เงินดิจิตอล


"เพราะไม่มีใครอยากไปเข้าแถวต่อคิว เลยได้ถือกำเนิดระบบเงินดิจิตอลขึ้น"

ใช่แล้วครับ เงินดิจิตอล ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องเข้าต่อคิวเป็นหลัก แต่ของจริงมันจะช่วยแก้ปัญหาอะไรได้อีกมาย วันนี้จะพยายามเล่าบางส่วนก่อน เพราะถ้ายาวไปเกรงว่าจะเบื่อหน่ายกันเสียก่อน

เพราะการเข้าแถวต่อคิว มันคือความทรมาน แต่คนรุ่นผมรวมทั้งรุ่น พ่อแม่ผม ผ่านจุดนั้นมาได้อย่างไรก็ไม่ทราบ เด็กรุ่นหลังๆ คงจะได้พบเหตุการณ์แบบนี้น้อยลง เพราะคนรุ่นผมต่างก็ไม่อยากให้ลูกตัวเองได้รับความทรมานไปยืนเข้าแถวต่อคิวยาวและนานแบบรุ่นตัวเองอีกต่อไป เลยมองหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องนี้

ถ้าไม่นับเรื่องเงินดิจิตอลที่อยู่ในบัตรเครดิต

จริงๆ แล้ว เรื่องระบบเงินดิจิตอลคนไทยได้สัมผัสแล้วมาตั้งแต่ยุคระบบโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินแล้ว น่าจะประมาณปี 2545 เพียงแต่ในยุคนั้นเงินที่อยู่ซิมโทรศัพท์(ซึ่งก็คือเงินดิจิตอล)จะถูกใช้เพื่อชำระค่าสัญญาณโทรศัพท์มือเท่านั้นนั้น นำไปชำระหรือใช้จ่ายอย่างอื่นไม่ได้เลย วิธีการเติมเงินเข้าซิมโทรศัพท์ของของยุคนั้นขอแบ่งเป็นสามช่วงตามวิวัฒนาการของมันดังนี้

  • ช่วงแรก ใช้วิธีเติมเงินเข้าซิมโทรศัพท์ด้วย บัตรเติมเงิน
  • ช่วงที่สอง มีการเติมออนไลน์เข้ามาเพิ่มอีกหนึ่งช่องทาง ผมเคยเปิดร้านค้ารับเติมออนไลน์อยู่พักหนึ่ง
  • ช่วงที่สาม เริ่มมีตู้เติมเงินให้บริการ เช่นตู้บุญเติม ซิงเกอร์ และอีกเยอะแยะ

ต่อมามีการพัฒนาให้เอาเงินส่วนนี้(เงินดิจิตอล)ไปชำระอย่างอื่นได้มากขึ้น ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการโทรศัพท์มือถือ เช่น นำไปซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ต เติมเกมส์ออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่า ยังถูกจำกัดอยู่ดี

ต่อมา ธนาคารซึ่งเป็นสถาบันทางการเงินซึ่งรับผิดชอบเรื่องเงินโดยตรง ได้เริ่มพัฒนา อินเตอร์เน็ตแบงคิ้ง แล้วก็ได้รับความสะดวกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้ใช้ชำระอะไรต่างๆ เพิ่มขึ้น ลดเวลา ไม่ต้องไปเข้าแถวต่อคิวอีก แล้วก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

จนกระทั่ง ธนาคารแห่งประทศไทยหรือที่ใครๆ ต่างก็เรียก แบงค์ชาติ ได้เห็นความสำคัญของการจับจ่ายใช้สอยผ่านทางเงินดิจิตอลมากขึ้น เพราะการใช้เงินสดชำระค่าสินค้าและบริการ สร้างปัญหาและค่าใช้จ่ายปีล่ะหลายพันล้านบาทให้กับแบงค์ชาติและกระทรวงการคลัง ในการจัดการเก็บเงินสด ได้แก่ การพิมพ์ธนบัตรและผลิตเหรียญกษาปณ์ต่างๆ ตลอดจนนำไปทำลายเมื่อหมดอายุใช้งาน ซึ่งต้องใช้เงินในการดำเนินเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ในแต่ล่ะปีเป็นเงินจำนวนหลายพันล้านบาท นอกจากนี้ก็ยังมีปัญหาแบงค์ปลอมระบาดให้ปวดหัวอีก

เมื่อแบงค์ชาติกดเครื่องคิดเลข บวก ลบ คูณ หาร แล้วก็สรุปได้ทันทีว่า เงินดิจิตอลจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมาได้ จึงได้ทุ่มแนวคิดเข้ายุคไร้เงินสด ซึ่งก็คือยุคเงินดิจิตอลนี่แหละ โดยผลักดันโครงการพร้อมเพย์(Promptpay) ให้คนไทยใช้ได้ทุกคน ไม่ว่ารวยหรือจน

โดยการผูกบัญชีธนาคาร(ธนาคารไหนก็ได้)เข้ากับอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างสองอย่างนี้คือ เบอร์โทรศัพท์ และ หมายเลขประจำตัวประชาชน (ให้เลือกเอาเอง) สืบเนื่องจากว่า เมื่อก่อนเวลาจะโอนเงินไปยังปลายทางเราต้องทราบข้อมูลสามอย่างจึงจะโอนเงินได้ คือ ชื่อธนาคาร หมายเลขบัญชี แล้วก็จำนวนเงินที่จะโอน แต่เมื่อเราใช้พร้อมเพย์ เรารู้เพียงแค่สองอย่างก็สามารถโอนได้คือ หมายเลขพร้อมเพย์(ถ้าไม่เป็นเบอร์โทรศัพท์ก็เป็นหมายเลขประจำตัวประชาชน) กับ จำนวนเงินที่จะโอน ซึ่งง่ายกว่า เร็วกว่า และที่สำคัญคือ ประหยัด(ค่าธรรมเนียม) และปลอดภัยกว่า

ทิศทางความนิยมการใช้จ่ายพร้อมเพย์จนถึงทุกวันนี้ มีมากขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในไม่ช้าประเทศไทยจะเข้าสู่สภาวะปราศจากเงินสดอย่างแท้จริง (จะเหลือก็เพียงกลุ่มธุรกิจสีเทาเท่านั้นที่ไม่กล้าใช้เงินดิจิตอล) อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าใครไม่อยากให้ตัวเองถูกมองว่าเป็นพวกกลุ่มธุรกิจสีเทา ผมว่า ใช้เถออะครับ เงินดิจิตอล ไม่ต้องมัวลังเล เพราะมันทั้งสะดวก ประหยัด กว่าเยอะเลย จากประสบการณ์ที่ผมใช้ซื้อตั๋วรถไฟฟ้า BTS ทุกเช้าทุกเย็น ไม่ต้องแลกเหรียญหยอดตู้ ไม่ต้องเข้าแถวต่อคิว ผมบอกได้คำเดียวว่า "ฉิวเลยครับ" คนอื่นที่มาถึงสถานีพร้อมกันต่อคิวยาวเป็นหางว่าว ส่วนผมสแกนคิวอาร์โค้ด(พร้อมเพย์)ไม่ถึงนาที ไปขึ้นรถเลย

หมายเลขบันทึก: 667470เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2019 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2019 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท