พระพุทธรูปที่ปรากฎในคัมภภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.พระเจ้าเก้าตื้อ


พระพุทธรูปที่ปรากฎในคัมภภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.พระเจ้าเก้าตื้อโดยอาจารย์สุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม


      ตำนานเมืองเหนือกล่าวถึงพระเจ้าเก้าตื้อไว้ว่า “พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปฝีเมือง เชียงแสน ที่งดงามที่สุดในลานนาไทย ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเล็กวัดสวนดอก เชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๗ (จ.ศ.๘๖๖) เริ่มทำพิธีตั้งแต่วันพฤหัสบดีขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ศก หล่อแล้วทำการตบแต่งจนถึงพฤหัสบดีขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู สัปตศก พ.ศ. ๒๐๔๘ (จ.ศ. ๘๖๗) จึงสำเร็จสมบูรณ์ องค์พระหนัก ๑ ตื้อมีที่ต่อ ๘ แห่ง หน้าตักกว้าง ๓ เมตร สูงแต่ฐานถึงยอดพระเมาฬี ๔ เมตร๗๐ เซ็นต์ ครั้นถึงวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก พ.ศ. ๒๐๕๒ (จ.ศ. ๘๗๑) จึงได้มีการชักลากนำพระพุทธรูปปฏิมากรองค์นี้ เข้ามาประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถวัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) ต่อมาประชาชนเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีน้ำหนัก ๙ ตื้อ จึงเรียกกันว่า “พระเจ้าเก้าตื้อ” 
ชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงพระเจ้าเก้าตื้อไว้ว่า 
“เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด จุลศักราช ๘๖๖ (พ.ศ. ๒๐๔๘) พระจันทร์เสวยบุพพผัดคุณฤกษ์เป็นวันแล้ง จากนั้นย่างเข้าปีที่ ๒ เป็นปีฉลู จึงทรงหล่อพระพุทธองค์ใหญ่ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ พระจันทร์เสวยปุนัพพสุฤกษ์เป็นฤดูแล้ง ได้ยินว่าพระองค์โปรดให้หล่อพระพุทธรูปใหญ่องค์นั้นใช้ทองแดงหนักเรือนโกฏิ มีที่ต่อถึง ๘ แห่ง ใส่พระเมาลีลงบนพระเศียร เมื่อวันอาทิตย์ต้นเดือน ๗ เป็นวันแล้ง กิจการเกี่ยวกับพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ ๕ เดือนจึงเสร็จ” 
ผู้แปลได้อธิบายไว้ในเชิงอรรถว่า พระพุทธรูปองค์นี้ คือพระเจ้าเก้าตื้อ ปัจจุบันนี้อยู่ในวัดพระเจ้าเก้าตื้อติดกับวัดสวนดอก กล่าวกันว่าในครั้งเดิม วัดพระเจ้าเก้าตื้อ เป็นวัดสวนดอก เมื่อหล่อพระใหญ่องค์นี้แล้วเคลื่อนที่ไปไม่ได้พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช จึงโปรดให้สร้างเป็นวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง คือวัดพระเจ้าเก้าตื้อ คำว่าเก้าตื้อแปลว่า ตั้งโกฏิหรือเรือนโกฏิไว้เป็นเค้าหลักโกฏิ ปัจจุบันนี้รวมกับสวนดอกแล้ว

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, เมฆ และสถานที่กลางแจ้ง
ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, กำลังยืน
หมายเลขบันทึก: 669283เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2019 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2019 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท