ฤดูกาลผลไม้ วงจรแห่งความเศร้า


คำถามหนึ่ง เกิดขึ้นสำหรับผู้เขียน "ทำไมยากมากที่ เราคนไทยจะได้บริโภค อาหาร ผลไม้ พืชผัก ของประเทศเราเอง ในราคาถูก คุณภาพดี ปลอดภัย ทั้งที่ประเทศเรามีพื้นฐานเกษตรกรรม ?" ในที่สุดเราเดินทางกันมาถึงจุดนี้แล้ว...

              รอบปีแห่งฤดูกาลผลไม้ปักษ์ใต้กำลังจะผ่านไป ผู้เขียนได้ความรู้ จากการทบทวน หลายประเด็น

  • ผลไม้ที่ขายกัน ในละแวกใกล้เคียง จากสวนธรรมชาติ ก็ยังคง เป็นธรรมชาติ ไร้สารปนเปื้อน แต่ผลไม้จากสวน ที่เข้าแผงค้าส่ง เพื่อกระจายเข้าสู่เมือง จะใช้สารเคมีทุกชนิดผลไม้ เพื่อยืดอายุ เก็บรักษาสภาพภายนอกให้ดูงดงาม  
  • สวนธรรมชาติ น่าจะมีจำนวนลดลง เนื่องจากขาดผู้สืบทอด ด้วยบุตรหลานที่ถูกส่งเข้าเมือง เพื่อรับการศึกษา สร้างหลักปักฐานในเมือง  (ตามค่านิยมความเจริญที่ถูกสร้างขึ้นช่วง ๔๐ ปีที่ผ่านมา)  ที่เหลืออยู่ คือ วัยชรา หรือผู้หญิง ผู้พิการ ผู้ป่วย ฯลฯ  จำเป็นต้องจ้างช่วง การจัดการสวน และเก็บเกี่ยว ซึ่งมีราคาสูง และขาดแรงงานนี้   ถึงกระนั้นผลผลิตที่ออกมา ก็เกินพอสำหรับประชากรในพื้นที่ และละแวกใกล้เคียง
  • สวนเชิงธุรกิจ คือปลูกพืชผลไม้เชิงเดี่ยว หรือผสมผสาน เป็นจำนวนหลายร้อยต้นขึ้นไป มีการลงทุน แรงงาน และอื่นๆจำนวนมากตั้งแต่เริ่มต้นจำเป็นต้องใช้สารเคมี ทุกระยะ ตั้งแต่การปลูกจนเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะรูปแบบที่มีการตลาดสั่งจองล่วงหน้า  เพราะธุรกิจ คือกำไร ถ้าไม่ทำ ก็เสี่ยงต่อการเจอภาวะล้นตลาดและขาดทุน  ดังนั้นการคำนึงถึงความปลอดภัยผู้บริโภค เป็นเรื่องเพ้อฝัน
  • ชาวสวนในพื้นที่พยายามผลักดันผลผลิตตามฤดูกาล เข้าเมือง โดยส่งตรงถึงผู้บริโภค แต่ไม่มีระบบการขนส่งราคาถูกรองรับ ขนส่งเอกชนที่เป็นของต่างชาติได้รับความนิยมสูงจนรองรับไม่ไหว และเสียคุณภาพการบริการไปในช่วงเวลานี้   ระบบขนส่งเดิม เช่นไปรษณีย์ไทย ไม่มีผู้เข้าใช้บริการดูเงียบเหงา เนื่องจาก ตั้งราคาขนส่งสูงกว่าเอกชน และไม่มีคุณภาพการบริการ ยังพยายามเรียกเก็บเงินลูกค้า ในเรื่องการบรรจุ ฯลฯ    ชาวบ้านพยายามดิ้นรน อาจขับรถเข้าเมืองไปขายต่างถิ่นเองบ้าง จอดริมถนนบ้าง ซึ่งเสี่ยงกับการถูกจับปรับ จ่ายสินบน ความไม่ปลอดภัยอื่นๆ  สุดท้ายปล่อยทิ้งเป็นปุ๋ยในสวนอาจคุ้มทุนที่สุด 

    เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นทั่วประเทศ  กับพืชผล เชิงเกษตรแทบทุกชนิดดั้งเดิมของเรา  น่าแปลกที่ลูกหลานชาวสวนส่วนหนึ่งก็มีชีวิตในเมืองยินยอมที่จะบริโภคสารพิษ   ผลไม้บางชนิดที่ล้นตลาดในพื้นที่กลับไม่ถึงมือผู้บริโภคพื้นที่ห่างไกลในประเทศ เนื่องจากมีราคาสูงมาก และคงเต็มไปด้วยสารเคมี   เหล่านี้ เป็นช่องทางของต่างชาติ เข้าซื้อกิจการส่งตรงถึงประเทศเขา (ทำให้ผลผลิตราคาสูงเป็นบางช่วงและขาดตลาด คนภายในที่ไม่มีสวนเองก็ไม่สามารถซื้อหาบริโภคได้) ซึ่งระบบบริหารเรายินดีอำนวยความสะดวกมาก กรณีต่างชาติ และนายทุนใหญ่ แต่ไม่มีเรื่องแบบนี้สำหรับชาวบ้านเล็กๆในประเทศเราที่จะได้รับความสะดวก   เมื่อไม่ส่งเสริม ก็รอการประท้วงเรียกร้องทุกฤดูกาล และจัดการปัญหา ณ  เวลานั้นๆเป็นต้น ด้วยการ เรียกผลผลิตมารวม หรือประกันราคา ฯลฯ  คล้ายผู้บริหารการเมือง และข้าราชการ ไม่ใช่ ลูกหลานชาวเกษตรดั้งเดิมของประเทศเรา ความรู้ความเข้าใจข้อเท็จจริงจึงขาดหาย แลไร้การใส่ใจ เป็นเช่นนี้ เรื่อยมาๆ  มีประโยคหนึ่งที่ชาวบ้านเอ่ย ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ "ชาวบ้านเสียภาษีและได้รับยาพิษกลับมาทุกช่องทาง" 
  • คำถามหนึ่ง เกิดขึ้นสำหรับผู้เขียน "ทำไมยากมากที่ เราคนไทยจะได้บริโภค อาหาร ผลไม้ พืชผัก ของประเทศเราเอง ในราคาถูก คุณภาพดี ปลอดภัย ทั้งที่ประเทศเรามีพื้นฐานเกษตรกรรม ?" ในที่สุดเราเดินทางกันมาถึงจุดนี้แล้ว...
  • ปัญหา... คือจุดเริ่มต้น ของการแก้ไข เพื่อการพัฒนา แน่นอนว่า... เราไม่หยุดนิ่ง ที่จะเสนอแนวทางการจัดการแก้ไข และลงมือปฏิบัติ ตามศักยภาพที่จะทำได้  ภายใต้สถานภาพสมาชิกของประเทศ
    หมายเลขบันทึก: 666198เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2019 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2019 07:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท