การคัดเลือกเกมการศึกษาเพื่อใช้ในการสอน


การคัดเลือกจุดประสงค์ที่จะนำมาใช้ในการสอนต้องเลือกจากความสอดคล้องของเรื่องที่สอนและแนวของเกมนั้นโดยตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม โดยจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งจุดประสงค์การเรียนรู้ตมทฤษฎีดังกล่าว วิเคราะห์ตามความเหมาะสมของแนวเกม โดยที่จะแบ่งได้ดั้งนี้                         1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)   กลุ่มพฤติกรรมย่อย 2 ประเภท โดยพฤติกรรมประเภทที่ 1 คิดขั้นต่ำ (Passive Learning) ได้แก่ความรู้ความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้ และพฤติกรรมประเภทที่ 2 คิดขั้นสูง (Active Learning) ได้แก่วิเคราะห์สังเคราะห์ประเมินค่าและสร้างสรรค์                                                                         2.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ซึ่งปัจจุบันการศึกษาต้องการสร้างให้นักเรียนเกิดทักษะ 7c คือได้แก่ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ โดยมีกระบวนการของทักษะการปฏิบัติที่ยึดตามแนวคิดของซิมป์สัน ได้แก่ การรับรู้ การตระเตรียมการตอบสนองตามการชี้แนะการสร้างกลไกการตอบสนองที่ซับซ้อนขึ้นและการริเริ่มใหม่         3.จิตพิสัย (Affective Domain) คือ การเรียนรู้ ค่านิยม ความรู้สึก ทัศนคติ ความเฃื่อ ความสนใจโดยจำแนกตามความสามารถ 5 ระดับ ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การเกิดค่านิยมการจัดระบบ และการแสดงลักษณะตามค่านิยมในจุดประสงค์การเรียนรู้นี้  นิยมให้นักเรียนเกิดค่านิยมด้านบวกเห็นค่าทัศนคติดีเป็นคนดีมีพฤติกรรมที่ดีงามตามหลักศีลธรรม และหลักประชาธิปไตยโดยสามารถวิเคราะห์จุดประสงค์เพื่อคัดเลือกแนวเกมได้

หมายเลขบันทึก: 670318เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2019 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2019 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท