Best Practice เทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


๑.ความเป็นมาจากการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีการพบกลุ่ม โดยครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน กลุ่ม ๕๑๑๐ ได้จัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ที่ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองบัวบาน หมู่ที่ ๑๑ กศน.ตำบลหนองบัวบาน แต่ด้วยบริบทของนักศึกษาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้างทั่วไป มีภาระรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัว ต้องออกไปทำงานเพื่อยังชีพ หากหยุดทำงานก็จะขาดรายได้ นักศึกษาบางคนที่ต้องดูแลผู้ปกครองที่ป่วยติดบ้านติดเตียง ทำหน้าที่ดูแลช่วยเหลือที่บ้าน และมีนักศึกษาพิการขาไม่สะดวกในการไปพบกลุ่ม จึงทำให้นักศึกษาไปพบกลุ่มน้อย ดังนั้นเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพยิ่งขึ้นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอจัตุรัส ได้ให้ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ดำเนินการใช้เทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การประสานผู้นำชุมชนช่วยประชาสัมพันธ์ การติดตามนักศึกษาและเยี่ยมบ้านเพื่อพบกลุ่มย่อย ผู้ปกครองเป็นที่ปรึกษา ใช้เทคโนลียีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์สร้างสื่อ เผยแพร่กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นความสนใจ และตระหนักถึงการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม Fanpage facebooke กศน.ตำบลหนองบัวบาน ช่วยให้นักศึกษาทราบข่าวล่วงหน้า ทันท่วงที มีเวลาเตรียมตัว ในกรณีที่ออกไปทำงานต่างถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักให้นักศึกษามาพบกลุ่มมากขึ้น และมีส่วนร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้มีการเข้าสอบของนักศึกษามากขึ้น

๒.วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย๑.เพื่อสร้างแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการพบกลุ่ม ให้กับนักศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนนี้ให้มากขึ้น๒.เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้กับนักศึกษาที่ไม่สามารถร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และการพบกลุ่ม๓. เพื่อเพิ่มมาตรการการเข้าสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐มีความตระหนักการมีส่วนร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม๓.ขั้นตอนการดำเนินการเทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการพบกลุ่ม ซึ่งข้าพเจ้าร่วมกับคณะครู กศน.ตำบลหนองบัวบานได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ที่ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองบัวบาน หมู่ทื่ ๑๑ วิธีการพบกลุ่ม และติดตามเยี่ยมบ้านนักศึกษา พบกลุ่มย่อยที่บ้านในกรณีที่นักศึกษาไม่มาพบกลุ่ม โดยความร่วมมือกับผู้ปกครอง เครือข่ายและชุมชน เริ่มจากการวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย และสำรวจความต้องการของนักศึกษา เพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคลให้กับนักศึกษา ที่จะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาได้ ตามวิธีการดังนี้ ๓.๑ วิธีการประชาสัมพันธ์ และรับสมัครนักศึกษา (Plan) ๓.๑.๑ การรับสมัครนักศึกษา - ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ได้มีการประชาสัมพันธ์ ลงพื้นที่เพื่อแนะแนว และการรับสมัครนักศึกษาใหม่ ในหมู่บ้าน ตำบลหนองบัวบาน ใช้สถานที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยจัดทำแผ่นพับ - จัดทำหนังสือการรับสมัครนักศึกษาให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง ๑๒ หมู่บ้านในตำบลประชาสัมพันธ์หอกระจายข่าว เสียงตามสาย วิทยุชุมชนตำบลหนองบัวบาน หนังสือแจ้งรายบุคคล - กศน.ใช้Socail Network ในการประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษา - จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ - สำรวจประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา ตำบลหนองบัวบาน ทุกหมู่บ้านเพื่อให้เข้าสู่ระบบการศึกษา - การลงพื้นที่รับสมัครนักศึกษาใหม่ด้วยตนเองที่บ้าน ให้นักศึกษาเขียนใบสมัครและรับรองสำเนาเอกสาร กรอกเอกสารวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลสำหรับนักศึกษาใหม่แต่ละภาคเรียน ครูทราบความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคลให้กับผู้เรียน และจัดกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องตามกลุ่มความต้องการของผู้เรียนนั้น- ครูลงทะเบียนนักศึกษาใหม่และเก่า ครูวิเคราะห์ผู้เรียน และสำรวจความต้องการของนักศึกษา เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคลให้กับนักศึกษา ให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน และแจ้งให้นักศึกษาทราบ๓.๑.๒ การจัดกระบวนการเรียนรู้- แจ้งนักศึกษาที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ ๑ /๒๕๖๒ ทั้งนักศึกษาเก่าและนักศึกษาใหม่ให้ทราบและเข้าร่วมกิจกรรมโครงการปฐมนิเทศนักศึกษา - จัดกระบวนการเรียนรู้แบบพบกลุ่ม นักศึกษากลุ่ม ๕๑๑๐ ที่ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองบัวบานหมู่ ๑๑ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทุกวันพุธ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. - แจ้งนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน แต่ละกิจกรรมที่ กศน.อำเภอจัตุรัสได้จัดให้กับนักศึกษา ๓.๑.๓ ด้านการวัดผลประเมินผล- การวัดผลประเมินรายวิชาระหว่างภาคเรียน ๖๐ คะแนน และปลายภาคเรียน ๔๐ คะแนนผู้เรียนต้องเข้าสอบปลายภาคเรียน และมีคะแนนสอบปลายภาคเรียนรวมกับคะแนนระหว่างภาคเรียนจึงจะผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ การทำแบบฝึกหัด ได้แก่ แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนในสื่อการเรียนรู้รายวิชาต่างๆ หรือเป็นแบบฝึกหัดที่ช่วยเสริมให้เกิดทักษะการเรียนรู้ และเข้าใจในบทเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละบทเรียน - การประเมินคุณธรรม ประเมิน ต่อเนื่องตลอดภาคเรียน โดยประเมินจากผลงาน เน้นพฤติกรรมบ่งชี้ คุณธรรมทั้ง ๙ ได้แก่ ความสะอาด สุภาพ กตัญญูกตเวที ความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีน้ำใจ มีวินัย โดยต้องผ่านระดับพอใช้ขึ้นไป- การประเมินกิจกรรม กพช.ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ชั่วโมงโดยมีขอบข่ายเนื้อหาทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ - การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติผู้ เรียนเข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ ในภาคเรียนสุดท้ายของการจบหลักสูตร และดำเนินการก่อนสอบปลายภาคของภาคเรียนนั้นๆ โดยไม่มีผลต่อการสอบได้ หรือ สอบตกของผู้เรียน - การเข้าสอบปลายภาคเรียนผู้เรียนต้องเข้าสอบปลายภาคเรียน และมีคะแนนสอบปลายภาคเรียนรวมกับคะแนนระหว่างภาคเรียนถึงจะผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ๓.๒ วิธีการจัดการเรียนรู้ ( Do ) - ประชาสัมพันธ์แจ้งนักศึกษาที่ลงทะเบียนในภาคเรียน ที่ ๑/๒๕๖๒ ทั้งนักศึกษาเก่า และนักศึกษาใหม่ ให้นักศึกษาทราบและเข้าร่วมกิจกรรมโครงการปฐมนิเทศนักศึกษา มีคู่มือนักศึกษาให้ทราบโครงสร้างหลักสูตรการเรียนแบบ กศน. ครูแจ้งวันเวลาและสถานที่พบกลุ่มของนักศึกษา และรับใบงานของนักศึกษาที่ลงทะเบียนตามรายวิชาของแต่ละคน แนะนำการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน การเข้าสอบเรียนในแต่ละระดับ - เมื่อปฐมนิเทศนักศึกษาเรียบร้อยแล้ว ครูจะทำการประเมินรู้ระดับการรู้หนังสือ สำหรับนักศึกษาใหม่ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๒ และตรวจสุขกายสุขภาพจิตของนักศึกษาทุกคน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพร่างกาย จิตใจ ของนักศึกษา เวลาการจัดกิจกรรมให้นักศึกษา - จัดกระบวนการเรียนรู้แบบพบกลุ่ม นักศึกษากลุ่ม ๕๑๑๐ ที่ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองบัวบานหมู่ ๑๑ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทุกวันพุธ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. แม้นักศึกษาจะมากหรือน้อย แต่ครูก็ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้แบบพบกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ทำสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นมาตรฐานของครู และเพื่อให้นักศึกษามีความตระหนักในหน้าที่ของตนเอง- กรณีที่ กศน.ตำบลหนองบัวบาน จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูจะแจ้งนักศึกษาทราบทางโทรศัพท์ ทางกลุ่มLine / Chat Massage หัวใจสำคัญคือ Fanpage facebooke กศน.ตำบล และ Fanpage facebooke กลุ่มนักศึกษากศน.ตำบลหนองบัวบาน ช่วยให้นักศึกษาทราบข่าวล่วงหน้า ทันท่วงที มีเวลาเตรียมตัว ในกรณีที่ออกไปทำงานต่างถิ่น และแจ้งผู้ปกครองให้ทราบเพื่อช่วยเตือนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ที่คณะครูได้จัดให้กับนักศึกษาแต่ละภาคเรียนนั้นๆ- รายงานกิจกรรมการพบกลุ่ม และการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่าน Line ผ่าน Fanpage facebooke กศน.ตำบล และ เฟส กศน.อำเภอจัตุรัส เป็นการเผยแพร่ข่าวสารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้นักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทราบข่าว และติดต่อ ปรึกษาเพื่อนๆที่มาร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ- หลังจากที่สำนักงาน กศน. แจ้งตารางการสอบปลายภาค ครูจะแจ้งกำหนดการสอบ วัน เวลาสถานที่สอบ ให้นักศึกษาได้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๒ เดือน เพื่อให้นักศึกษาเตรียมลางานมาสอบ
กรณีนักศึกษาที่คาดว่าจะจบในภาคเรียนนี้ ที่ต้องเข้ารับการทดสอบทางการศึกษานอกระบบระดับชาติ(N – NET) ครูจะต้องแจ้งนักศึกษาให้ทราบล่วงหน้าตั้งแต่ลงทะเบียนเรียน เพื่อให้นักศึกษาเตรียมตัวในการเข้าสอบ และทำกิจกรรม กพช.ให้ครบ ๒๐๐ ชั่วโมง ในภาคเรียนที่นักศึกษาจะจบ- การส่งใบงาน หลังจากการสอบ N- NET เรียบร้อยแล้ว โดยครูกำหนดวันส่งใบงานให้กับนักศึกษาตั้งแต่วันปฐมนิเทศ โดยให้ส่งให้ทันเวลาเพื่อครูจะได้ให้คะแนนการทำแบบฝึกหัดใบงานเป็นคะแนนเก็บและวิเคราะห์ผู้เรียนแต่ละคนว่าผู้เรียนมีอุปสรรคอะไรในการเรียนของนักศึกษาแต่ละคน
- การประเมินระดับการรู้หนังสือของผู้ที่คาดว่าจะจบ โดยครูนัดนักศึกษาเข้ารับการประเมินก่อนสอบปลายภาคเรียน ๑ เดือน เพื่อประเมินการอ่านออกและการเขียนได้ของนักศึกษา เป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงาน กศน.กำหนดหรือไม่- ส่งตารางสอบปลายภาคเรียนนักศึกษารายบุคคล เพื่อให้นักศึกษาเข้าสอบ ตามกำหนดวัน เวลา สถานที่ และรายละเอียดของระเบียบการเข้าสอบ - กิจกรรมการติวเข้มเติมเต็มความรู้ก่อนสอบปลายภาคเรียน โดยนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทุกระดับ เพื่อเพิ่มความรู้ และนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นมีการนำแผนการดำเนินงานไปสู่การปฏิบัติ การดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีพบกลุ่มทุกกระดับชั้น ตามวันเวลาสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง ยึดหลักการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยคณะครู เป็นผู้ขับเคลื่อน เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำนักศึกษาร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านต่างๆที่ กศน.อำเภอจัตุรัสได้จัดขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงให้กับนักศึกษา ให้มีความใผ่รู้ ใฝ่เรียน ตระหนักในหน้าที่ของตน และเตรียมพร้อมที่จะเข้าสอบปลายภาคเรียน

๓.๓ วิธีการติดตามนักศึกษาโดย”เยี่ยมยามถามข่าว” (Check) การติดตาม เยี่ยมบ้านเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการพบกลุ่มของนักศึกษา ว่านักศึกษามีความรู้มากน้อยเพียงใดจากการเรียนรู้ และมีปัญหาด้านใดบ้าง ซึ่งผู้ปกครองคือที่ปรึกษาของทั้งครูและผู้เรียน เพื่อช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้เรียนเกิดความตระหนัก มีความกระตือรือร้นใฝ่เรียนรู้ - ครูติดตามเยี่ยมบ้านนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ๘๗ คน คือเยี่ยมยามถามข่าวเรื่อยๆโดยเริ่มตั้งแต่ลงทะเบียนเรียนให้นักศึกษา มีเทคนิคคือไป”เยี่ยมยามถามข่าว” ทั้งก่อนคลอดหรือหลังคลอด การเจ็บไข้ได้ป่วย ทำเสมือนว่าครูและนักศึกษาคือญาติกัน ช่วยเหลืองานบุญประเพณีในหมู่บ้านชุมชน การประชุม หรือการรวมกลุ่มของ อสม. แม่บ้าน โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีช่วงวัย ๑๕- ๒๑ ปี จำนวน ๖๔ คนต้องให้ความสนิทสนมโดยใช้จิตวิทยาเป็นพิเศษ นักศึกษาที่มีช่วงวัย ๒๒ -๕๙ ปี จำนวน ๒๓ คน มีนักศึกษาพบกลุ่มและเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จำนวน ๖๓ คน ไปงานต่างจังหวัด จะรับใบงานไปทำและติดต่อทางโทรศัพท์ และSocail ทาง Chat / Line จำนวน ๒๔ คน ครูให้คำแนะนำการเรียนรู้ที่เหมาะสม การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ ต่างๆ มีใบงานให้ทำและส่งตามนัดหมาย เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตลอดเวลา แจ้งวันเวลาเข้าสอบให้กับนักศึกษาให้มาเข้าสอบปลายภาคตามวันเวลาที่กำหนด
- ครูพบกลุ่มย่อย ที่บ้าน ที่ทำงาน ของนักศึกษา ในกรณีที่ทำงานประจำ ในช่วงเวลาที่นักศึกษาสะดวก เพื่อสร้างแรงจูงให้นักศึกษา เกิดความตระหนักในหน้าที่ของตนเอง มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และกระตือรือร้นที่จะต้องเข้าสอบในปลายภาคเรียนนั้น - ครูจัดตั้ง กลุ่มLine / Chat Massage หัวใจสำคัญคือ Fanpage facebooke กศน.ตำบล และ Fanpage facebooke กลุ่มนักศึกษากศน.ตำบลหนองบัวบาน ช่วยให้นักศึกษาทราบข่าวล่วงหน้า ทันท่วงที มีเวลาเตรียมตัวทัน ในกรณีผู้ที่ทำงานต่างถิ่น และนักศึกษาทราบกำหนดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านต่างๆ

  • การมีส่วนร่วมในชุมชน ครูนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านร่วมกับหน่วยงานองค์กรต่างๆ ร่วมงานบุญพิธี ประเพณีในชุมชน เพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมได้ดีขึ้น

๓.๔ การมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการสร้างแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Action )- วางแผนการดำเนินงาน การติดตามการสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ การพบกลุ่ม และเพิ่มจำนวนผู้เข้าสอบปลายภาค โดยคณะครูร่วมวางแผนการทำงาน และปฏิบัติตามแผนร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยการเข้าร่วมประชุมผู้กับนำชุมชนตำบลหนองบัวบาน ทุกหมู่บ้าน และสำรวจผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษา เพื่อให้ไดรับการศึกษาอย่างทั่วถึง วิเคราะห์ สภาพปัญหา วางแผนหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกันเมื่อเกิดปัญหาและอุปสรรคในการมาพบกลุ่ม และร่วมกิจกรรมของผู้เรียน จนบรรลุตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนการยกย่องเชิดชู สร้างขวัญและให้กำลังใจกับนักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร

กระบวนการการสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าสอบปลายภาค

๑. การวางแผนการสร้างแรงจูงใจและติดตามนักศึกษาให้เข้าสอบ
การประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาโดยผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน ทำแผนการลงพื้นที่รับสมัคร มีแผ่นพับแนะนำและรับสมัครที่บ้าน  วิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อให้ครูได้รู้สภาพปัญหาของผู้เรียนและความต้องการในการจัดการเรียนรู้

ดำเนินงานต่อเนื่องจากการวางแผน โดยการจัดโครงการปฐมนิเทศ และชี้แจงวันพบกลุ่ม 

 ดำเนินการนิเทศ แนะนำ กำกับ ติดตาม เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนที่กำหนด 

๔.ผลการดำเนินงานและประโยชน์ที่ได้รับเทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการพบกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องมา ตั้งแต่เปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ซึ่งข้าพเจ้าได้ร่วมกับคณะครู กศน.ตำบลหนองบัวบาน อำเภอจัตุรัส ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม โดยครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน เป็นผู้ขับเคลื่อน ณ ศูนย์การเรียนชุมชมบ้านหนองบัวบาน หมู่ที่ ๑๑ โดยจัดทำแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้รายสัปดาห์ปฎิทินการพบกลุ่ม แจ้งให้นักศึกษารับทราบโดยทั่วกัน โดยความร่วมมือกับผู้ปกครอง เครือข่ายและชุมชน เริ่มจากการวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย และสำรวจความต้องการของนักศึกษา เพื่อจัดทำแผนการเรียนรู้รายบุคคลให้กับนักศึกษา จากการติดตาม เยี่ยมบ้าน การพบกลุ่ม ส่งผลในการมีส่วนร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในชุมชน เช่น การร่วมพัฒนารักษาสิ่งแวดล้อมกับองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วัด โรงเรียน และผู้นำชุมชน ในการจัดทำเวทีประชาคม เพื่อวางแผนดำเนินการ การศึกษาด้านอาชีพ และปัญหาเร่งด่วน ที่จะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาได้ถูกวิธี ส่งผลให้การดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพดี ดังนั้นการใช้เทคโนลียีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์สร้างสื่อ เผยแพร่กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นความสนใจ และตระหนักถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้วยกลุ่มLine การสร้างกลุ่ม Chat Massage หัวใจสำคัญคือ Fanpage facebooke กศน.ตำบล และ Fanpage facebooke กลุ่มนักศึกษากศน.ตำบลหนองบัวบาน ช่วยให้นักศึกษาทราบข่าวล่วงหน้า ทันท่วงที มีเวลาเตรียมตัว ในกรณีที่ออกไปทำงานต่างถิ่น สามารถสร้างความตระหนักในกิจกรรมการเรียนรู้ การพบกลุ่ม ส่งผลให้มีการเข้าสอบของนักศึกษามากขึ้น๕.ปัจจัยความสำเร็จ ๕.๑ สถานศึกษามีการเอื้ออำนวยให้การสนับสนุน ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเต็มศักยภาพ
๕.๒ คณะครู กศน.ตำบล ครูอาสาสมัคร ที่ออกติดตามนิเทศและแนะนำการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ๕.๓ ครูเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ รู้จักนำจิตวิทยามาใช้ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความเสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน - การจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ - พบกลุ่มย่อยที่ บ้าน ที่ทำงานของนักศึกษา- การติดตาม เยี่ยมบ้านนักศึกษา ในแบบ”เยี่ยมยาม ถามข่าว”เพื่อสร้างความสนิทคุ้นเคย ๕.๔ นักศึกษาตระหนัก และมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้รับ - นักศึกษามีความตระหนักใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้จักค้นคว้าความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆเพื่อทำใบงาน ๕.๕ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและสนับสนุนจากการติดตามเยี่ยมบ้าน เป็นที่ปรึกษาที่ดีร่วมกัน ๕.๕ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ให้การสนับสนุนในการทำงาน และสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในการดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างดี

๖.ประโยชน์ที่ได้รับ เทคนิคการสร้างแรงจูงใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการพบกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ต้องทำต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานที่ดีของครูผู้สอน การให้ความร่วมมือที่ดีกับคณะครู กศน.ตำบลหนองบัวบาน อำเภอจัตุรัส ในการดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ณ ศูนย์การเรียนชุมชมบ้านหนองบัวบาน หมู่ที่ ๑๑ ซึ่งจัดทำแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้รายสัปดาห์ ปฎิทินการพบกลุ่ม ให้นักศึกษาช่วยให้สามารถรู้รายวิชาที่จะเรียน โดยมีการนิเทศติดตามผลจากครูอาสาสมัคร จะเห็นได้ว่าการสร้างแรงจูงใจที่ดีให้กับนักศึกษา จากการติดตาม เยี่ยมบ้าน การพบกลุ่มที่บ้าน สร้างความคุ้นเคยอันดี รับทราบปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและชุมชน ใช้เทคโนลียีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์สร้างสื่อ เผยแพร่กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นความสนใจ และตระหนักถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ด้วยกลุ่มLine การสร้างกลุ่ม Chat Massage Fanpage facebooke กศน.ตำบล ส่งผลให้การดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพดี เพื่อเพิ่มมาตรการในการเข้าสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนของนักศึกษาให้มากขึ้น และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

๗.การเผยแพร่ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการพบกลุ่ม เผยแพร่ทาง ๗.๑ เว็บไซต์ หรือ Fanpage กศน.ตำบล Website ww.facebook.com/nfenongbuabanFanpage://:https://www.facebook.com/nfenongbuaban ๗.๒ เผยแพร่ ทางเพจ facebook กศน.อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

หมายเลขบันทึก: 666635เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2019 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2019 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท