การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4


ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายชิษณุพันธ์ ทาสมบูรณ์ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษหน่วยงาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีปีที่วิจัย 2561

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ (4) แบบประเมินความ พึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมุติฐานประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( x-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สรุปได้ดังนี้ การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนทางด้านความคิดและกำหนดไว้เป็นสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน สำหรับนักเรียนพบว่าขาดทักษะและกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้านทักษะชีวิต ทักษะการคิดวิเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ การให้รายละเอียดข้อมูล การจำแนก การให้เหตุผล การเชื่อมโยงความสัมพันธ์เหตุการณ์อย่างมีเหตุผล และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ และนำไปสู่การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรียกว่า“PCDESE Model” มี 5 องค์ประกอบได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการ (4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ (5) ระบบสนับสนุน กระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ (1) ขั้นเตรียม (Prepare : P) (2) ขั้นพิจารณาปัญหา (Considering the problems : C) (3) ขั้นสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด (Discussion : D) (4) ขั้นขยายความคิด (Expand the idea : E) (5) ขั้นสรุป (Summary : S) (6) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่ามีความสอดคล้องกับหลักการของรูปแบบการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( x-bar= 4.69, S.D. = 0.47) มีประสิทธิภาพ 82.85/84.25 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผล ดังนี้ 3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7418 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.18
3.3 การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย ท31101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.81, S.D. = 0.41)

หมายเลขบันทึก: 666303เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2019 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2019 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท