การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางเรียนเรื่องการสร้างคำโดยใช้แบบทดสอบเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒


การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ สื่อนวัตกรรม/วิจัยชั้นเรียน ภาคเรียนที่๑/๒๕๖๒

เรื่อง การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางเรียนเรื่องการสร้างคำโดยใช้แบบทดสอบเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

จำนวนนักเรียน  ๑๑๑  คน  (ห้อง ม.๒/๓  ม.๒/๔  และ ม.๒/๑๐)

สภาพปัญหา/สาเหตุ  

การเรียนรู้ด้านหลักภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เป็นเรื่องยากสำหรับนักเรียน  เพราะเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ นักเรียนจะต้องจดจำกฎเกณฑ์ ประกอบกับนักเรียนไม่ค่อยได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน  นักเรียนจึงเกิดความเบื่อหน่าย ไม่มีความสุขในการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ในเบื้องต้น จัดการเรียนรู้โดยครูบรรยาย อธิบาย แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหรือทดสอบ ก็จะเบื่อหน่าย ทำกิจกรรมที่มอบหมายไม่ได้ ครูจึงจำเป็นต้องหาวิธีที่จะทำให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยความใจ เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง และมีความสุขในการเรียนรู้

วัตถุประสงค์  

  • ๑. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสร้างคำ
  • ๒. เพื่อสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้
  • ๓. เพื่อสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้

วิธีดำเนินการ 

  • ๑. ครูจัดทำสื่อใบความรู้ เรื่องหลักสังเกตคำบาลี  สันสกฤต และคำเขมร และสื่อคำซ้ำ คำซ้อน คำประสมจากหนังสือ
  • ๒. ครูจัดทำแบบทดสอบแบบปรนัย เรื่องหลักสังเกตคำภาษาบาลี คำภาษาสันสกฤต และคำเขมร และแบบทดสอบเรื่องการสร้างคำ
  • ๓. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๔ คน ตามแถวที่นั่งเพื่อสะดวกในการหันหน้าเข้ากลุ่ม
  • ๔. ครูแจกใบความรู้และแบบทดสอบให้คนละ ๑ ชุด
  • ๕. ครูแจ้งกติกาในแต่ละคาบจะทำ ๑๕ ข้อ กลุ่มไหนทำผิด นักเรียนผู้หญิงจะกระโดดตบ ๕ ครั้ง/๑ ข้อ นักเรียนผู้ชายจะวิดพื้น ๓ ครั้ง /๑ ข้อ
  • ๖. ให้นักเรียนช่วยค้นหาคำตอบโดยการวิพากษ์ วิจารณ์ ถกเถียงโดยอ้างอิงความรู้จากใบความรู้ที่ให้ แล้วตอบคำถามโดยกากบาท หรือวงกลมข้อที่กลุ่มมีความเห็นร่วมกัน คาบละ ๑๕ ข้อ
  • ๗. เมื่อเวลาเหลือ ๑๐ นาที ครูเขียนข้อและกลุ่มในกระดาน ให้แต่ละกลุ่มบอกตัวเลือกในแต่ละข้อทีละข้อ

แล้วครูเฉลย พร้อมอธิบายเหตุผลของการตอบข้อนั้น เพื่อให้ความรู้อีกครั้ง

  • ๘. เมื่อเฉลยครบสรุปคะแนน นักเรียนกลุ่มที่มีข้อผิด แสดงความรับผิดชอบตามกฎที่ตั้งไว้
  • ๙. นักเรียนทำเช่นนี้ในคาบถัดไปจนครบ ๖๐ ข้อ

ผลการพัฒนา

  • ๑. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหลักสังเกตคำภาษาบาลี คำภาษาสันสกฤต คำภาษาเขมร         และการสร้างคำสูงขึ้น
  • ๒. เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน นักเรียนมีความตั้งใจกระตือรือร้นในการหาความรู้เพื่อสนับสนุนการตอบ
  • ๓. เกิดข้อค้นพบในการสอนโดยใช้แบบทดสอบเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จ

  • ๑. การให้ความร่วมมือของนักเรียน
  • ๒. การเข้าใจจิตวิทยาทางการเรียนการสอน
  • ๓. การเตรียมความพร้อมด้านเอกสาร
หมายเลขบันทึก: 668669เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2019 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2019 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท