@chokdeemeechai
วิชาชีวิตเพื่อความมั่นคงทางจิตใจ โชคชัย คงบวรเกียรติ

Territorialityพื้นที่อาณาเขต ที่ครอบครองถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ


Territorialityพื้นที่อาณาเขต ที่ครอบครองถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ

        ยึดถือครองสิทธิชั่วคราว ในพื้นที่สาธารณะหรือใช้สถาที่ราชการ เช่น เก้าอี้ ที่นั่งรอในสถานที่ราชการ หรือ ล็อบบี้โรมแรม หรือในห้องต้อนรับแขกของบริษัทเอกชน เก้าอี้ โซฟา เราสามารถใช้สิทธิในการมาก่อน เพื่อนั่งถือครองที่ว่างเป็นของตนชั่วคราว เมื่อเราต้องลุกไปทำธุระอื่น ๆ แล้ว ก็ไม่สามารถจะจองครองสิทธิในพื้นที่ว่างที่เป็นของสาธารณะได้อีก (ถ้ามีการนำสิ่งของว่างไว้เพื่อกันไม่ให้ผู้อื่นมานั่งก็เป็นการครองสิทธิแค่ชั่วคราวเท่านั้น) ในเวลาอื่นที่เราลุกจากไป เสร็จสิ้นธุระที่สถานที่นี้แล้ว มีคนมานั่งแทนที่ เราก็ไม่สามารถทวงสิทธิในการถือครองหรือจองว่าเป็นที่ของตนไม่ได้ เพราะเป็นพื้นที่สาธารณะ ทุกคนที่มาติดต่องานสามารถที่จะนั่ง และใช้งานได้ ก็ต้องมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกรงใจซึ่งกันและกัน

                ยึดถือครองสิทธิกึ่งถาวร จนกว่าจะ ใช้บริการเสร็จ เช่น โต๊ะที่นั่งรับประทานอาหาร, เก้าอี้ดูหนังในโรงละครภาพยนตร์ เมื่อใช้บริการเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อทานอาหารเสร็จ ดูหนังจบ ก็หมดสภาพความเป็นเจ้าของในสถานที่นั้นแล้ว พื้นที่ส่วนนิติบุคคลเอกชน แต่ละสถานที่มีกฏข้อห้าม ถ้าฝ่าฝืนกระทำถูกปรับเงิน หรือเชิญให้ออกนอกสถานที่ของเจ้าของได้ และคำเตือนให้ระวังเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ หากฝ่าฝืนไม่กระทำตามอาจมีผลเสียต่อร่างกายและทรัพย์สินของท่านผู้ใช้บริการเองและผู้อื่นได้รับความเสียหายเดือดร้อนได้ ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ไม่ควรกระทำ

            หรือ หมดสถานะ พ้นสถาพการเป็นเจ้าของ ในสถานที่นั้น เช่น โต๊ะทำงานส่วนตัว ห้องทำงานส่วนตัวในที่ทำงาน คุณมีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของตราบที่คุณยังทำงานในบริษัทนี้อยู่ แต่เมื่อลาออกจากงาน พ้นสภาพการเป็นพนักงานในบริษัทไปแล้ว ก็ไม่มีสิทธิถือครอง ถือว่าพ้นสภาพไปแล้ว

                มีสิทธิถือครองสิทธิอย่างชอบธรรมในความเป็นเจ้าของตามกฏหมาย บ้านและที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ สิ่งที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ห้ามเข้ามาในอาณาเขตพื้นที่ไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาติ ห้ามรุกล้ำเข้ามาในอาณาเขตและไม่สามารถกระทำการใด ที่ก่อให้เกิดความเสียหายในทรัพย์สินที่เราถือครองได้ ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่ก่อขึ้นด้วย ซึ่งเป็นไปตามกฏหมาย

            ห้องส่วนตัว ในกรณีที่เป็นห้องส่วนตัวของผู้อื่นภายในบ้าน เช่น ห้องของพี่, ห้องนอนของพ่อแม่ เป็นต้น เราไม่สามารถที่จะเข้าไปในห้องของคนอื่นได้ ถ้าหากไม่ได้ขออนุญาติจากเจ้าของก่อน แต่พ่อแม่อาจมีสิทธิเข้ามาห้องนอนของลูกได้ ในกรณีเข้ามาทำความสะอาดห้องให้แล้วแต่ละกรณีไป หรือมีการบอกกล่าวขอเข้าไปทำความสะอาดให้ก่อนล่วงหน้าแล้ว

                สังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้ เช่น ยานพาหนะ รถยนต์, รถจักรยาน, และรถจักรยานยนต์ หรือ ของใช้ส่วนตัว เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, เครื่องประดับ, โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์ เป็นต้น คนอื่นจะมาถือครองไม่ได้ หรือนอกจากจะได้รับอนุญาติแล้ว เจ้าของยินยอม ให้ใช้ ให้ยืมด้วยความเต็มใจ เป็นการครั้งเป็นคราวไปเท่านั้น ผู้อื่นไม่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของครอบครองได้

                พื้นที่และของที่ใช้ร่วมกันในครอบครัวเครื่องใช้อำนวนความสะดวก ของใช้ภายในบ้านที่ใช้ได้ร่วมกันสำหรับคนในครอบครัว เสมือนของส่วนกลาง คนในบ้านสามารถจะนำไปใช้งานได้ เช่น พื้นที่ส่วนกลาง: ห้องนั่งเล่น, ห้องกินข้าว, ห้องครัว, ห้องน้ำ,ของใช้ที่ใช้ร่วมกันได้: เครื่องอำนวยความสะดวก, เครื่องครัว, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์ทำความสะอาด เป็นต้น   

  • - การวางของที่เป็นของตนในพื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านของคนในครอบครัวบางครั้งคนในบ้านก็ใช้สิทธิในการวางสิ่งของอย่างเห็นแก่ตัว โดยไม่คำนึงถึงจะไปขัดขวางทำให้คนอื่นไม่สะดวกในการใช้งานในพื้นที่นั้นที่เป็นส่วนรวมใช้ร่วมกัน ถ้าไม่เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้อาจจะก่อความไม่ปลอดภัยหรือเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ  ก็อย่าเอาเรื่องเล็กมาใส่ใจให้หงุดหงิดรำคาญใจหนักสมองเลย ปล่อยวาง ปล่อยไปเถอะเรื่องเล็ก ๆ ก็แค่ปรับตัว ยอมบ้างในบางเรื่องที่เล็กน้อย จะเอามาโต้เถียงทะเลาะกันในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไม่มีประโยชน์ที่จะไปพูดถึง ทำใจยอมรับในความแตกต่างทางความคิดนิสัยใจคอของแต่ละคน และเคารพในสิทธิที่มีอยู่ร่วมกันของคนในครอบครัว ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่รักคนในครอบครัว แล้วจะให้ไปรักคนที่ไหนกันล่ะ ทำดีกับคนใกล้ตัวคนในครอบครัวไม่ได้ จะมีใครเขาจะรักคุณได้สนิทใจล่ะ ถ้าคุณเป็นคนไม่รัก และเข้ากับคนในครอบครัวไม่ได้ คนอื่นก็ต้องสงสัยว่าเพราะเหตุใด คุณเป็นคนเห็นแก่ตัวจัด หรือมีปัญหาทางจิตกันแน่

                พื้นที่ส่วนกลางที่มีการใช้งานร่วมกันคนอื่นเพื่อนบ้านยกตัวอย่าง พื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้าน สมาชิกที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร เพื่อนบ้าน ต้องรู้จักแยกแยะให้ออกพื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ส่วนตัว และต้องรู้จักขอบเขตที่ตนกระทำได้กับสิ่งที่ตนไม่สามารถกระทำได้ ในเขตพื้นที่นั้น ๆ ได้ อย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะ ไม่ไปล่วงล้ำ ก้าวก่าย เบียดเบียน สิทธิของผู้อื่น ไม่กระทำความเดือดร้อนเสียหาย นำพาความไม่สะดวกต่อสิทธิผู้อื่น ขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น รวมทั้งก่อให้เกิดความเดือนร้อนด้านสาธารณสุขอนามัย ก่อมลภาวะทางอากาศ กลิ่น มลภาวะเสียง ดังรบกวนผู้อื่น

                การวางกระถางต้นไม้ไม่ไปล่วงล้ำพื้นที่ของคนอื่น, การจอดรถ ไม่ไปขวางทางเข้าออกหน้าบ้านของคนอื่นเพื่อนบ้าน  บางครั้งมีคนมาหาติดต่อทำธุระกับบ้านของเรา อาจจะต้องขอข้างบ้านจอดรถหน้าบ้านของเขาเป็นการชั่วคราวบ้าง ก็ขอเพื่อนบ้านรบกวนเขาเป็นครั้งคราวไป เมื่อมีแขกที่มาติดต่อเยี่ยมเยียนบ้านของเพื่อนบ้าน เขาก็อาจจะมาขอจอดรถที่หน้าบ้านของเรา ก็เป็นการพึ่งพาอาศัยกันและกัน ผลประโยชน์ต่างตอบแทน เป็นต้น ก็ต้องมีความเกรงใจกัน เคารพในสิทธิของแต่ละคน และเคารพในสิทธิที่ถือครองพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน อย่าเพียงแต่คำนึงถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน โดยไม่สนใจคิดคำนึงถึงใจผู้อื่นรอบข้างเลย บางครั้งก็ทำให้คนอื่นไม่สะดวกในการเดินทางสัญจรไปมา อาจเกิดอุบัติเหตุจากการที่คุณนำสิ่งของส่วนตัวไปวางกองในพื้นที่ส่วนกลาง มันก็ไม่ถูกต้อง คุณไม่ได้อยู่เพียงครอบครัวเดียวในหมู่บ้าน และเมื่อเห็นแก่ตัวมาก ๆ ก็กระทำยึดถือครองเป็นของตนเองแสดงความเป็นเจ้าของในพื้นที่ส่วนกลาง คนอื่นที่มีสิทธิในพื้นที่ส่วนกลาง ไม่รักษาสิทธิ์ ไม่เรียกร้องสิทธิ์ ไม่ว่ากล่าวตักเตือน เขาคนเห็นแก่ตัวก็ได้ใจ ยึดมั่นถือครองเป็นที่ส่วนกลางอ้างเป็นของตนเอง ไม่มีความเกรงใจผู้อื่น ที่ได้รับผลเสียหายกระทบต่อความไม่สะดวก และความปลอดภัยในการสัญจรในพื้นที่ส่วนกลาง

                พอไม่ว่ากล่าวตักเตือน ก็ได้ใจ กระทำตามความเคยชิน การเบียดเบียนพื้นที่ส่วนกลาง เป็นประจำ จนไม่มีความเกรงใจ ไม่ให้เกียรติ ไม่เคารพในสิทธิส่วนบุคคลที่ทุกคนมีสิทธิในพื้นที่ส่วนร่วม กับนำความคิดเห็นแก่ตัว ว่าเป็นพื้นที่ส่วนกลางฉันสามารถทำอะไรก็ได้ เรื่องของฉัน กลับคิดเข้าข้างตนเอง โดยมองข้ามความเป็นจริง ขาดศีลธรรม มองข้ามจรรยาบรรณ ของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมส่วนรวมไป คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งก็ผิดตามหลักกฏหมายด้วย

                คนรอบข้างก็จะไม่คบหาสมาคมกับเขา และยังแถมให้เขาด้วยความ รังเกียจ เป็นปรปักษ์ ดูแคลนเขาที่เป็นคนเห็นแก่ตัว ส่งผลไปถึงคนในครอบครัวของเขาต่อเป็นลูกโซ่ ทั้งที่ลูกหลานเขาไม่ได้เป็นคนแบบเดียวกับเขาเลย คนรอบข้างเพื่อนบ้านก็จะไม่คบหาสมาคมกับคนเห็นแก่ตัว เหมาว่าเป็นกันทั้งบ้าน

                ขอบเขตที่เกินคุณธรรม ผิดแล้วยังไม่สำนึก ยังกระทำต่อ ใช้ความอะลุ่มอะล่วย ไม่ว่ากล่าวเตือน ก็ไม่มีความเกรงใจ ถือว่ายึดสิทธิของผู้อื่น วิสาสะใช้พื้นที่ส่วนกลางเป็นพื้นที่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นความคิดเข้าข้างตนเองว่าถูกต้องเหมาะสมในความคิดของตน แต่ความเป็นจริง มันผิดในแง่ถือครองเป็นส่วนตัวแล้ว และยังผิดจรรยาบรรณ ยังจะกระทำผิดซ้ำ จนเคยชินเป็นสันดาน ไม่แก้ไขปรับปรุง ยังเห็นแก่ตัว เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน คิดแต่เพียงความสะดวกสบายของตนเองเป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงการทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบที่ถูกเบียดเบียน ทำให้สัญจรไม่สะดวกไม่ปลอดภัย ขัดต่อสิทธิร่วมกันในการใช้พื้นที่ส่วนรวม บอกกล่าวตักเตือนแล้ว ยังติฉินนินทา ว่าร้ายในทางเสียหายต่อผู้อื่น ทั้งที่ตนเองทำไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมกลับคิดไปเองว่าตนเองทำถูก หนักแผ่นดินเข้าไปซะอีก  เพียงเพราะต้องการถือยึดครองพื้นที่ส่วนกลางเป็นสถานที่ทำประโยชน์ส่วนตนของตนองเท่านั้น ถึงแม้ไม่ว่าจะใช้เวลาเท่าใด ก็ถือเป็นการกระทำผิด ทั้งทางกฏหมาย และศีลธรรมจรรยาบรรณ อีกทั้งยังขาดคุณธรรม ไม่รู้จักแยกแยะ ว่าตนมีขอบเขตความสามารถที่จะกระทำได้ และขอบเขตที่ตนกระทำไม่ได้ไม่มีความเกรงใจ ไม่มีคุณธรรมประจำใจ กระผมเรียกว่า เสนียดจัญไร (เลวทรามต่ำช้าไม่ดีงามน่ารังเกียจ)

                สัตว์เลี้ยงไปถ่ายมูลสกปรกหน้าบ้านคนอื่น คุณที่เป็นเจ้าของก็ต้องรับผิดชอบไปเก็บทำความสะอาดให้เขาเพราะสัตว์เลี้ยงของคุณทำความสกปรกและเสียหายต่อเพื่อนบ้าน หมา แมวของคุณไม่สามารถที่จะไปทำความสะอาดเองได้ คุณต้องทำหน้าที่รับผิดชอบในการกระทำของสัตว์เลี้ยงคุณทั้งหมดที่มันก่อทำความสียหายต่อผู้อื่นด้วย เพราะคุณเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง ถ้าเลี้ยงสัตว์แล้วไม่สามารถที่จะสอน ควบคุมสัตว์ของตนเองได้ คุณก็ต้องรับผลกรรมที่สัตว์เลี้ยงของคุณที่ก่อกรรมเอาไว้ให้คุณด้วย ไหน ๆ ก็พูดถึงสัตว์เลี้ยงแล้ว ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงของคุณที่อยู่ในความดูแลของคุณ ไปกัด ทำร้าย ผู้อื่นให้ต้องได้รับบาดเจ็บ คุณที่เป็นเจ้าของก็ต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายในการรักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บทางกาย และต้องจ่ายค่าทำขวัญ ปลอบใจผู้ที่ถูกสุนัขของคุณกัด โดยที่ผู้ได้รับบาดเจ็บนั้นไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในอาณาเขตบ้านของคุณ เพียงแค่เดินผ่านถนนหน้าบ้าน ทางสาธารณะที่สัญจรปกติ ไม่ได้กระทำความผิดใด ๆ กลับถูสุนัขกัดเป็นแผล คุณที่เป็นเจ้าของก็ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่สัตว์ของคุณก่อกรรมไว้แทน และต้องควบคุมสัตว์เลี้ยงของคุณไม่ให้ก้าวร้าวทำร้ายผู้อื่นโดยให้สุนัขของคุณอยู่แต่ในอาณาเขตในบ้านของคุณเท่านั้น ไม่ปล่อยมันออกมานอกบ้านทำร้ายผู้อื่นได้อีก ยกตัวอย่างเป็นต้น

               

                Capable of Boundary ขอบเขตในความสามารถที่กระทำได้ VS. ขอบเขตที่กระทำไม่ได้ ที่ต้องเน้นเรื่องนี้เพราะ คนปัจจุบัน ไม่รู้จักทำตนให้อยู่ในขอบเขตของตนที่สามารถกระทำได้ และชอบฝ่าฝืนขอบเขตในสิ่งที่ตนไม่สามารถกระทำได้ แยกแยะไม่ออกว่า อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องจริง ๆ กับ สิ่งที่ถูกเพียงในความคิดของเข้าเองเท่านั้น โดยไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงในบรรทัดฐานทางสังคม และอยู่ในกฏหมายเดียวกันที่ใช้รักษาความสงบปลอดภัยเรียบร้อยของประชาชน และความยุติธรรมที่ยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันในราชอาณาจักรไทย ทุกคนจึงต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งไม่ประพฤติกระทำการใด ให้ฝ่าฝืนกฏหมาย มีความผิดเหมือนกันทุกผู้คน เท่าเทียมกันทุกคน เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่ต้องศึกษากฏหมาย เพราะ จะได้รู้บทลงโทษ ถ้ากระทำความผิด และ จะได้ไม่กระทำความผิดให้ตนเองเดือดร้อนและคนในครอบครัวต้องมาเดือดร้อนเพราะตนเองด้วย

            ขอบเขตตามกฏหมาย ที่ต้องกล่าวถึง เพราะคนสมัยนี้ไม่ค่อยรู้จัก สิทธิ ขอบเขต ของตนที่ ไม่สามารถกระทำได้เป็นความผิด กฏหมายหลัก คือ ประมวลกฏหมายอาญา และ ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

  • ประมวลกฏหมายอาญา ว่าด้วยกฏหมายเกี่ยวกับ การป้องกันสังคมให้มีความปลอดภัยของบุคคล รักษาความสงบเรียบร้อยให้ประชาชนในสังคม ความมั่งคงแห่งราชอาณาจักร ความผิดที่ชัดเจนหากฝ่าฝืนต้องได้รับบทลงโทษตามกฏหมาย
  • o ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  • o ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ (ภายใน และภายนอกราชอาณาจักร, ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ)
  • o ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
  • o ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง (ความผิดต่อเจ้าพนักงาน, ความผิดต่อ ต่ำแหน่ง หน้าที่ราชการ)
  • o ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม (ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม, ความผิดต่อต่ำแหน่ง หน้าที่ในการยุติธรรม)
  • o ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
  • o ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน (อั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุม ฐานเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ก่อนความวุ่นวายในบ้านเมือง)
  • o ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิด ภยันตรายต่อประชาชน (วางเพลิง, ประมาทเลินเล่อไม่รักษาบำรุงอุปกรณ์สายไฟให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่ตลอด, บ้านต้นเพลิงต้องรับผิดชอบในความเสียหาย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นและทรัพย์สินผู้อื่น, ผู้มีวิชาชีพการออกแบบ ควบคุมการก่องสร้าง ซ่อมแซม รื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ไม่ปฏิบัติตามหลัการวิธีการอันพึงกระทำถือว่ามีความผิด, กีดขวางหรือทำให้เสียหายชำรุดต่อทางเดิน รถ รถไฟหรือรถราง เครื่องบิน เรือ รถยนต์สาธารณะ, ทำลายก่อความเสียหายต่อ การสื่อสารสาธารณะ ไปรษรณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุขัดข้อง, ทำให้เกิดความเสียหายขัดข้องต่อการใช้น้ำซึ่งเป็นสารธารณูปโภค, ทำให้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมเสียหายต่อทรัพย์สินผู้อื่น ถมที่ดินปิดลำรางทางน้ำไหลสาธารณะทำให้น้ำท่วมเสียหาย, ปลอมปนอาหาร ยา หรือเครื่องอุปโภคบริโภค, เอาของมีพิษ หรือเป็นอันตรายใส่ในอาหาร หรือในน้ำที่ใช้บริโภค, เป็นหน้าที่ของประขาชนที่ต้องดูแลบำรุงรักษา บ้าน รถยนต์ทรัพย์สินของตนเองให้พร้อมใช้งาน ไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่มาจากสภาพไม่พร้อมใช้งานหรือชำรุด อันส่งผลให้เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น)
  • Ø วางเพลิง เผาฟางข้าว ใบไม้ใบหญ้า ขยะมูลฝอย แม้เป็นที่ดิน ที่นาของตนเอง หรือบ้านของตนเอง ก็มีความผิด ถ้าทำให้ใครคนอื่นเดือดร้อน เช่น ควันฟุ้งกระจาย บดบังทัศนวิสัยในการขับรถบนถนน อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ถนนได้, ไม่คอยควบคุมดูแลให้ดี ควบคุมเพลิงไม่ได้ ลามไปที่ดินคนอื่น หรือบ้านคนอื่นให้เกิดเพลิงไหม้เสียหาย, ทิ้งก้นบุหรี่โดยไม่ดับไฟให้เรียบร้อยจนเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ก็มีความผิด เป็นต้น
  • v มาตรา 220 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของ ตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
  • v มาตรา 225 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท และเป็นเหตุ ให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย หรือการกระทำโดยประมาทนั้นน่าจะเป็น อันตรายแก่ชีวิตของบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • o ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง (เงินตรา, แสตมป์, ตั๋ว, เอกสาร, บัตรอิเล็กทรอนิกส์, หนังสือเดินทาง
  • o ความผิดเกี่ยวกับการค้า (เครื่องตวง เครื่องชั่ง เครื่องวัด ที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า, ลอก เลียนแบบ เครื่องหมายการค้า ตรายี่ห้อ หรือทำการแพร่ข่าวลือที่เเป็นเท็จ ให้ประชนชนเข้าใจผิดเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้า เพื่อมุ่งประโยชน์แก่การค้าของตน)
  • o ความผิดเกี่ยวกับเพศ (อนาจาร ลวนลาม, บังคับข่มขืนใจ, รุมโทรม, กระทำชำเราเด็กต่ำกว่า 18 ปีถึงแม้จะยินยอมก็มีความผิด หรือแม้แต่ข่มขืนใจคู่สมรสก็มีความผิด, ล่อลวง พาไป ธุระจัดหา มีส่วนร่วม สนับสนุน กับการประพฤติผิดทางเพศ และการค้าประเวณี, และห้ามมิให้เผยแพร่ ภาพ สื่อลามกอนาจาร ตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์)
  • Ø ในกฏหมาย มาตรา 277 ว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับเพศ ต่อ ผู้เยาว์
  • Ø ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
  • Ø ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำแก่ เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
  • Ø มีข้อยกเว้น ไว้ในกรณี ความผิดเกี่ยวกับเพศ ของผู้ถูกกระทำผิด เป็น ผู้เยาว์
  • Ø "ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทำโดยบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปีกระทำต่อเด็ก ซึ่งมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กผู้ถูกกระทำนั้นยินยอม ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิจารณาให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กผู้ถูกกระทำ หรือ ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือจะอนุญาตให้ทั้งสองฝ่ายสมรสกันโดยกำหนดเงื่อนไขให้ต้องดำเนินการภายหลังการสมรสก็ได้ และเมื่อศาลได้พิจารณามีคำสั่งอย่างใดแล้ว ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ในการพิจารณาของศาลให้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อมของผู้กระทำความผิด และเด็กผู้ถูกกระทำ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำความผิด กับ เด็กผู้ถูกกระทำ หรือเหตุอื่นอันควรเพื่อประโยชน์ของเด็กผู้ถูกกระทำด้วย"

ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

http://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%BB06/%BB06-20-9999-update.pdf

http://www.kodmhai.com/m2/m2-2... ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2451

  • Ø ***สมมุติถ้าในกรณี ผู้ถูกกระทำ ชำเรา เป็นลูก หลาน ทายาทคนในครอบครัวของกระผม ล่ะ (ถ้าไม่ต้องการให้แต่งงานกัน ให้ค้านไม่เห็นด้วย ในระหว่างพิจารณาคดี เขาคนนั้นกระทำผิด และเป็นผู้ไม่มีความรับผิดชอบในชีวิตของเขาเอง จะรับผิดชอบชีวิตของเด็กที่อายุยังไม่ถึงสิบห้าปีได้ดีหรือ ร่วมทั้งเด็กที่จะเกิดมา เขาจะเลี้ยงดูแลได้ดีหรือ ในเมื่อตัวของผู้กระทำความผิดยังดูแลหาเลี้ยงชีพตนเองยังไม่ได้ดีเลย ถ้าผู้ปกครองผู้เยาว์ ที่ถูกกระทำชำเรา แจ้งต่อศาลว่าไม่พึงประสงค์ให้แต่งงานกัน ก็คัดค้านได้)***
  • Ø ***สมมุติถ้าในกรณี ผู้กระทำความผิดอายุ ไม่เกิน 18 ปี เป็นลูก หลาน ของกระผม ล่ะ (ผมก็ต้องทำทุกวิธีทุกทางที่จะทำให้ลูกของตัวเอง ผ่อนหนักให้เป็นเบา และทำให้ฝ่ายผู้ที่ถูกกระทำชำเรา ยินยอม รับการแต่งงานสมรสกัน แต่ภายภาคหน้า จะเกิดปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ในอนาคตได้อีก)***
  • Ø ***แต่ทางฝ่ายผู้ปกครองของผู้เยาว์ที่เป็น ผู้ถูกกระทำชำเรา ยืนยันต่อสู้คดี ต้องการความยุติธรรม ให้มีบทลงโทษต่อผู้กระทำผิด ก็แสดงความจำนงค์ต่อศาล ไปอย่างชัดเจน ในคำร้องให้การต่อศาลได้เลย)***
  • o ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
  • Ø ความผิดเกี่ยวกับชีวิต (การฆ่าคนตาย: ด้วยความตั้งใจ หรือ ไม่ตั้งใจกระทำ หรือ ความประมาท, ทำร้ายร่างกายจนสาหัส ในเวลาต่อมาถึงแก่ความตาย พิสูจน์ได้ว่าตายจากการถูกทำร้ายร่างกาย, รุมต่อสู้ชุลมุนทำร้ายจนตาย, ยุยงยั่วยุส่งเสริมให้ฆ่าคนตาย หรือยุยงยั่วยุให้ฆ่าตัวตาย)
  • Ø ความผิดเกี่ยวกับร่างกาย (ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่น มีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ทั้ง ตั้งใจ หรือ ไม่ตั้งใจ หรือ ประมาท หรือ มีส่วนร่วม ชุลมุนต่อสู้ รุมทำร้าย)  ทำร้ายร่างกายอันตรายสาหัส:
  • v 1. ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือ เสียฆานประสาท
  • v 2. เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือ เสียความสามารถสืบพันธุ์
  • v 3. เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรือ อวัยวะอื่นใด
  • v 4. หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
  • v 5. แท้งลูก
  • v 6. จิตพิการอย่างติดตัว
  • v 7. ทุพพลภาพ หรือ ป่วยเจ็บ เรื้อรัง ซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
  • v 8. ทุพพลภาพ หรือ ป่วยเจ็บ ด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้
  • v ถ้าทำให้บาดเจ็บสาหัส จนต้องตาย ก็ต้องรับโทษความผิด สถานเดียวกับ ฆ่าคนตาย
  • Ø ความผิดฐานทำให้แท้งลูก
  • v หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือ ยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก
  • v ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูก โดยที่หญิงนั้นยิมยอม ทั้ง ตั้งใจ ทำให้แท้งลูก หรือ ไม่ตั้งใจ หรือ ประมาท  มีความผิด
  • v ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูก โดยที่หญิงนั้นไม่ยินยอม ทั้ง ตั้งใจ ทำให้แท้งลูก หรือ ไม่ตั้งใจ หรือ ประมาท มีความผิด
  • v กฏหมายมีข้อยกเว้น ที่สามารถทำแท้งได้ โดยเป็นการกระทำของนายแพทย์ และ
  • § (1) จำเป็นต้องกระทำ เนื่องจาก สุขภาพของหญิงนั้น
  • § (2) หญิงมีครรภ์ เนื่องจากการกระทำผิดอาญา (ถูกข่มขีนใจกระทำชำเรา, เป็นผู้เยาว์ถูก ล่อหลวง ข่มขืน หรือยินยอมถูกกระทำชำเรา ก็ตาม ถ้าไม่พึงประสงค์, ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ล่อ พาไป อุบายหลอกลวง เพื่อการอนาจาร กระทำชำเรา ด้วยความไม่เต็มใจ)
  • Ø ความผิดฐานทอดทิ้ง เด็ก คนเจ็บป่วย หรือ คนชรา
  • v ทอดทิ้ง เด็ก อายุยังไม่เกิน 9 ปี โดยพ้น ปราศจาก คนดูแล
  • v ทอดทิ้ง ผู้ซึ่ง พึ่งตนเองไม่ได้ เพราะ อายุ ความป่วยเจ็บ กายพิการ จิตพิการ ปล่อยให้ ได้รับอันตรายสาหัส หรือ เป็นอันตรายแก่ชีวิต
  • o ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
  • Ø ความผิดต่อเสรีภาพ (กักขัง หน่วงเหนี่ยว, ข่มขู่เข็ญขืนใจบังคับให้ทำตาม, ลักพาตัว, เรียกค่าไถ่, พรากผู้เยาว์)
  • v มาตรา 309 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือ จำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น หรือโดยใช้ กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น
  • v ถ้าความผิดตามวรรคแรกได้กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำ ความผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือได้กระทำเพื่อให้ผู้ถูกข่มขืนใจทำ ถอน ทำให้เสียหาย หรือทำลายเอกสารสิทธิอย่างใดผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • v ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะ มีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีและปรับ ตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท (อั้งยี่ ซ่องโจร ก็เหมือนกับ มาเฟีย กลุ่มอันธพาลนอกกฏหมาย)
  • v มาตรา 310 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการ ใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • v ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยว ถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (ในกรณีปิดล็อค สถานที่เมื่อหมดเวลาทำการ แต่กระทำไปโดยไม่ตรวจสอบว่ามีบุคคลยังอยู่ในสถานที่นั้นอยู่อีกหรือไม่ ก่อนทำการล็อคปิด หรือในกรณีปิดล็อครถทั้งที่มีเด็กอยู่ในรถ ถ้าเด็กถึงแก่ความตายด้วย ต้องรับโทษเพิ่ม ฐานประมาทเป็นเหตุทำให้คนอื่นตาย)
  • v มาตรา 312 ผู้ใดเพื่อจะเอาคนลงเป็นทาส หรือให้มีฐานะคล้ายทาส นำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พามาจากที่ใด ซื้อ ขาย จำหน่าย รับ หรือหน่วงเหนี่ยวซึ่งบุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน เจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
  • v มาตรา 317 ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกิน สิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท (พรากผู้เยาว์)
  • v มาตรา 320 ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด พาหรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปี ถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • Ø ความผิดฐานเปิดเผยความลับ
  • v มาตรา 322 ผู้ใดเปิดผนึกหรือเอาจดหมาย โทรเลขหรือเอกสารใด ๆ ซึ่งปิดผนึกของผู้อื่นไป เพื่อล่วงรู้ข้อความก็ดี เพื่อนำข้อความในจดหมาย โทรเลข หรือเอกสารเช่นว่านั้นออกเปิดเผยก็ดี ถ้าการกระทำนั้นน่าจะเกิด ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • v มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น โดยเหตุ ที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบ อาชีพนั้น แล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • v ผู้รับการศึกษาอบรมในอาชีพดังกล่าวในวรรคแรก เปิดเผยความลับ ของผู้อื่น อันตนได้ล่วงรู้หรือได้มาในการศึกษาอบรมนั้น ในประการ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
  • v มาตรา 324 ผู้ใดโดยเหตุที่ตนมีตำแหน่งหน้าที่ วิชาชีพ หรือ อาชีพอันเป็นที่ไว้วางใจ ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นเกี่ยว กับอุตสาหกรรม การค้นพบ หรือการนิมิตในวิทยาศาสตร์ เปิดเผยหรือ ใช้ความลับนั้น เพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • v มาตรา 325 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
  • Ø ความผิดฐานหมิ่นประมาท
  • v มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำ ความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • v มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้น น่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 326 นั้น
  • v มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
  • v มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
  • § (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
  • § (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
  • § (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
  • § (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม
  • § ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
  • v มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
  • v มาตรา 331 คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิด เห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดี ของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
  • v มาตรา 332 ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความ ผิด ศาลอาจสั่ง
  • § (1) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท
  • § (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือ พิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับครั้งเดียวหรือหลายครั้งโดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณา
  • v มาตรา 333 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
  • v ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
  • o ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์, ฐานกรรโชก รีดทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์, ฐานฉ้อโกง, ฐานโกงเจ้าหนี้, ฐานยักยอก, ฐานรับของโจร, ฐานทำให้เสียทรัพย์, ฐานบุกรุก)
  • o ความผิดลหุโทษ (ขอกล่าวแค่บางส่วนเท่านั้น เนื่องจากมีเนื้อหาปลีกย่อยเยอะ ประเด็นหลัก คือ ไม่ก่อความรำคาญ ความเดือดร้อน เสียหายแก่ผู้อื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคม)
  • Ø ทำให้เกิดเสียง หรือ กระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุผลสมควร จนทำให้ประชาชน ตกใจ หรือ เดือดร้อน
  • Ø ผู้ใด ทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือ กระทำใดให้เสียความสงบเรียบร้อย
  • Ø ผู้ใด เสพย์สุราหรือของเมาอย่างอื่น จนเป็นเหตุให้ตน เมา ประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ขณะอยู่ในถนนสาธารณ
  • Ø ผู้ใด พกอาวุธในที่สาธารณะ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  • Ø ผู้ใด ยิงปืนซึ่งใช่ดินระเบิด โดยใช่เหตุในชุมนุมชน
  • Ø ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจ ช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความ จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • Ø ผู้ใดทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำ หรือท่อระบายของ โสโครกอันเป็นสิ่งสาธารณเกิดขัดข้องหรือไม่สะดวก ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
  • Ø ผู้ใดเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือสาธารณภัยอื่นและเจ้า พนักงานเรียกให้ช่วยระงับ ถ้าผู้นั้นสามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วยต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  • Ø ผู้ใดแกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุ ให้ประชาชนตื่นตกใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
  • Ø ผู้ใดโดยไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายกี ดขวางทางสาธารณ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความ สะดวกในการจราจร โดยวางหรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วย ประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้น เป็นการกระทำโดยไม่จำเป็น ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
  • Ø ผู้ใดกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
  • Ø ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ของแข็งตกลง ณ ที่ใด ๆ โดยประการที่น่าจะเป็นอันตรายหรือเดือดร้อนรำคาญแก่ บุคคล หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ของโสโครก เปรอะเปื้อนหรือน่าจะเปรอะเปื้อนตัวบุคคล หรือ ทรัพย์หรือแกล้งทำให้ของโสโครกเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • Ø ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • Ø ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • Ø ผู้ใดทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการ ขู่เข็ญต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • Ø ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
  • Ø เป็นต้น ฯลฯ กลิ่นไม่พึงประสงค์, ควันไฟ อากาศมลภาวะที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่ถูกหลักสุขอนามัย, เสียงดังรบกวนผู้อื่น,

http://www.kodmhai.com/m2/m2-2/thailaw2-2.html#S1

  • - ไม่กระทำการใด ๆ ให้ผู้อื่นเสียหาย เดือดร้อน ทั้งทรัพย์สิน เป็นอันตรายทางร่างกาย และจิตใจ เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • - ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจ หรือ ไม่ตั้งใจ หรือ กระทำไปด้วยความประมาทเลินเล่อ พลั้งเผลอก็ตาม ทำให้คนอื่นได้รับอันตราย หน้าที่ของประชาชน คือ ตรวจสอบ บำรุงดูแลรักษา บ้าน สายไฟ ระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้านให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานมีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากไฟไหม้ และต้องดูแลรักษา รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ยานพาหนะ ของตนเอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานมีความปลอดภัย มั่นใจได้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากสภาพรถ ยานพาหนะของตนเอง ส่งผลทำให้คนอื่นเสียหาย เดือดร้อนจากสภาพรถของตนเอง เช่น เบรคไม่ดีพอ, ยางรถไม่มีดอกยาง ลื่น ใกล้หมดสถาพ, ไฟหน้าเสียทำให้มองไม่เห็นทาง หรือคนอื่นมองไม่เห็นรถของคุณในยามค่ำคืน เสี่ยงต่ออันตรายให้เกิดอุบัติเหตุ ตัวเราที่เป็นเจ้าของ ก็ต้องมีหน้าที่ ดูแลบำรุงรักษา ของของตนให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ถือเป็นความรับผิดชอบและหน้าที่ของเราเอง ที่ต้องกระทำทุกคน
  • - แม้แต่ในสถานที่ที่ตนเป็นเจ้าของก็ตาม เช่น การเผาขยะ เผาหญ้าเผาฟางข้าวในที่นาของตนเอง เกิดควันไฟกระจาย บดบังทัศนวิสัยในการขับรถสัญจรอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ กลิ่นไหม้ส่งผลกระทบทำให้อากาศมีมลภาวะทำให้คนอื่นหายใจไม่สะดวกสูดควันพิษเข้าไปเป็นอันตรายต่อร่างกายสุขภาพของผู้อื่น
  • - หรือ ในบ้านของคุณเอง ยกตัวอย่างเช่น ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด, เก็บของเก่าของรีไซเคิ้ลจากขยะมากองที่บ้านส่งกลิ่นเหม็น, เลี้ยงสัตว์ก่อให้เกิดเชื้อโรค มูลขี้ของสัตว์เกลื่อนไปทั่ว ขนปีก เกิดฝุ่นละออง ปลิวว่อนไปทั่ว เป็นต้น แม้แต่ทำให้เกิด กลิ่นเหม็น อันไม่พึงประสงค์ สกปรกไม่ถูกหลักอนามัย ถึงแม้จะเป็นบ้านของตนเอง คนอื่นไม่มีสิทธิเข้าไปในบ้านคุณก็ตาม เพราะมันเป็นสิทธิของคุณในการครอบครองความเป็นเจ้าของบ้านคุณ แต่สิ่งที่คุณกระทำในบ้านคุณส่งผลประทบไม่ดีต่อผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน มีความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย จากกลิ่นเหม็น อากาศเป็นพิษ สกปรก มีเชื้อโรค อาจทำให้เกิดเจ็บป่วยจากการกระทำของคุณที่ไม่ดูแลรักษาความสะอาด บ้านของคุณจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน สามารถร้องเรียนแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต ประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข เข้ามาตรวจสอบ และตักเตือนให้ปรับปรุงแก้ไข โดยไม่ทำการใดให้เป็นการรบกวน เดือดร้อน ต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้อื่น
  • - หรือ แม้แต่ ส่งเสียงดัง รบกวนความสงบผู้อื่น โดยเฉพาะในยามวิกาล กลางคืน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  • - ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิด ภยันตรายต่อประชาชน (วางเพลิง, ประมาทเลินเล่อไม่รักษาบำรุงอุปกรณ์สายไฟให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่ตลอด, บ้านต้นเพลิงต้องรับผิดชอบในความเสียหาย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นและทรัพย์สินผู้อื่น, ผู้มีวิชาชีพการออกแบบ ควบคุมการก่องสร้าง ซ่อมแซม รื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ไม่ปฏิบัติตามหลัการวิธีการอันพึงกระทำถือว่ามีความผิด, กีดขวางหรือทำให้เสียหายชำรุดต่อทางเดิน รถ รถไฟหรือรถราง เครื่องบิน เรือ รถยนต์สาธารณะ, ทำลายก่อความเสียหายต่อ การสื่อสารสาธารณะ ไปรษรณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุขัดข้อง, ทำให้เกิดความเสียหายขัดข้องต่อการใช้น้ำซึ่งเป็นสารธารณูปโภค, ทำให้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมเสียหายต่อทรัพย์สินผู้อื่น ถมที่ดินปิดลำรางทางน้ำไหลสาธารณะทำให้น้ำท่วมเสียหาย, ปลอมปนอาหาร ยา หรือเครื่องอุปโภคบริโภค, เอาของมีพิษ หรือเป็นอันตรายใส่ในอาหาร หรือในน้ำที่ใช้บริโภค, เป็นหน้าที่ของประขาชนที่ต้องดูแลบำรุงรักษา บ้าน รถยนต์ทรัพย์สินของตนเองให้พร้อมใช้งาน ไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่มาจากสภาพไม่พร้อมใช้งานหรือชำรุด อันส่งผลให้เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น)
  • ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยกฏหมาย เกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ สถานะ ความสามารถของบุคคลธรรมดา, นิติบุคคล, การจัดการทรัพย์, การทำนิติกรรม, หนี้, สัญญา,เอกเทศสัญญา (สัญญาซื้อขาย, เช่าทรัพย์, ยืม, สัญญากู้ยืมเงิน, ฝากทรัพย์, ค้ำประกัน) ทรัพย์สิน, มรดก เป็นต้น
  • - บุคคลธรรมดา หน้าที่ ความสามารถ สิทธิ สวัสดิการ ของพลเมือง ประชาชน บุคคลธรรมดา รวมทั้งการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • § ผู้เยาว์
  • v สิทธิบัตรทอง บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่แรกเกิด หลังแจ้งเกิด สูติบัตร มีชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวในทะเบียนบ้านแล้ว สามารถขอทำบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ สำนักงานเขต
  • v เด็กที่มีอายุครบ 7 ปี บริบูรณ์ ต้องทำบัตรประชาชนเด็ก (พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554)
  • v เด็กที่มีอายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ ต้องทำประชาชน เปลี่ยนคำนำหน้าจาก เด็กชาย หรือ เด็กหญิง เป็น นาย หรือ นางสาว
  • v สิทธิในการเลือกตั้ง ลงประชามติ บุคคลต้องมีอายุครบ 18 ปี บริบูรณ์ ขึ้นไป ณ เวลานั้นที่มีการเลือกตั้ง (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134)
  • v มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
  • v มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอม ของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจาก ความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
  • v มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการ สมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติ มาตรา 1448 ในหมวด2 เงื่อนไขการสมรส / การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรส ก่อนนั้นได้
  • v มาตรา 1435 การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ
  • v มาตรา 1436 ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคล ดังต่อไปนี้

        (1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา

        (2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจ ปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดย พฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้

        (3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

        (4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1)(2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง

        การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

  • V ในหมวด2 เงื่อนไขการสมรส / มาตรา 1450 ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลง มาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการ สมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิตโดยไม่ คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
  • V มาตรา 1451 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
  • V มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้

*****อาจจะนอกเรื่องไปจาก กฏหมายไปบ้าง แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องรับรู้ไว้ เพราะเกี่ยวข้องกับตนเองและคนรอบข้างในครอบครัว ในหน้าที่ สิทธิ ประโยชน์ จากรัฐที่มีให้กับประชาชน

  • § สวัสดิการสังคม แก่ผู้ไร้ความสามารถ คนชรา คนพิการ คนวิกลจริต ผู้ป่วยโรคเอดส์ ที่ดูแลตนเองไม่ได้ ไม่ได้ประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ ให้ได้รับสิทธิในการคุ้มครองปกป้อง ให้อยู่ในสังคมอย่างปลอดภัยและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • § คนชรา เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
  • v อายุตั้งแต่ 60 - 69 ปี ได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 600 บาท
  • v อายุตั้งแต่ 70 - 79 ปี ได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 700 บาท
  • v อายุตั้งแต่ 80 - 89 ปี ได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 800 บาท
  • v อายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 1,000 บาท
  • v เงินสงเคราะห์จัดการงานศพ 2,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ผู้เสียชีวิตมีอายุเกิน 60 ปี และ ไม่มีญาติ หรือ ญาติฐานะยากจน ครอบครัวมีรายได้ครัวเรือนต่อปี ไม่เกิน 30,000 บาท ไม่สามารถจัดการงานศพตามประเพณีได้ โดยให้ญาติหรือผู้จัดการงานศพยื่นคำร้องต่อ สำนักงานเขตที่ว่าการอำเภอ

www.dcy.go.th/fileupload/news/fileup/sortorsor30-10-57-1010_1414638707.doc

  • v ในกรณีเสียชีวิต ประกันสังคม จ่ายเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย เป็นค่าทำศพ 40,000 บาท

http://www.sso.go.th/hospital/category.jsp?lang=th&cat=871

  • § คนพิการ เงินเบี้ยยังชีพคนพิการ เดือนละ 800 บาท คนไร้ความสามารถและคนวิกลจริต ถือว่าเป็นคนพิการ ทางจิตที่ไม่สามารถช่วยเหลือหาเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเอง
  • § เงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ เดือนละ 500 บาท
  • § ผู้เยาว์ คนชราผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต ฟั่นเฟื่อน ควบคุมตนไม่ได้ กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้มีกำหนดให้มี ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ในการดูแล คุ้มครอง รักษาสิทธิ ทำนิติกรรม แทน เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับผู้ที่ไร้ความสามารถ
  • § การจ่ายเงินสบทบประกันสังคม บุคคลที่มีรายได้ทุกคน ขึ้นทะเบียน กับ สำนักงานประกันสังคม เพื่อเป็นสวัสดิการทางสังคม ของผู้มีรายได้ โดยจ่ายเงินสบทบ เพื่อให้ได้สิทธิ เมื่อยาม กรณีเจ็บป่วยประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีว่างงาน กรณีชราภาพ(เงินบำเหน็จหรือบำนาญในกรณีเกษียณอายุ 55 ปี) กรณีเสียชีวิต

http://www.sso.go.th/hospital/category.jsp?lang=th&cat=772

  • § การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บุคคลที่มีรายได้ทุกคน ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทุกสิ้นปี ของการมีรายได้นั้น เพื่อเป็นเงินในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป มีรายได้ต่อปี มากกว่า 150,000 บาท ขึ้นไป
  • - การทำนิติกรรม ของ บุคคลธรรมดา
  • § การแจ้งเกิด ต้องแจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับจากวันที่เด็กเกิด เพื่อออกใบสูติบัตร
  • § การแจ้งตาย ต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับจากเวลาตาย เพื่อออกใบมรณบัตร
  • § จดทะเบียนสมรส การหย่า
  • § การรับรองบุตรบุญธรรม
  • § การขอเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ของบุคคลไร้ความสามารถ คนชราผู้สูงอายุ คนพิการ คนวิกลจริต
  • § มรดก พินัยกรรม
  • - การทำนิติบุคคล
  • § จดทะเบียนพาณิชย์ ร้านค้า บุคคธรรมดา ประกอบกิจการเพื่อขายสินค้าและ การขอใบอนุญาติขาย สุรา ยาสูบ กับ กรมสรรพสามิต / จัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน
  • § กฏระเบียบที่ต้องปฏิบัติ
  • § การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • - การทำนิติกรรม เอกเทศสัญญา (การทำสัญญา กู้ยืม หนี้ ทรัพย์สิน ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ตั๋วเงิน เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า การพนันขันต่อ ประกันภัย )

https://www.peesirilaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538682019&Ntype=10

http://library2.parliament.go.th/library/content_law/15.pdf

  • - การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีกำไรสุทธิ ต่อปี มากกว่า 300,000 บาท ขึ้นไป โดยต้องยื่นบัญชีงบดุล ผลกำไรขาดทุน ในรอบหนึ่งปี
  • - และต้องศึกษากฏหมาย และ การภาษีอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินกิจการ เช่น ภาษีอากร ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีท้องถิ่น ภาษีป้าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอากร (อากรแสตมป์ในหนังสือสัญญา ในการธุรกรรม) เป็นต้น
  • - http://www.rd.go.th/publish/286.0.html

                ทุกคนต้องศึกษาทำความเข้าใจกฏหมายข้อบังคับที่ห้ามมิให้ฝ่าฝืน มีความผิด และหน้าที่ สิทธิของตนในฐานะบุคคลธรรมดา และในฐานะนิติบุคคล กฏหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรม ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ ถ้าเราจะประกอบการค้าหรือธุรกิจใด มีข้อกฏหมายควบคุม บังคับให้พึงปฏิบัติ ถ้าละเว้นไม่ปฏิบัติมีโทษในความผิดนั้นด้วย และกฏหมายที่เราไม่สามารถที่จะกระทำได้ ถ้ากระทำถือว่ามีความผิด ต้องได้รับการลงโทษ

            (กฏหมาย เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องรู้และเข้าใจ เพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางเรื่องตอนนี้ไม่ได้ใช้ ไม่ได้เกี่ยวข้อง แต่ถ้าถึงคราวที่ต้องใช้ มีความเกี่ยวข้อง ยิ่งจำเป็นที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง บางมาตราก็มีข้อบังคับที่แตกต่างออกไปเป็นข้อยกเว้น ต้องศึกษาให้รอบคอบ ครอบคลุม ตีความให้ถูกต้องแม่นยำ ถ้าไม่มั่นใจให้ปรึกษาผู้มีความรู้เฉพาะทางกฏหมาย หรือทนายที่มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ)

ท่านสามารถหาอ่านได้ในห้องสมุด หรือ ตามสื่ออินเตอร์เน็ต

http://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%BB03/%BB03-20-9999-update.pdf

http://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%BB06/%BB06-20-9999-update.pdf

            (กระผมขอเน้นเรื่องขอบเขตภายใต้กฏหมาย ไม่ทำสิ่งใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย ทั้งต่อทรัพย์สิน หรือกระทำการใดให้เป็นเหตุอันตรายต่อร่างกาย และชีวิตของผู้อื่น แม้แต่ กลิ่นไม่พึงประสงค์, เสียงดัง, ควันไฟ, มลภาวะ อากาศ ที่ไม่สะอาด ไม่ถูกหลักสุขอนามัย เป็นอันตรายต่อสุขภาพชีวิตของตนเองและผู้อื่น)

                ขอบเขตตามศีลธรรม จรรยาบรรณ และบรรทัดฐานทางสังคม

  • ศีลธรรม สัมมาทิฐิ(ความเห็นชอบคิดดี), สัมมาวาจา(พูดดี), สัมมาจริยา(ประพฤติดี), สัมมาอาชีวะ(การประกอบอาชีพดี), , สัมมากัมมันตะ(การงดเว้นการฆ่าสัตว์ งดเว้นประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่มิใช่ของตน), สัมมาคารวะ(วางตัวดีให้เกียรติเคารพนอบน้อม), อวิหิงสา(ไม่เบียดเบียนเอาเปรียบผู้อื่น)
  • เอาใจเขามาใส่ใจเรา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เกื้อกูล  ความเกรงใจ ความเห็นอกเห็นใจ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน (ไม่ใช่ถ่อยทีถ่อยอาศัยเบียดเบียนกัน ถ้าไม่มีจรรยาบรรณ ขาดศีลธรรม ก็เป็นจัญไร คนเลวทรามต่ำช้า ไม่น่าคบหาสมาคมด้วย)
  • จรรยาบรรณ (ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก) ในที่นี้หมายถึง การประพฤติตนเป็นคนดี มีศีลธรรม และยึดมั่นในสิ่งที่ควรปฏิบัติ ละเว้นสิ่งไม่ดี ไม่งาม และผิดศีลธรรม ผิดกฏหมาย ไม่ผิดต่อวิชาชีพ อยู่ในกรอบของคุณธรรม
  • อยู่ในบรรทัดฐานทางสังคมไม่เห็นแก่ตัวจนเกินไป, ไม่เบียดเบียนเอาเปรียบผู้อื่น, ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนเสียหาย, ดำรงชีพหาเลี้ยงดูแลคนในครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีมีความสุขตามความสามารถที่พึงกระทำได้, เป็นแบบอย่างที่ดีและอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีของสังคม

            เห็นแก่ตัวมากเกินไปก็ไม่ดี เห็นใจเกรงใจคนอื่นมากเกินไปก็ไม่ดี เดือดร้อนตนเอง (เอ็นเราแข็ง ความสัมพันธ์ขาด เอ็นดูเขาเกิน เอ็นเราขาด)

            ขอบเขตสิทธิส่วนบุคคล การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทุกคนสามารถที่จะกระทำสิ่งใดก็ได้ตามอำเภอใจชอบของตนเอง โดยที่ไม่ทำให้ใครคนใดเดือดร้อน เสียหาย เป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน ร่างกาย จิตใจ และอันตรายต่อชีวิตของผู้อื่น เราต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน เคารพในสิทธิส่วนบุคคล ความเป็นส่วนตัวของตัวเราและของผู้อื่นด้วย (จะว่าไปก็เหมือน ต่างคนต่างอยู่ ใช้สิทธิของตนเอง ไม่ไปก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวของเขา ถ้าเขาไม่อนุญาติ หรือไม่เต็มใจ ไม่ใช่คนสนิทสนมกับเรา) บางครั้งเพื่อนก็ไม่อยากให้เราไปยุ่งเรื่องบางเรื่องของเขา โดยเฉพาะเรื่องของคนในครอบครัวของเขา ถ้าเขาต้องการระบาย หรือขอคำแนะนะปรึกษา เขาก็จะเล่าให้เราฟังเองแหละ แต่โดยปกติก็ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา ปัญหาชีวิตของใคร คนนั้นก็ต้องแก้เอง นอกจากเขาแก้ไขไม่ได้ เขาก็จะมาหา หรือขอคำแนะนำ ขอความช่วยเหลือจากเราก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เราจึงต้องระมัดระวังไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในความเป็นอยู่ส่วนตัวของเขา

                ยิ่งปัจจุบันที่สื่อสังคมออนไลน์ ทุกคนชอบทำอะไร ก็ถ่ายรูปโชว์ แชร์ ส่งต่อ กดไลท์ ถ้าเป็นเรื่องดี ก็ดีไป แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่ดี คอมเม็นท์แรง ต้องระวัง อาจไปพาดพิงไปถึงสิทธิของผู้อื่น เสียหายก่อความเข้าใจผิด ทำให้เขาเสียชื่อเสียง อาจถูกดำเนินคดี หมิ่นประมาทได้ ก่อนที่จะทำอะไรผ่าน  App, Line, Facebook, Instagram, Twitter ก็ต้องคิดให้ถ้วนถี่ คิดให้ดีก่อนที่จะพิมพ์ ส่งต่อ ว่าทำไปแล้วจะส่งผลด้านไม่ดี เสียหายต่อตนเอง เสียหายต่อผู้อื่นหรือไม่ ก็ขอให้ยึดหลัก สิทธิส่วนบุคคล ไม่ชอบอะไร ก็เฉย ๆ ไม่ต้องไปแสดงออกมาก ไม่ต้อง ออกหน้าออกตัวมากเกินไปและเรียกร้องความสนใจเกินไป ให้อยู่กรอบขอบเขตความเป็นส่วนตัวของแต่ละคน เคารพในสิทธิส่วนบุคคล เขาชอบ ไม่ชอบ เขาคนอื่นก็มีสิทธิที่จะแสดงออก ถ้าสิ่งนั้นไม่ไปกระทบต่อบุคคลอื่นในทางเสียหาย เดือดร้อน ก็ถือว่าเราครองตนได้ ควบคุมความคิดของเราได้ ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ คิดให้ดีก่อนที่จะกระทำลงไป แค่ Enter มันก็กระจายออกไปก่อให้เกิดความเสียหายแบบแพร่กระจายผ่านอากาศไปตามสื่อ Social Network ได้ทันที่ทันใดตามความเร็วของอินเตอร์เน็ตนั้นเอง ถึงลบคอมเม็นท์ออกไป แต่ระบบมันส่งไปแล้วก็ต้องมีคนที่ได้รับข้อความเห็นที่ไม่ดีไปแล้ว ถ้าเขาบันทึก Capture ไว้เป็นหลักฐานแล้ว ก็จนมุมด้วยหลักฐาน และต้องไปขอโทษในการกระทำผิด แถมอาจถูกแจ้งความดำเนินคดีในภายหลังได้อีก ก่อนจะกระทำอะไรลงไปก็คิดให้ดีก่อนแล้วกัน จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลัง

            ขอบเขตความเป็นส่วนตัว ทางจิต บางครั้งตัวเราต้อง รักษาระยะห่างบ้าง ไม่เข้าไปก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวของคนอื่น บางครั้งคนเราก็ต้องการความเป็นส่วนตัวในบางเวลา ก็ต้องปล่อยให้เขาได้มีเวลาส่วนตัวบ้าง เขาอยากจะอยู่ตัวคนเดียวสงบ ๆ บ้าง ถึงเวลาที่เขาอยากจะมาพูดคุย หรืออารมณ์ดีขึ้นแล้ว เขาก็เข้ามาหาเราเองแหละ ยกตัวอย่าง สามีกับภรรยา บางครั้งก็ต้องปล่อยให้คุณสามีมีเวลาส่วนตัวบ้าง ให้เขาได้ผ่อนคลาย กลับมาจากที่ทำงาน ก็ให้พักกินน้ำคลายร้อน ผ่อนอารมณ์ก่อน ค่อยคุยธุระ ไม่ใช่ก้าวเท้าเข้าบ้านก็โยนของร้อน เรื่องร้อนที่ทำให้ไม่สบายใจ ให้ต้องถูกบังคับให้ต้องฟังเดี๋ยวนั้นเลย เจอหน้าก็เปิดสวิทซ์ไม่มีหูรูด ไม่ดูจังหวะ ก็พูดเรื่องเครียดใส่ให้ฟังฉอด ๆ ก็รอซักพักให้เขาได้ผ่อนคลายผ่อนอารมณ์ความตึงเครียดที่เกิดจากงาน จากการเดินทางไปซักระยะก่อน ไม่ต้องรีบร้อน อยู่ในบ้านเดียวกันมีเวลาให้กันได้ จึงค่อยหาโอกาสคุยเรื่องธุระที่จำเป็นต้องคุยปรึกษากันได้ ใจเย็น ๆ ไม่ต้องรีบร้อน ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย รอหาโอกาสที่เหมาะสม บรรยากาศที่ดีขึ้น ทุกอย่างก็จะผ่านไปได้ด้วยดีอย่างมีสติ ไม่ใช่ใช้แต่อารมณ์เป็นใหญ่ คิดถึงใจคนอื่นบ้าง เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 666328เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท