จากงานวิจัยพระพุทธรูปที่ปรากฎในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.พระรตนปฏิมาหรือพระแก้วมรกต


จากงานวิจัยพระพุทธรูปที่ปรากฎในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.พระรตนปฏิมาหรือพระแก้วมรกต

โดยอาจารย์สุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงพระรตนปฏิมาไว้ว่า 
“ในปีจอ จุลศักราช ๘๔o (พ.ศ. ๒o๒o) พระเจ้าพิลกราชาธิราชโปรดให้สีหโคตเสนาบดี ก่อเสริมราชกูฏองค์เก่า ครั้งพระเจ้าแสน
เมืองมาทรงสร้างไว้ราชกูฏก่อเสริมใหม่นั้น ทั้งใหญ่ทั้งสูงกว่าองค์เก่า จริงอยู่ ราชกูฏใหม่นั้นฐานกว้างด้านละ ๓๕ วา สูง ๔๕ วา มีระเบียบกระพุ่มยอดเป็นดันเดียว น่าเลื่อมใสยิ่งนัก เป็นจุดเด่นแห่ง ราชธานีเชียงใหม่ งามเพียงดัง พระธาตุจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์อันเป็นที่อยู่ของท้าววาสพ พระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาธัมมคัมภีร์เถรนำมาจากลังกาทวีป เพื่อนมัสการกราบไหว้นั้น เวลานั้น สีหโคตรเสนาบดีได้บูชาสืบต่อกันมา สีหโคตรเสนาบดีจึงบรรลุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้ในราชกูฏนั้น ตั้งแต่เริ่มก่อเสริมราชกูฏจนกระทั่งเสร็จ เกิดอัศจรรย์หลายอย่างหลายประการด้วยเดชานุภาพแห่งพระบรมสารีริกธาตุ พื้นแผ่นดินใหญ่ไหวอยู่บ่อยๆ เมื่อ ราชกูฏสร้างเสร็จแล้ว พระเจ้าพิลกราชาธิราชได้อัญเชิญพระรตนปฏิมา ซึ่งมีฤทธิ์เดชหาประมาณมิได้ มาแต่นครเขลางค์ประดิษฐานไว้ที่ราชกูฏ นครเชียงใหม่นั้น เมื่อปีฉลู จุลศักราช ๘๔๓ (พ.ศ. ๒๐๒๕)” 
ผู้แปลได้อธิบายถึงราชกูฏในรูปที่ ๓๕ หน้า ๒๐๓ความว่า “ซุ้มประจำทิศเจดีย์หลวง หรือราชกูฏ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระรตนปฏิมา(พระแก้วมรกต) จังหวัดเชียงใหม่”
ราชกูฏเจดีย์หลวงองค์นี้ ตำนานเชียงใหม่ว่า พระเจ้าติโลกไปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต ราชบุรุษนายช่างผู้สร้างเจดีย์เจ็ดยอด เป็นผู้สร้างเสริมเจดีย์หลวง มีมุขที่ฐานตามแบบรตนมาลีเจดีย์ ที่เกาะลังกา ผสมกับเจดีย์พุทธคยาประเทศอินเดีย ในรัชกาลพระเจ้าติโลก โปรดให้ประดิษฐานพระรตนปฏิมา(พระแก้วมรกต)ที่ซุ้มบนองค์เจดีย์ด้านตะวันออก ปัจจุบันนี้จะมองเห็นซุ้มนั้นก่อด้วยอิฐปิด
ไว้เหลือช่องขนาดตัวคนลอดได้ บริเวณภายในเป็นโพรง มีแท่นประดิษฐานพระไว้แท่นหนึ่ง แสดงว่าเป็นแท่นที่พระรตนปฏิมาเคยประดิษฐานอยู่บนนั้น

ในภาพอาจจะมี Ganesh Noi Ganesh
ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน
หมายเลขบันทึก: 669400เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2019 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2019 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท