การทำเกษตรแบบผสมผสาน


เกษตรผสมผสาน เป็นการเกษตรที่ต้องเอื้อกันทั้งพืชและสัตว์ มีการพึ่งพากัน คือ การที่พืชต้องการมูลสัตว์เป็นปุ๋ย และสัตว์ต้องการพืชเป็นอาหาร ในส่วนของรายได้จะได้รายได้ตลอดทั้งปี เพราะเมื่อสัตว์กับพืชให้ผลผลิตต่างเวลากัน ทำให้มีผลผลิตอยู่เสมอๆ เพราะฉะนั้น ผู้ที่คิดจะเริ่มต้นทำการเกษตรแบบผสมผสาน จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทั้งสองด้าน ทั้งพืชและสัตว์ ต้องรู้วิธีการจัดการในการที่พืชและสัตว์ จะอยู่ร่วมกันได้

การปลูกพืชแบบผสมผสาน

การปลูกพืชจะต้องสัมพันธ์กับธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต จุลินทรีย์ และระบบนิเวศ และการเจริญเติบโตร่วมกันของพืชและพืชด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การปลูกตาลโตนดในนาข้าว การปลูกพริกไทยร่วมกับมะพร้าว การปลูกพืชไร่ผสมกับถั่ว การปลูกทุเรียนร่วมกับสะตอ การปลูกระกำในสวนยาง เป็นต้น โดยที่ยิ่งมีความหลากหลายของพืชปลูกมากเท่าใด ก็จะสามารถเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบมากขึ้นเท่านั้น การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์

การเลี้ยงสัตว์จะต้องสัมพันธ์กับธรรมชาติ และสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของสัตว์เอง ตัวอย่างของระบบการผสมผสานการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงหมูควบคู่กับปลา การเลี้ยงเป็ดหรือไก่ร่วมกับปลา การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน เป็นต้น การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์

เป็นรูปแบบการเกษตรที่สอดคล้องกับสมดุลของแร่ธาตุพลังงาน และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลพึ่งพาประโยชน์ซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับระบบนิเวศตามธรรมชาติมากที่สุด ตัวอย่างของระบบการปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว การเลี้ยงหมูและปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่ เป็นต้น

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก: http://www.sathai.org/autopage...

หมายเลขบันทึก: 666235เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2019 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2019 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท