จากงานวิจัยชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.เมืองกบิลพัสดุ์


จากงานวิจัยชินกาลมาลีปกรณ์ตอน.เมืองกบิลพัสดุ์โดยอาจารย์สุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ

กบิลพัสดุ์(Kapilavastu)เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ ๒๙ปี ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาลติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินี กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า "ที่อยู่ของกบิลดาบส"เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ “กบิล” พวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิลดาบส
ในชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงกบิลพัสดุ์ ไว้หลายครั้งอาทิเช่
น 
“พระกาฬุทายีเถรเป็นอำมาตย์คนสุดท้าย พอถึงวันกลางเดือนผัคคุณ พ้นหน้าหนาวแล้วย่างเข้าฤดูวสันต์ คิดว่าถึงเวลาที่จะสงเคราะห์ พระญาติของพระทศพลแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลพรรณนาสรรเสริญการเดินทางด้วยบทประพันธ์ ๖o บทเป็นประมาณ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุท
โธทนะมหาราชพระพุทธบิดาของพระองค์ ใคร่เห็นพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดสงเคราะห์พระประยูรญาติทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับคำอุทายีเถรแล้ว มีพระภิกษุขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ องค์ แวดล้อมเสด็จออกจากนครราชคฤหในวันแรม ๑ ค่ำ (เดือน ๔) เสด็จพุทธดำเนินไปวันละโยชน์ๆ เป็นเวลา ๒ เดือน สิ้นระยะทาง ๖o โยชน์จึงถึงเมืองกบิลพัสดุ์ ในวันกลางเดือนวิสาข”
เครดิตภาพ:อินเทอร์เน็ต

ในภาพอาจจะมี ต้นไม้, ต้นพืช, สถานที่กลางแจ้ง, ธรรมชาติ และน้ำ
ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ
หมายเลขบันทึก: 668718เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2019 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2019 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท