ความรู้ทั่วไปเบิื้องต้น เกี่ยวกับการใช้สารเคมี กำจัดแมลง เชื้อรา และการใช้ปุ๋ยเคมีกับพืช


ให้เกษตรจำชื่อสามัญ ของยานั้น ๆ อย่าไปจำชื่อทางการค้า

การใช้สารเคมีให้ตรงกับโรคและแมลงของพืชต่าง ๆ

(เทคนิคการจำตัวยา) ให้เกษตรจำชื่อสามัญ ของยานั้น ๆ อย่าไปจำชื่อทางการค้า

1. ชื่อสามัญ อบาแม็กติน 1.8 % หรือ 2 % 

ใช้กำจัดหนอนชอนใบ ป้องกันเพลี้ยไฟ ไรแตง – ไรขาว 

เป็นยาเย็น ประเภทดูดซึม มีฤทธิ์อยู่ได้ 7 – 15 วัน

วิธีการใช้ : 

ใช้จากน้อยไปหามาก  

ปกติ  ใช้ 10 – 15 ซีซี น้ำ 20 ลิตร

หากเกิดการระบาด ใช้ 15 – 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร 


2. ชื่อสามัญ ไซเปอร์เมทริน 10% - 25% - 35% 

ใช้กำจัดหนอน – แมลง (เต่าแตง) – มด เป็นยาน๊อค ประเภทถูกตัวตาย หมดฤทธิ์เร็ว
เป็นยาร้อน ถ้าใช้มากเกินไป จะทำให้ดอกร่วงได้ 

วิธีการใช้ : มีระดับความเข้มข้น 3 ระดับ ดังนี้

ไซเปอร์  10 % ใช้ 15 – 30 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร
ไซเปอร์  25 % ใช้ 10 – 20 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร
ไซเปอร์  35 % ใช้   7 – 15 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร


3. ชื่อสามัญ คลอไพรีฟอส 

ใช้กำจัด ตระกูล หนอนเจาะดอก – เพลี้ยอ่อน – แมลงในดิน ตระกูลพืชกินหัวเสี้ยนดิน-ดินหัน

เป็นยาเย็น ประเภทดูดซึม มีฤทธิ์อยู่ได้ 10 – 15 วัน

วิธีการใช้ : ใช้ 30 – 40 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร 


4. ชื่อสามัญ มาลาไออ่อน 83 % - 50 % 

ใช้กำจัด เพลี้ยอ่อน – แมลงหวีขาว – เพลี้ยแป้ง - แมลงวันเจา

เป็นยาเย็น ประเภทดูดซึม มีฤทธิ์อยู่ได้ 7 – 15 วัน

วิธีการใช้ : ใช้ 30 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร 

5. ชื่อสามัญ ไดเมทโธเอต 40 % 

ใช้กำจัด เพลี้ยอ่อน หนอนได้บ้าง มีกลิ่นเหม็น ทำให้แม่ผีเสื้อของหนอน ไม่อยากมาวางไข่ ไล่แมลงวันทอง

เป็นยาร้อน ประเภทดูดซึม ใช้มากเกินไปจะทำให้ดอกร่วงได้  มีฤทธิ์อยู่ได้ 7 – 15 วัน

วิธีการใช้ : ใช้ 25 – 30 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร

6. ชื่สามัญ เมโทมิล (เลนเนท) 40 

ใช้กำจัดหนอนต่าง ๆ เพลี้ยอ่อน 

เป็นยาร้อน ชนิดน๊อค ประเภทดูดซึม  มีฤทธิ์อยู่ได้ 6 – 14 วัน

วิธีการใช้ : ใช้ 25 – 30 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร


7. ชื่อสามัญ อมิดาคลอสิก (คลอฟรีดรอ) 

ใช้กำจัด เพลี้ยไฟ – หนอน – แมลงหวีขาว – เพลี้ย – จักจั่น มะม่วง – เพลี้ยกระโดด ในนาข้าว ทั้ง 4 ชนิด

หมายเหตุ ใช้เมื่อพบเห็น อาการของพืชที่ถูกเพลี้ยไฟดูดกิน เช่น ใบหงิกห่อลง – ยอดพืชแข็ง ไม่เลื้อยต่อ

วิธีการใช้ : ใช้ 5 – 10 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร

8. ชื่อสามัญ คาน่า 

ใช้เป็นสารเสริมฤทธิ์ ใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นๆ เช่น เตรตระไตรฟ่อน – ไคติน – ดิมิลิน

ใช้ผสมไปกับการฉีดยากำจัดแมลงได้ทุกครั้ง เพื่อช่วยให้ไข่เพลี้ย-หนอนฝ่อ ทำให้ใช้สารเคมีน้อยลง

ใช้ช่วยคุม – ฆ่า ไข่เพลี้ย – ไข่หนอน 

ทำให้ไข่เพลี้ย – ไข่หนอน ทำให้ไม่สามารถออกมาเป็นตัวหนอนได้ 

ช่วยขัดผิด ขัดมันให้เงางาม 

วิธีการใช้ : ใช้ 20 – 32 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร 

ขั้นตอนการผสมยาฉีดให้ได้ผลดีทุก ๆ ครั้ง 

  1. เอาน้ำใส่ในถัง ให้มีปริมาณที่จะฉีดพ่น
  2. ควรใส่ยาจับใบ อย่างดี 2 – 3 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร โดยคนให้ละลายกับน้ำให้ดีก่อน เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำให้เป็นกลาง
  3. ควรใส่ยาประเภทธาตุอาหารเสริม หรือฮอร์โมน ตามอัตราที่กำกับในใยฉลากยา หรือ ขวด
  4. จากนั้นใส่ยาป้องกันเชื้อรา เช่น คาเบ็นดาซิม = 10 – 20 ซีซี น้ำ 20 ลิตร
  5. ควรใส่ยาคุม – ฆ่าไข่หนอน 10 – 30 ซีซี น้ำ 20 ลิตร (จะใช้ หรือไม่ใช้ก็ได้)
  6. สุดท้ายใส่ยาฆ่าแมลง ตามอัตรากำหนดของยาแต่ละชนิด

วิธีการผสมร่วมกับยาฆ่าแมลง ประเภทอื่นๆ ที่ได้ผลดี

1. ซเปอร์ 35 % = 10 – 20 ซีซี + อบาแม็คติน = 10 – 20 ซีซี น้ำ 20 ลิตร 

ใช้กำจัด เพลี้ย - หนอน

2. ไซเปอร์ 35 % = 10 – 20 ซีซี + คลอไพรีฟอส = 30 ซีซี น้ำ 20 ลิตร  

ใช้กำจัด เพลี้ย - หนอนเจาะดอก

3. อบาแม็คติน = 10 ซีซี + คลอฟรีดรอ = 5 – 10 ซีซี น้ำ 20 ลิตร 

ใช้กำจัดหนอน - เพลี้ยไฟ - ไรแดง

4. มาลาไทอ่อน 83 % = 30 ซีซี + แลนเนท = 20 – 35 กรัม น้ำ 20 ลิตร 

ใช้กำจัดเพลี้ย - หนอนเจาะดอก - หนอนต่าง ๆ

5. คลอไพรีฟอส 83 % = 30 ซีซี + คลอฟรีดรอ = 5 – 10 ซีซี น้ำ 20 ลิตร 

ใช้กำจัดหนอน - เพลี้ยไฟ - เพลี้ยอ่อน - เพลี้ยแป้ง

6. คลอไฟรีฟอส 30 % = 30 ซีซี + อบาแม็คติน = 10 – 20 ซีซี น้ำ 20 ลิตร 

ใช้กำจัดเพลี้ยไฟ - ไรแดง- หนอนเจาะดอก- หนอนชอนใบ


ยาฆ่าเชื้อราต่าง ๆ  (ให้ใช้ตามอัตราที่บริษัทฯ กำหนดบนฉลากข้างกล่อง / ขวด)

  1. คาเบ็นดาซิม ใช้ป้องกันโรค ราสนิม – ราแป้ง – แอนแทรคโนส – ราน้ำค้าง
  2. แมนโคเซบ + คอบเปอร์ ใช้ป้องกัน ราน้ำค้าง – แอนแทรคโนส – ราสนิม
  3. ออโธไซร้ ส่วนมาก ใช้กำจัดเชื้อราในกล้วยไม้
  4. แอนทราโคล ใช้ป้องกัน ราน้ำค้าง – แอนแทรคโนส – ราสนิม
  5. อมิสตา ใช้ป้องกัน ราแป้ง – ราน้ำค้าง – แอนแทรคโนส – ราสนิม
  6. ยาซิลสัส – ทูริงยีส ใช้ป้องกัน โรครากเน่าคอดิน ในหน่อไม้ฝรั่ง และผักอื่น ๆ
  7. เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ใช้ป้องกัน รากเน่า – โคนเน่า – กิ่ง – ลำต้น เป็นเชื้อรา
  8. เมทาแลคซิล 25 % ใช้ป้องกัน รากเน่า – โคนเน่า – โรคไส้ดำ – ใบจุดตาเรือ

การใช้ปุ๋ยเคมี และวิธีการใช้

พืชสวน

N 15 คือ ไนโตรเจน   มีหน้าที่ เร่งการเจริญเติบโต ทำให้ใบพืชมีสีเขียวเข้ม โตเร็ว แต่ลำต้นจะอ่อนแอ
P 15 คือ ฟอสฟอรัส 
 มีหน้าที่ การสร้างแป้ง-น้ำตาล ทำให้ต้นพืช เพื่อสะสมการออกดอก
K 15 คือ โพแทสเซียม
  มีหน้าที่ ช่วยให้ผลผลิต มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น สร้างความหวาน เร่งให้แก่เร็ว แต่จะทำให้ต้นโทรม เร่งการลงหัวของพืช


พืชไร่ ตระกูล ผักกินต้น-ใบ

ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0  หรือ 21-0-0  หรือ 30-0-0  หรือ 30-10-10 และ 46-0-0 = 1 ส่วน 

บวกด้วย 15-15-15 = 2 ส่วน ก็ทำให้พืชงาม และแข็งแรง


พืชไร่ ตระกูล กินฝัก-ผล

ช่วงปลูกระยะแรก ให้ใช้ 25-7-7  หรือ 15-15-15  หรือ 16-16-16  +  46-0-0  หรือ 30-0-0  หรือ 21-0-0
ช่วงระยะ ต้องการให้ออกดอก ใช้ 15-15-15  หรือ 16-16-16  หรือ 12-24-12 และ 8-24-24  และ 0-0-60


พืชไร่ ตระกูล กินหัว

ช่วงปลูกระยะแรก ให้ใช้ 25-7-7  หรือ 15-15-15  หรือ 16-16-16  +  46-0-0  หรือ 30-0-0  หรือ 21-0-0
ระยะเริ่มลงหัว ให้ใช้ 12-24-12  หรือ 10-30-10
ระยะก่อนเก็บเกี่ยว ให้ใช้ 0-0-60  หรือ 0-0-50 + 10-10-30

หมายเหตุ หากพบว่าต้นพืชมีสีเหลือง หรือแคละแกรน  ให้เพิ่มปุ๋ยตัวหน้า และเพิ่มธาตุอาหาร
ถ้าต้นพืชงามให้หยุดการให้ปุ๋ยตัวหน้า แต่ให้ใช้สูตรที่เน้น ตัวกลาง และ ตัวท้าย เช่น 8-24-24

หมายเลขบันทึก: 670142เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2019 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2019 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท