สถาบันครอบครัว


เด็กที่เกิดมานั้นมีชีวิตเป็นของตัวเอง หรือมีชีวิตเป็นของพ่อแม่?


หลายคนอาจจะมีปัญหา หรือว่าเคยมีปัญในวัยเด็กที่ว่า “ทำไมเด็กถึงเถียงผู้ใหญ่ไม่ได้? , เด็กมีสิทธิอะไรที่เท่าเทียมผู้ใหญ่ในบ้านบ้างหรือเปล่า?” และอีกมากมายที่เราตั้งคำถามในวัยเด็กแต่เรากลับไม่ได้คำตอบ ได้คำดุคำด่ากลับมาแทนคำตอบว่า “เธอเป็นเด็กการเถียงผู้ใหญ่นั้นไม่สมควร , เป็นเด็กต้องเคารพผู้ใหญ่ , ต่อให้ผู้ใหญ่ผิดแค่ไหนเราก็ไม่มีสิทธิ์เถียงเขา” ปัญหานี้ไม่มีทางหมดไปหากทุกคนยังปล่อยปละละเลยแล้วคิดเพียงแค่ว่าคุณโตกว่าคุณเป็นผู้ใหญ่คุณจะบงการเด็กยังไงก็ได้ ผมเกริ่นมามากพอแล้ว มาพูดถึงความเป็นมาของปัญหานี้ดีกว่า จากรากฐานของวงจรที่เด็กไม่มีสิทธิ์มีเสียงในสังคมไทยนั้น เป็นเพราะว่ามีการปลูกฝังมาจากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยโบราณกาล สมัยที่มีไพร่ สมัยที่ยังไม่ยกเลิกทาส เพราะเป็นสมัยที่ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ถ้าถามว่าสมัยนี้ยังเป็นอยู่ไหม? ขอตอบว่า “เป็นอยู่แน่นอนครับ” แล้วมันเกิดจากอะไรกันแน่กับเด็กไทยในปัจจุบันที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียงในสังคม มันเริ่มจากที่ไหนเป็นที่แรก แน่นอนครับ คำตอบคือ จากสถานบันครอบครัวครับ ถ้าคุณเรียนสุขศึกษาและสังคมศึกษามาก่อน คุณจะเรียนรู้ได้ว่า สถาบันในประเทศไทยที่สำคัญที่สุดในตัวบุคคลไม่ใช่ศาสนาหรือพระมหากษัตริย์ แต่เป็น “สถานบันครอบครัว” เนื่องจากว่าสถาบันนี้ เราอยู่กับมันตั้งแต่เราเกิด ตั้งแต่ยังไม่ลืมหูลืมตา ตั้งแต่ยังพูดไม่ได้ อยู่กับเราไปจนถึงวันที่เราหมดลมหายใจ เพราะงั้นมันจึงสำคัญอย่างมากกับทุกๆคน พ่อแม่บางคนอาจจะคิดว่าตัวเองดูแลลูกดีแล้ว มีเหตุผลมากพอในการพูดคุยสื่อสารกับลูก แต่ในจุดเล็กๆบางจุดที่คุณมองว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย แล้วคุณไม่ใส่ใจ คุณจะทำให้เด็กคนนั้นหรือลูกของคุณเกิดความสงสัยในความเป็นพ่อแม่ในตัวคุณได้ครับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ผมขอยกเป็นครอบครัวที่มีลูกสองคนขึ้นไป และลูกแต่ละคนมีอายุที่ห่างกันไปไม่มากนัก “แม่กอ มีลูกสองคน คนโตชื่อมะละ อายุ8ปี คนเล็กชื่อมะลิ อายุ6ปี แม่บอกทั้งคู่เสมอมาว่า แม่กอรักลูกทั้งสองคนเท่ากัน ไม่มีเอนเอียง วันหนึ่ง แม่จะพามะลิไปหาหมอแต่มะลิร้องไห้ไม่อยากไป แม่กอจึงปลอบมะลิ ทันใดนั้นแม่กอได้ยินเสียงร้องไห้จากเบาะหลังของรถ มะละร้องไห้อยู่ที่หลังรถ แม่จึงถามว่าเกิดอะไรขึ้น มะละจึงตอบว่า แม่รักน้องมากกว่าหนู” มาถึงตรงนี้แล้วอยากให้ทุกคนลองคิดดูก่อนว่า เหตุผลที่มะละร้องไห้ เกิดจากอะไร ผมให้เวลาคิด แล้วมาดูคำตอบที่ด้านล่างกันครับ...คำตอบคือ “มะละร้องไห้เพราะว่า มะลิร้องไห้งอแงไม่ไปหาหมอ แม่กอโอ๋มะลิเพื่อให้มะลิหยุดร้อง แต่ในขณะที่มะละร้องไห้งอแงไม่ไป แม่กอกลับดุว่ามะละที่งอแงร้องไห้” มาถึงตรงนี้ถ้าคุณคิดว่ามะละโตกว่าต้องคิดได้และมะลิเด็กกว่าต้องปลอบเป็นธรรมดา แสดงว่าคุณไม่ได้ให้ความเท่าเทียมกับคนในครอบครัวมากเพียงพอ เพราะคุณไม่ใส่ใจในจุดเล็กๆของเด็กในครอบครัวของคุณ ปัญหานี้ไม่ได้มากจากเพียงความใส่ใจเท่านั้น การมีเหตุผลก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กไม่ได้รับความเท่าเทียมในครอบครัวเฃ่นกัน ในกรณีของเหตุผลผมไม่สามารถยกตัวอย่างได้เนื่องจากมันเป็นกรณีของส่วนบุคคล เพราะแต่ละบุคคลก็มีเหตุผลที่แตกต่างกันเพียงแต่ สิ่งที่ผมแนะนำให้คุณได้คือ การคุยกันด้วยเหตุผล คุณจำเป็นต้องฟังเหตุและผลจากผู้สนทนาของคุณด้วยไม่ใช่ยึดแค่เหตุผลของคุณฝ่ายเดียว คำแนะนำนี้ไม่เพียงแต่เสนอแนะในการคุยกับคนในครอบครัว แต่คุณควรใช้กับทุกคนที่คุณคุยด้วย เพราะเหตุและผลควรยอมรับซึ่งกันและกัน รวมถึงความกดดันหรือความคาดหวังในตัวเด็ก เราควรที่จะให้เขาเดินทางในสิ่งที่เขาชอบแต่สิ่งที่เขาชอบควรอยู่ในลู่ทางที่ดี ไม่ผิดกฎหมายและทุจริต และมีอีกปัจจัยมากมายที่ในแต่ละครอบครัวประสบพบเจอไม่เหมือนกัน ส่วนต่อไปนี้จะเป็นส่วนที่กล่าวถึงผลกระทบของเด็กที่ไม่สิทธิ์ในครอบครัว อย่างแรกที่เห็นได้ชัดเลยคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัวจะเปลี่ยนไป ความรักกับความเข้าใจมันควรอยู่คู่กัน แต่สำหรับเด็กเหล่านั้น มันไม่เคยอยู่คู่กัน และไม่แปลกที่เด็กเหล่านั้นเมื่อโตขึ้นจะทิ้งพ่อแม่ไป เด็กเหล่านี้อาจจะมีส่วนน้อยแต่มักจะมีคำพูดนี้โผล่ขึ้นมาในหัวของเด็กในทุกๆปีว่า “พ่อแม่ที่ให้กำเนิดลูก คือการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตที่มีชีวิตเป็นของตัวเอง หรือให้กำเนิดชีวิตที่มีพ่อแม่เป็นคนบงการชีวิต” คำตอบของคำถามนี้จะอยู่ที่ทัศนคติของแต่ละคนว่าเลี้ยงดูลูกเพื่อดูแลตัวเองหรือเลี้ยงดูลูกเพราะรักลูกจริงๆ อย่างสองที่สังเกตุได้คือ เด็กที่มีปัญหาและเรียกร้องความสนใจในสังคม ในผลกระทบข้อนี้มีได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบที่มีปัญหากับทางสังคมภายนอก หรือแม่แต่กับตัวเด็กเอง เช่น เด็กไม่มีครอบครัวให้พึ่งพิง จึงต้องไปพึ่งสังคมภายนอกที่ไม่ใช่ครอบครัว และอาจหลงผิด แต่ครอบครัวก็ไม่สามารถเยียวยาได้ เนื่องจากเด็กเหล่านั้นได้ตัดขาดจากครอบครัวไปแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่าเราจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร อย่างแรกที่ควรทำและควรยึดไว้ในใจเสมอนั่นก็คือ เข้าใจเด็กจากใจจริงๆ ในส่วนนี้ทุกคนควรที่จะใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆทุกๆรายละเอียด และเข้าใจเด็กแล้วคอยสนับสนุนเขาให้เขาเติบโตมาในสังคมที่ดีสภาพแวดล้อมที่ดี และไม่เอาความคาดหวังของเราไปให้เด็กเหล่านั้นทำ อย่างที่สองคือ ลดทิฐิลงบ้าง อย่าให้โลกของเด็กหมนุนรอบตัวคุณ แต่คุณต้องหมนุนรอบซึ่งกันและกัน วิธีนี้จะทำให้คุณและเด็กในครอบครัว สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีปรัสิธิภาพ และมีความเข้าใจกันและกันมากยิ่งขึ้น อย่างสุดท้าย พึงคิดเสมอว่า เด็กหรือลูกในครอบครัว มีชีวิตของตัวเอง เราไม่ควรไปก้าวก่ายชีวิตของลูกมากเกินไป ก่อนจะจากกันไป ผมขอฝากอะไรให้คิดนิดนึงว่า หากคุณสามารถดุว่าเด็กยังไงก็ได้ สามารถบังคับเด็กยังไงก็ได้ ไม่ว่าเด็กจะมีเหตุผลแค่ไหนแต่เพียงเพราะคุณโตกว่าคุณเลยใช้อำนาจทำให้เค้าต้องยอมจำนนด้วยความอาวุโสของคุณ แล้วถ้าหากคุณเป็นเด็ก แล้วมีผู้ใหญ่มาดุว่าคุณทั้งๆที่คุณมีเหตุผลรองรับ แต่ผู้ใหญ่เหล่านั้น ไม่เคยที่จะรับฟังเหตุผลของคุณเลย คุณจะชอบหรือเปล่า สุดท้ายนี้ของทิ้งประโยคที่ไว้ให้คิดกันนะครับ“เด็กที่เกิดมานั้นมีชีวิตเป็นของตัวเอง หรือมีชีวิตเป็นของพ่อแม่?”

หมายเลขบันทึก: 668528เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2019 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2019 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท