Offline สู่ Online เชื่อม SMEs ยุคดิจิทัล


Offline สู่ Online เชื่อม SMEs ยุคดิจิทัล

     การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายที่เป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน คือช่องทาง Online เช่น Line, Facebook เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารทางการตลาด โดยสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ทั่วโลก ดังนั้นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายในรูปแบบ Online จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น ขณะเดียวกันการใช้สื่อสังคม Online ก็มีส่วนในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ รวมถึงผู้ผลิตสามารถพูดคุย โต้ตอบการสนทนากับผู้บริโภคได้ทันที เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค และอีกประโยช์ที่สำคัญที่สุดคือการใช้ ช่องทาง Online จะสามารถผสานกับ Offline ในรูปแบบโมเดลธุรกิจ O2O ( Online to Offline) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างธุรกิจจากออนไลน์ไปยังออฟไลน์ โดยเป็นการนำคุณภาพของ Offline มาช่วยยกระดับให้กับ Online ธุรกิจค้าปลีกในอนาคตจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงร้านค้าในรูปแบบเดิมๆ แต่จะก้าวไปสู่โลก O2O ที่มีการผสมผสานระหว่างจุดแข็งของร้านค้าในโลก Online กับโลก Offline เข้าด้วยกันจากการใช้ประโยชน์จากความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและการชำระเงินออนไลน์ ระบบออนไลน์สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเก็บข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้าที่ใช้งาน ขณะที่ร้านค้าสามารถที่จะใช้จุดแข็งของการที่มีสินค้าให้ลูกค้าได้เลือกสัมผัส ทดลองใช้งานได้จริง ขณะเดียวกันทางสื่อออนไลน์จะไปกระตุ้นผู้บริโภคให้เกิดความต้องการในผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลดีสำหรับการเพิ่มโอกาสทางการตลาด ของผู้ประกอบการที่มีหน้าร้าน หรือมีช่องทางการกระจายสินค้า/จัดส่งสินค้าในโลกออฟไลน์ โดยลูกค้าสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านการเลือกชมผลิตภัณฑ์ผ่านทางช่องทางออนไลน์ ทั้งทาง Website หรือช่องทาง Online อื่นๆ และสามารถชำระเงินผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้ทันที ซึ่งมีความสะดวกมากขึ้นในปัจจุบันเพราะมีการใช้ mobile banking ที่สามารถชำระเงินได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ประกอบกับระบบ Logistic ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างความสำเร็จของการใช้โมเดลธุรกิจ O2O ในประเทศจีนที่โด่งดังมากที่สุดจะเป็นของ Alibaba ที่สามารถพลิกโฉมของวงการธุรกิจค้าปลีกในจีน ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมรูปแบบการชอปปิ้งของคนจีน โดยทาง Jack Ma ได้ประกาศแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการทำธุรกิจค้าปลีก ที่เรียกว่า New Retail ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงสินค้าในโลกออนไลน์ สินค้าในโลกออฟไลน์, ระบบการขนส่งสินค้า (ลอจิสติกส์) รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคในการวิเคราะห์ Big data เข้าด้วยกันจึงทำให้ Alibaba ประสบความสำเร็จอย่างมากในประเทศจีน (Manager Online, 2561)

     จากข้อมูลด้านสถิติพบว่า ในปัจจุบันคนมีการใช้เวลากับโทรศัพท์นานถึงร้อยละ 43.6 ทำให้ช่องทางการตลาด Online เป็นช่องทางที่ธุรกิจหลายแบรนด์นิยมเลือกใช้กัน ซึ่งพฤติกรรมของกลุ่มนี้จะใช้มือถือในการรับส่งข้อมูล ข่าวสารของแบรนด์สินค้า หรือบริการที่ตัวเองสนใจผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์อยู่เป็นประจำ ดังนั้นการใช้สื่อออนไลน์ เช่น Facebook Instagram และ Website จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการโปรโมทสินค้า หรือสร้างการรับรู้ในตัวสินค้าให้กับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ให้เกิดความสนใจ จนเกิดกระบวนการอยากซื้อ อยากเห็นสินค้าของจริง จนนำไปสู่การเลือกดู และซื้อขายสินค้าผ่านหน้าร้านค้า ซึ่งการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน Online Marketing อาจช่วยในการประหยัดเวลา และสะดวกสบาย เข้าถึงได้รวดเร็ว ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบสินค้ากับร้านอื่นได้ ส่วน Offline Marketing เป็นการทำการตลาดแบบเก่าที่ไม่มีการใช้ Internet เข้ามาช่วย เน้นไปที่การสื่อสารด้านเดียว เช่น สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศ ซึ่งอาจจะเป็นการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงในพื้นที่นั้นๆ จึงเหมาะกับธุรกิจบางประเภทที่ต้องการความน่าเชื่อถือ เพราะได้เห็นสินค้าหรือบริการจริง ทดสอบก่อนซื้อได้ และสอบถามข้อมูลกับผู้ขายได้โดยตรง

     ในส่วนของ E-Commerce นั้น Process จะค่อนข้างมีความสำคัญ เพราะในแง่นของการซื้อสินค้าจะไม่เห็นตัวผู้ขายเพราะซื้อจากทางออนไลน์ ซึ่งมีเรื่องของ การขนส่ง และการชำระเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งค่อนข้างมีความละเอียด โดยกระบวนการคือคนอาจจะมีการมาเห็นผลิตภัณฑ์ที่โชว์รูมและไปสั่งซื้อทางออนไลน์ หรือคนเห็นผลิตภัณฑ์ทาง Online แต่มาสั่งซื้อที่หน้าร้าน ขณะเดียวกัน Website ก็มีความสำคัญและมีกระบวนการมากกว่าหน้าร้าน คือการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ การดูคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ การสมัครสมาชิก การชำระเงิน การติดตามการขนส่งผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และรูปภาพ ซึ่งมีความสำคัญทุกส่วน  

     ซึ่งนโยบาย บทบาท และภารกิจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในการพัฒนาผู้ประกอบการไทยสู่ยุค 4.0 ควรพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความเชี่ยวชาญในด้านการตลาด Onine โดยให้มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้ความรู้ในเรื่องของการตลาด Online เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้มีทักษะความสามารถเพิ่มมากขึ้น รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายยังไม่ครอบคลุม ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค และการประชาสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับผู้ประกอบการ ซึ่งการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายที่เป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน คือ ช่องทางออนไลน์ ดังนั้นควรที่จะมุ้งเน้นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์ จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้บริโภคได้มาก ซึ่งในช่องทาง Online จะสามารถผสานกับ Offline ในรูปแบบโมเดลธุรกิจ O2O (Online to Offline) เป็นการผสมผสานระหว่างธุรกิจจากออนไลน์ไปยังออฟไลน์ โดยเป็นการนำคุณภาพของ Offline มาช่วยยกระดับให้กับ Online ธุรกิจค้า กับระบบ Logistic ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ และการตลาดซึ่งต้องใช้หลักการเลือกใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานกัน ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเลือกใช้วิธีการเหล่านี้เข้าด้วยกัน ให้เป็นการส่งเสริมการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ OTOP

     โดยโครงการที่จะพัฒนาผู้ประกอบการไทยสู่ยุค 4.0 ในรูปแบบ Online สู่ Offline มีดังนี้

     1. การพัฒนาการตลาดในรูปแบบของการตลาด Online โดยการจัดอบรมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด Online เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความรู้ความสามรถในด้าน Online

     2. การประชาสัมพันธ์ข้อมูล OTOP ผ่านทาง Social Media ทุกช่องทาง เพื่อเป็นการขยายช่องทางการโฆษณาให้ทั่วถึง ซึ่งอาจจะได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงาน เพิ่มมากขึ้น จนมีการรับรู้ถึงแหล่งผลิตภัณฑ์ นำไปสู่การเข้าไปซื้อผลิตภัณฑ์ที่ชุมชน ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนด้วย (Online to Offline)

     3. การจัดรวมศูนย์กลางการจำหน่าย OTOP ประจำจังหวัด และการจัดงานแสดงสินค้า OTOP ทั้งระดับชุมชน จังหวัด ภูมิภาค ในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Offline เพื่อนำไปสู่การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากช่องทาง Online ต่อไป (Offline to Online)

     4. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ในบรรจุภัณฑ์มีช่องทางการติดต่อกับผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถติดต่อได้จริง และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความแข็งแรงในการจัดส่งผลิตภัณฑ์

     5. การพัฒนา ยกระดับสินค้าเชิงวัฒนธรรม ทักษะฝีมือ ภูมิปัญญา ความเป็นวิถีชุมชนในชุมชน ท้องถิ่นต่างๆ ให้กลายเป็น “OTOP Signature” (อยากลองต้องมาถึงถิ่น) เพื่อเป็นการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชน และเข้ามาสัมผัสถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งนำไปสู่การกระจายรายได้สู่ชุมชน

     6. การสร้าง Story ให้กับผลิตภัณฑ์ OTOP โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน เพื่อเป็นการนำเสนอความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และดึงดูดนักท่องเที่ยว

     7. การขอความร่วมมือกับภาคการขนส่ง (ไปรษณีย์ไทย) ในการขอโควตาในการจัดส่งผลิตภัณฑ์ฟรี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ลดต้นทุนการขนส่งและดึงดูดให้ผู้บริโภคมีแรงจูงใจในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ Online

     8. การจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวที่มีการร้อยเรียงเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ กับผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในชุมชน และได้ทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทาง Online ต่อไป (Offline to Online)

คำสำคัญ (Tags): #otop#Online to Offline#Offline to Online#O2O
หมายเลขบันทึก: 665977เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2019 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2019 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท