14 ปีจาก R2R สู่การเติบโตเป็น Meta R2R ในงาน NICU รพ.ยโสธร


14 ปีจาก R2R สู่การเติบโตเป็น Meta R2R ในงาน NICU รพ.ยโสธร

หลายปีมากมากที่มีโอกาสได้เรียนรู้ไปกับผลงาน R2R ของหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด หรือ NICU โดยพี่วิภาดา เชื้อศุภโรบล เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย ที่มีความตั้งใจและความพยายามอย่างยิ่งยวดต่อการนำเครื่องมือ R2R มาใช้ในการเรียนรู้พัฒนาและแก้ไข GAP 

เมื่อปี 2560 ผลงานสำคัญนี้ได้รับรางวัล R2R ดีเด่นระดับประเทศ ในงาน R2R Forum ปี 2560 ประเภท Meta R2R เรื่อง ผลการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพทารกแรกเกิดในจังหวัดยโสธร มีผลงาน R2R ย่อยทั้งสิ้น 6 เรื่อง ได้แก่

  1. ปี 2556-2559  ดำเนินงานวิจัยเรื่อง การศึกษา ผลลัพธ์ของการ พัฒนาระบบการดูแลทารกแรกเกิด จังหวัดยโสธร
  2. ปี 2557 - 2559 ได้ดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ผลการติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงหลังจำหน่ายโดยสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลยโสธร
  3. ปี 2556-2559 ได้วิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่องการช่วยกู้ชีพทารกแรกเกิด(Cardiopulmonary resuscitation : CPR)) จังหวัดยโสธร
  4. ปี 2558-2559 ได้วิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นวัตกรรมหน้าต่างมหัศจรรย์ต่อการลดค่าใช้จ่ายและการคงใช้งานของตู้อบอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์
  5. ปี 2558 - 2559  ดำเนินโครงวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องเป็นหูเป็นตา” (เป็นโครงการวิจัยนำร่องในเทศบาลตำบลสำราญ .เมือง .ยโสธร)
  6. ปี 2560 ดำเนินโครงวิจัยเชิงปฏิบัติการ ความรู้ทักษะการดูแลทารกแรกเกิดโรงพยาบาลในเครือข่าย จังหวัดยโสธร

จะเห็นได้ว่า ผลจากการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2556   ร่วมกับการให้ความรู้ การจัดทำคู่มือ การนิเทศติดตามงาน อย่างต่อเนื่อง พบว่า ระบบบริการชัดเจน มีช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว มีช่องทางด่วนเฉพาะทารกแรกเกิด สามารถเข้าถึงบริการได้ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ให้คำปรึกษาที่เหมาะสม และเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ ให้ดูแลเบื้องต้นที่เหมาะสม ก่อนการเคลื่อนย้าย หรือขณะให้การดูแลที่โรงพยาบาลชุมชน ซึ่งพบว่าอัตราการส่งมารักษาต่อมีอัตราลดลง แสดงถึงระบบบริการทั้งในโรงพยาบาลแม่ข่ายและโรงพยาบาลในเครือข่ายสามารถเชื่อมโยงได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 

จากได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และไม่ละออกจากวิถีแห่งการเรียนรู้พี่วิ ก็ยังคงชวนน้องๆ ทำงาน R2R ต่อโดยมีความเชื่อว่า “การที่หัวหน้าพาทำนั้นย่อมนำมาสู่ความสำเร็จของการเรียนรู้ได้กว้างและลึกซึ้งยิ่งกว่าการสั่งให้น้องทำเพียงอย่างเดียว” จึงเป็นที่มาของผลงานในอีกสองปีถัดมาคือ เรื่อง การพัฒนากระบวนการการพยาบาลอย่างเป็นระบบด้วยกลไกมิติทางคุณภาพต่อความปลอดภัยและการเข้าถึงระบบบริการของผู้ป่วย NICU โรงพยาบาลยโสธร 

มี R2R 9เรื่อง 1)การพัฒนาระบบการทบทวน 12 กิจกรรมโดย Monitoring NICU TEAM   2) การบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบต่อการป้องกันการเกิดอุบัติการณ์อันไม่พึงประสงค์ใน NICU 3) การพัฒนาระบบ IC for Newborn Care ต่อการเฝ้าระวังการติดเชื้อ 3 กลุ่ม 4)การเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา อย่างเป็นระบบต่อการลดความเสี่ยงจากกิจกรรมทางการพยาบาล 5)การพัฒนาระบบการส่งต่อแบบ Seamless Network ต่อการเข้าถึงระบบบริการและปลอดภัย Crisis Newborn 6)ผลการส่งเสริมพัฒนาการของทารกในระยะวิกฤต 7)ประสิทธิภาพการบริหารจัดการเครื่องมือทางการแพทย์ภายใต้แนวคิด LEAN 8) การเยี่ยมบ้านแบบสหสาขา วิชาชีพเชิงรุกต่อการลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดพัฒการล่าช้าในทารก 9) การพัฒนารูปแบบ Bio-Psycho-Social-Spiritual ต่อการดูแลแบบประคับประคองของทารกในระยะวิกฤต เครื่องมือคือแบบบันทึก สถิติที่ใช้ Content Analysis,Descriptive Analysis,Proportion test

 และได้รับรางวัล R2R ดีเด่นระดับประเทศ ในงาน R2R Forum ปี 2562 ประเภท Meta R2R  

ซึ่งผลงานครั้งนี้ หลังการพัฒนากระบวนการพยาบาล อย่างเป็นระบบด้วยกลไกมิติทางคุณภาพต่อความปลอดภัยและการเข้าถึงระบบบริการของผู้ป่วย NICU โรงพยาบาลยโสธรดีขึ้นกว่าก่อนพัฒนา โดยเฉพาะในด้านการเยี่ยมบ้าน อัตราการเกิด IVH grad III-IV และอัตราการเกิด Hearing impairment (โดยวิธี ABR) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) 

จาก GAP ที่ยังคงเหลืออยู่ โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการดูแบบประคับประคอง (Palliative Care) ยังไม่เป็นระบบชัดเจน จึงได้มาพูดคุยในทีมกันต่อ เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาการดูแลแบบเครือข่ายอย่างไร้รอยต่อจาก NICU ไปจนถึงการกลับไปอยู่ที่บ้านนำมาต่อยอด

และได้รับโอกาสจาก The Temasek Foundation Healthcare Executives in Asia Leadership (TF HEAL) Innovation Programme in Singapore. ประเทศไทยสิงคโปร์ให้ทุนต่อยอดและพัฒนางานวิจัยในมิติของ Value base Health Care โดยการพัฒนารอบนี้ได้ พ.ท.ดร.นพ.ทนงสรรค์ เทียนถาวร ร่วมเป็นที่ปรึกษาและนำแนวทาง Health Visitor and Midwifery Partnership Working Guidance (GL1019) และ GUIDANCE DOCUMENT: Health Visiting Programme: Pathway to support professional practice and deliver new service offer Maternal mental health pathway 3 จากประเทศสก๊อตแลนด์มาเป็นฐานแห่งการเรียนรู้ในครั้งนี้ร่วมด้วย ในงานวิจัยเรื่อง Development of Seamless Quality System for NICU Patient in Yasothon Province

จากเส้นทางการพัฒนางานประจำด้วยวิจัยทำให้ย้อนกลับไปมองนี่คือ โอกาสที่ได้รับต่อการเรียนรู้และพัฒนางานอย่างไม่หยุดนิ่งของผลงานเล็กๆ ในองค์กรเล็กๆ จากเมืองเล็กๆ ที่ไม่มีอะไรหวือหวามากมาย คือความเรียบง่ายและยิ่งใหญ่มากต่อชีวิตแห่งการเรียนรู้ครั้งนี้ และการพัฒนางานด้วยวิจัยนี้เป็นการทำแบบไม่แยกส่วน สร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับทั้ง HA ,Service Plan และงาน QA ของพยาบาล เกิดเกลียวการพัฒนาเชิงระบบอย่างไม่หยุดนิ่ง

ชื่นชมพี่วิและทีมรวมถึงเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดยโสธร

หมายเลขบันทึก: 668883เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2019 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2019 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท