จากงานวิจัยชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.ประเทศอินเดียวัดเวฬุวันวิหาร(วิหารเวฬุวัน )


จากงานวิจัยชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.ประเทศอินเดียวัดเวฬุวันวิหาร(วิหารเวฬุวัน )โดยอาจารย์สุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป


วัดเวฬุวันมหาวิหารหรือพระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถานเป็นอาราม(วัด)แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) ว่า เวฬุวัน แปลว่าสวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ 

ในภาพอาจจะมี ต้นไม้, ต้นพืช, สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ



เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของพระสงฆ์ ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป แล้วส่งไปเป็น พระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของวันมาฆบูชา 


วัดเวฬุวันมหาวิหาร ปัจจุบันยังคงอยู่เป็นซากโบราณสถานในสวนไผ่ที่ร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ภายใน มีรั้วรอบด้านอยู่ในความดูแลของทางราชการอินเดีย
ชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงเวฬุวันวิหารไว้ว่า 

“ในวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนมาฆ(ราวเดือน๓ ไทย)พระมหาโมคคัลลานได้บรรลุที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ ส่วนพระมหาสารีบุตรได้บรรลุสาวกบารมีญาณในวันกลางเดือนมาฆเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าพระมหาสารีบุตรมีสิ่งแวดล้อมมาก ในวันกลางเดือนมาฆ ดิถีมีพระจันทร์ประกอบด้วยมาฆฤกษ์ พระศาสดาเสด็จป
ระทับท่ามกลางพระภิกษุ ๑,๒๕o องค์ ทรงประทานตำแหน่งอัครมหาสาวกทั้งคู่ในวิหารเวฬุวัน ทรงกระทำจตุรงคสาวกสันนิบาต(ประชุมสาวกประกอบด้วยองค์ ๔) ทรงแสดงพระปาฏิโมกข์”

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน และสถานที่กลางแจ้ง
หมายเลขบันทึก: 669028เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2019 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2019 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท