อาเจียน.
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย
ให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน
(ถ้าเป็นไปได้ให้แสดงฉลากของสารด้วย)




กฎหมายไทย
กฎหมาย บัญชี / กลุ่ม ชนิด / ประเภท ชื่อสารตามประกาศ เงื่อนไข / รายละเอียด
 วัตถุอันตราย 5.1 1 กรดออร์โท-ฟอสฟอริก (o-phosphoric acid) ความเข้มข้นมากกว่าร้อยละ 25 โดยน้ำหนัก (> 25% w/w)
 ยุทธภัณฑ์        
 สารอันตราย (แรงงาน) - - Orthophosphoric acid (กรดออโธฟอสฟอริค) -
- - Phosphoric acid (กรดฟอสฟอริค) -
 ความเข้มข้นสารอันตราย (แรงงาน) - - phosphoric acid (กรดฟอสฟอริค) ขีดจำกัดความเข้มข้นเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานปกติ : 1 mg/m3
 ยาเสพติด        
 วัตถุออกฤทธิ์        

หมายเหตุ :


พิษภัยใกล้ตัว 
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=30

กรดฟอสฟอริก

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 19 ก.ค. 2549
กรดฟอสฟอริกใช้ประโยชน์ในการผลิตสารพวกฟอสเฟต เช่นที่ใช้ในปุ๋ย ผงซักฟอก สบู่ ยีสต์ ใช้ผสมเป็นวัสดุอุดฟัน ใช้ทำแก้ว ในน้ำอัดลม ในอุตสาหกรรมโลหะเขาใช้กรดฟอสฟอริกขัดผิวโลหะ ชุบโลหะ กรดฟอสฟอริกจะทำปฏิกิริยารุนแรงกับด่างเข้มข้น และโลหะหลายชนิด อย่าเติมน้ำลงในกรดเพราะจะเกิดความร้อนสูงจนเดือดกระเด็นได้ กับโลหะจะให้ก๊าซไฮโดรเจนที่ไวไฟ หากอยู่ใกล้แหล่งความร้อนหรือประกายไฟ ก๊าซไฮโดรเจนก็จะลุกไหม้ระเบิดได้ ออโทฟอสฟอริกหรือเมตาฟอสฟอริก เป็นชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง

ผลที่เกิดต่อสุขภาพอาจเกิดจากการสูดละอองหรือผงเข้าไป หรือกลืนกิน มีฤทธิ์กัดกร่อนเช่นเดียวกับกรดอื่นๆทั่วไป คือทำให้เกิดรู้สึกแผดเผา มีอาการระคายเคืองหลอดลม เจ็บคอ แสบตาและผิวหนัง หากสูดเข้าไป อาการอาจไม่แสดงออกทันที เมื่อกลืนกินจะปวดท้องอย่างรุนแรง กระหายน้ำ หายใจลำบาก ชัก และอาจถึงตายได้ เวลาใช้ควรสวมถุงมือและหน้ากาก...

หมายเหตุ

Phosphoric acid

เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม


เอกสารข้อมูลความปลอดภัย : http://www.chemtrack.org/MSDSSG/Trf/msdst/msdst7664-38-2.html

หมายเลขบันทึก: 670534เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2019 00:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2019 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท