การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (วันศุกร์/13/ก.ย./2562)


สวัสดี คณาจารย์ และเพื่อนๆ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน ดิฉัน นางสาวนิริยา เชื้อแถว นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชนหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่3 องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง วันนี้จะมารายงานความก้าวหน้าในวันที่สี่สิบหก ของการฝึกประสบการณ์ ในวันศุกร์ ที่ 13 กันยายน 2562 โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

ณ เวลา 06.45ดิฉันและเพื่อนหนึ่งคนได้เดินทางไปยังวัดบางภาษีเพื่อที่จะไปทำบุญในวันพระขึ้น15ค่ำเดือน10 วันพระ สวนดิฉันและเพื่อนไปที่โบสถ์บุญเรือนใหว้พระ

เวลา 07.53 น. เดินทางมายังองค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุงเพื่อดำเนินการฝึกวิชาชีพต่อ ในวันนี้หน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่3 องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง ได้เดินมาทางมาถึงยัง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง ซึ่งดิฉันก็มาถึงก่อนค่ะและเจอพวกพี่ๆก็กล่าวคำทักทายด้วยคำว่า สวัสดีค่ะเพราะว่าต้องมาก่อนเดี๋ยวพวกพี่ๆเรียกใช้งานจะได้มีคนอยู่รับรู้งานที่เค้าสั่งกันค่ะ จะได้มีคนรับรู้หนึ่งคนก็ยังดี ต่อมาก็มากันครบหมดแล้วค่ะ

ก็ได้เวลาไปบ้านแม่นกน้อยศรีนวลมาก ดิฉันก็มีหน้าที่นำทาง พวกพี่ๆกรมพัฒนาที่ดิน ไปยังบ้านแม่นกน้อย พอไปถึงก็ได้จัดเตรียมกาแฟโอวัลตินใว้ค่ะ

พอพวกพี่ๆป้าน้าอามครบ ก็เลยเข้าเรื่องที่จะอบรมเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก วิทยากรก็ได้พูดเกี่ยวกับการผลิตน้ำหมักชีวภาพ หมายถึง ของเลวซึ่งได้จากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ จากพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะสดอวบน้ำหรือมีความชื้นสูง โดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ทั้งในสภาพที่มีอากาศน้อย หรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซินจิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน แต่ถ้าจะให้เร็วกว่านี้ก็ต้องใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 มี5สายพันธุ์ ก็คือ ยีสต์ ผลิตแอลกอฮอล์และกรดอินทรีย์,แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก,แบคทีเรียย่อยสลายโปรตีน,แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน,แบคทีเรียละลายอนินทรีย์ฟอสฟอรัสค่ะต่อมาก็ได้ลงมือทำปุ๋ยหมักชีวภาพที่ทำจากต้นกล้วย

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2

1.หั่นหรือสับวัสดุพืชหรือสัตว์ให้เป็นเล็กๆ
2.ผสมกากน้ำตาลในน้ำถัง10ลิตร
3.นำวัสดุพืชผรือสัตว์ที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วเทลงถัง
4.ในกรณีที่น้ำน้อยเกินไป หรือไม่ท่วมวัสดุหมัก ให้เติมน้ำ
5.ปิดผาไม่ต้องสนิทและตั้งใว้ในที่ร่ม
6.ในระหว่างการหมักนั้นคนหรือกวน1-2ครั้งต่อวัน
7.ในระหว่างการหมักจะมีฝ้าขาวซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์เจริญที่ผิวหน้าของวัสดุหมัก

วันที่สี่สิบหกผ่านไปกับการฝึกประสบการณ์ของหน่วยที่3 ที่ได้มาบันทึกครั้งนี้ ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ใหม่ๆเข้ามาเกิดการแก้ไขปัญหาสิ่งที่เราไม่รู้และสิ่งที่เรารู้เราก็ปรับปรุงในส่วนที่เรายังไม่รู้จากนี้ก็ขอให้ดำเนินการแก้ไขไปได้ด้วยดีและในการบันทึกนี้จะได้รู้ว่าในแต่ละวันเราทำอะไรบ้าง หรือสิ่งที่เราไม่เข้าใจซึ่งกันและกันเป็นความเรียนรู้สิ่งใหม่ที่ผิดไปจะได้รู้ว่าเราผิดตรงใหนและแก้ไขปัญหาหรือช่วยกันค่ะที่ในการบันทึกครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและยังมีความก้าวหน้าที่ดีในการฝึกการบันทึกนี้สิ่งที่ข้าเจ้าทำผิดพลาดไปขอภัยใว้ณที่นี้ด้วยค่ค่ะสุดท้ายนี้ขอขอบคุณคณาจารย์และเพื่อนๆ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน ที่สละเวลาเข้ามาอ่าน เข้ามาเยี่ยมชม แล้วพบกันใหม่ในพรุ่งนี้สวัสดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 668235เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2019 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2019 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท