เรียนรู้จากนิทานลาว เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


เรื่องจากจากสนาม ที่ สปป.ลาว

เมื่อเข้าไปเก็บข้อมูลเรื่องผ้าไหมมัดหมี่ที่ลาว เห็นสาวลาวขยันขันแข็งมากใช้เวลาอยู่กับกี่ทอผ้าอย่างอดทน ถึงจะเหนื่อยบ้างแต่เธอก็บอกว่ามีความสุขมากกว่างานรับใช้ในเมืองหรืองานตามร้านอาหาร

เรื่องการทำงานของสาวลาวนี้ก็แบ่งออกไปทั้งสองส่วน ทั้งงานที่เน้นทำงานที่บ้านอย่างมีความสุขตามแบบเดิม ๆ และงานตามร้านอาหารที่เชื่อว่าได้เงินมากกว่า

สาวลาวถนัดกับงานทอผ้ามาก เนื่องจากต้องใจเย็นและออกจะถูกจริตกับนิสัยคนลาวและถูกนิสัยผู้หญิงดีกว่าเพศชาย เรื่องเพศชายทอผ้าไหมนี้ออตจะเล่าให้ฟังจากประสบการณ์ในบันทึกหน้านะครับ

การทอผ้าของแม่หญิงลาวนั้นอาศัยเรียนจากครอบครัวเป็นหลักคือมีการส่งต่อความรู้จากแม่หญิงอีกรุ่นสู่รุ่น การเรียนการสอนก็เป็ฯไปตามธรรมชาติของสังคมคือ เรียนรู้จากการปฏิบัติ แม่หญิงรุ่นแม่จะมอบหมายงานให้ทำจากง่ายไปหายาก จากช่วยงานกลายเป็นเจ้าของกี่เอง

ส่วนครอบครัวไหนที่ไม่เก่งเรื่องทอผ้าแต่ปรารถนาจะให้ลูกสาวทอผ้าเป็นมักจะให้ไปช่วยงานแม่ครูที่เก่งโดยให้เขาสอนให้เพื่อแลกกับวิชาความรู้ที่จะติดตัวไปนาน

การเรียนการสอนวิธีหนึ่งที่จะให้แม่หญิงลาวเข้าใจและมีสำนึกในการเรียนนั้นแสดงออกผ่าน นิทาน  แม่เฒ่าจะเล่านิทานที่เป้นเรื่องเกี่ยวกับบบทบาทสตรีและผ้าไหม ผ้าทอให้แก่ลูกหลานผู้หญิงฟัง เช่นนิทานที่ออตเก็บมาเล่าต่อเรื่องนี้

นิทานเรื่อง นางหล้า นางลุนหรือ อีปุ อีพัน ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า

 

          มีแม่หญิงลาวสองพี่น้องที่เป็นกำพร้า ไม่มีคนบอกคนสอนในการทอผ้าทอไหม ผู้เป็นน้องต้องการทอผ้าทอไหมเป็นจึงกางกี่ทอผ้าไว้ข้างทาง  คนเดินผ่านไปมาเมื่อมาดูน้อง คนที่ผ่านไปมาก็บอกก็สอนวิธีการทอผ้าทอไหมให้ น้องสาวขยันขันแข็งและจดจำคำที่ผู้คนสอนไว้ต่อมาไม่นานก็กลายเป็นช่างทอที่เก่งและเป็นที่ลำลือของผู้คนทั่วไปทั้งเมืองจนมีชายหนุ่มที่เป็นพ่อค้ามาชอบและได้ขอนางแต่งงาน

         

           ส่วนพี่สาวเป็นคนเกียจคร้าน นางไปกางกี่อยู่ของข้างเล้าไก่ไม่มีคนบอกไม่มีคนสอน ไก่ที่อยู่ใกล้ก็มาเขียหูก ทำให้นางทอผ้าไม่เสร็จ จนเครือหูกขาดสุดท้ายนางก็ต่ำหูกไม่เป็นผ้า ต่ำผ้าไม่เป็นผืนนานไปก็ไม่มีผ้านุ่งผ้าถือ

เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการแลกเปลี่ยนความรู้นะครับ เอาประสบการณ์และความรู้ของคนอื่นมาใช้ในงานของตน  แล้วจะทอผ้าเก่งเหมือนนางลุน

หมายเลขบันทึก: 66642เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2006 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณอาจารย์ออต...

  • หัวข้อเรื่องนี้อาจจะพาดพิงไปว่า "เจริญ" หรือ "ไม่เจริญ"... อาจกระทบความมิตรภาพไทย-ลาวได้ 

ขอเรียนเสนอให้ลองเปลี่ยนชื่อบันทึก เช่น เปลี่ยนเป็นชุดบันทึก "เรียนรู้จากนิทานลาว" , "รู้จักลาว" , "ข้อคิดจากนักปราชญ์ลาว" , "คำสอนครูลาว" อะไรทำนองนี้ >

  • ถ้าทำเป็นชุดบันทึก (series) ได้จะมีคุณค่าสูงต่อการศึกษาค้นคว้าต่อไปมาก
  • นี่เป็นมิติใหม่ที่อาจารย์เปิดเป็นครั้งแรก > "ลาวศึกษา" (เรียนเสนอให้ติดป้าย "ลาวศึกษา" ไว้ด้วย)

เรียนเสนอให้ลองดูตัวอย่างวิธีตั้งชื่อเรื่องจากศูนย์พม่าศึกษา มน. >

  • อาจารย์ท่านจะให้เกียรติชาวพม่าอย่างมาก ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีมาก ชมตัวอย่างได้ที่นี่...(www.myanmar.nu.ac.th)
  • ขอบพระคุณอาจารย์หมอมากครับ ได้เปลี่ยนตามคำแนะนำของอาจารย์แล้ว
  • เมื่อพิจารณาแล้วอ่อนไหวพอสมควรครับ
  • จะเข้าไปอ่าน ศึกษาตามที่อาจารย์หมอแนะนำ

ขอขอบคุณอาจารย์ออต...

  • ขอกล่าวอนุโมทนาในกุศลเจตนาของอาจารย์... สาธุ สาธุ สาธุ
  • บันทึกของอาจารย์เรื่องลาวศึกษานี่เป็นมิติใหม่ที่จะทำให้มิตรภาพไทย-ลาวดีขึ้น

ต่อไปคนลาว คนไทยจะได้รู้จักกัน ชื่นชมกันเหมือนน้ำเข้ากันได้กับน้ำนม (สำนวนบาลี)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท