การบำบัดด้วยกิจกรรมใช้ม้าเป็นสื่อ


ขอบพระคุณท่านนาวาโทสุรศักดิ์และคุณพ่อน้องออทิสติกที่มีความสนใจในการบูรณาการกิจกรรมบำบัดกับอาชาบำบัดและกระตุ้นการเขียนบันทึกของผมในครั้งนี้ครับ

ปัจจุบัน เมื่อสืบค้นศึกษาข้อมูลวิจัยปี 2562 เน้นระบบการพัฒนาบุคคลที่มีความต้องการพัฒนา "ทักษะชีวิต" อย่างเป็นพิเศษจากสหวิชาชีพทางการแพทย์ การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ จากบันทึกที่เกี่ยวข้องที่ผมมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมบำบัดบูรณาการอาชาบำบัด ก็ทำให้พบว่า "มีกระบวนการที่น่าสนใจไม่มากนักสำหรับการช่วยเหลือเด็กออทิสติกด้วยการบำบัดผ่านกิจกรรมใช้ม้าเป็นสื่อ หรือ Equine-assisted Therapy" โดยสังเขป ได้แก่

  1. นักกิจกรรมบำบัดกับนักกายภาพบำบัดทำงานร่วมกับครูที่ผ่านการเป็นผู้ฝึกอาชาบำบัด หรือ Hippotherapy โดยออกแบบโปรแกรมการควบคุมระบบประสาทการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาช่วงความสนใจตื่นตัว การทรงท่าทรงตัว การตระหนักรู้ร่างกาย ความแข็งแรงทนทาน การขยับข้อต่อ สหสัมพันธ์ตามือแขนขา และลำดับการคิดพูดทำ เนื่องจากจังหวะการเดินของม้ากระตุ้นแรงจูงใจให้เกิดการเคลื่อนไหวกระดูกเชิงกรานของคนเราได้อย่างเป็นธรรมชาติ แม้ว่าจะนั่งมีคนจูงม้า นั่งขี่ม้าด้วยตนเอง เดินจูงม้าด้วยตนเอง และทำกิจกรรมใดๆ ร่วมกับม้า ใช้เป็นการบำบัดด้วยกิจกรรมใช้ม้าเป็นสื่อในผู้ที่มีความบกพร่องทางระบบประสาทการเคลื่อนไหวจากภาวะผิดปกติของพันธุกรรม ภาวะสมองพิการ ภาวะลำบากของกระบวนการรับความรู้สึก ภาวะออทิสติกสเปคตรัม ภาวะพัฒนาการล่าช้า ภาวะโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองบาดเจ็บรุนแรง ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้รุนแรงต่อม้าและการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และ/หรือ เคยได้รับบาดเจ็บจากม้า  
  2. แต่เมื่ออ่านอย่างจริงจังถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับเด็กจากบทความวิชาการนี้ ก็พบว่า คุณหมอผู้เชี่ยวชาญพัฒนาการเด็กและ/หรือจิตเวชเด็ก จะส่งปรึกษาบุคลากรทางแพทย์ ได้แก่ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด และนักเวชศาสตร์สื่อความหมาย เพื่อประเมินและฝึกฝนทักษะชีวิตใหม่ (Habilitation) กับทักษะชีวิตที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น (Rehabilitation) และป้องกันทักษะการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมต่อภาวะความบกพร่องทางร่างกายที่ไม่สามารถมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเทียบเท่าเด็กวัยเดียวกัน
  3. นักกายภาพบำบัดจะพัฒนาทักษะการทำงานของร่างกายให้แข็งแรง ทนทาน และมีสมรรถภาพทางการเคลื่อนไหว
  4. นักกิจกรรมบำบัดจะพัฒนาทักษะการรับรู้สึกนึกคิดพูดและใช้งานของร่างกายส่วนบน แขน มือ ตา และอวัยวะบนใบหน้า ให้ปราณีตในการบริโภคอาหาร การแต่งตัว การเข้าห้องน้ำ การทำครัว การซื้อของ การใช้โทรศัพท์ การเข้าเรียน และการเข้าสังคม โดยมีการทำงานร่วมกับนักกายภาพบำบัดในการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายในบริบทชีวิตที่บ้านและชุมชน
  5. นักเวชศาสตร์สื่อความหมายจะพัฒนาทักษะการสื่อสารและการรู้คิดรวมทั้งการใช้อุปกรณ์สื่อความหมายทดแทนการพูด โดยมีการทำงานร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดในการฟื้นฟูสมรรถภาพการกลืนและการทำกิจกรรมกลุ่มสังคมจนถึงการสื่อสารเชิงบวกในบริบทชีวิตที่บ้านและชุมชน
  6. และเมื่อทบทวนงานวิจัยทางกิจกรรมบำบัดที่ทำงานใช้ม้าเป็นสื่อนั้น จากบทความวิชาการนี้ พบว่า การฝึกอาชาบำบัดด้วยโปรแกรมการขี่เพื่อการบำบัด (Therapeutic Riding) มีผลต่อสุขภาพจิตของผู้ขี่ถึง 62% เน้นอารมณ์ตื่นเต้น มีความสุขสบาย รับรู้สึกเป็นกิจกรรมนันทนาการมากกว่ากิจกรรมการบำบัดฟื้นฟู ซึ่งครูผู้ฝึกอาชาบำบัดรับรู้สึกอารมณ์ข้างต้นเพียง 17% เพราะคาดหวังเห็นความก้าวหน้าของการบำบัดฟื้นฟูมากกว่า ทั้งนี้ยังต้องวิจัยเพิ่มเติมถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ต่อไป 
หมายเลขบันทึก: 667683เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2019 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2019 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท