เที่ยวประเทศพม่ากับสุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์ตอน.พระมหามัยมุนี


เที่ยวประเทศพม่ากับสุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์ตอน.พระมหามัยมุนี 

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม


หรือที่คนเมียนมาเรียกว่า พระมหาเมียะมุนี แปลว่า “ผู้รู้อันประเสริฐ” (The Great Sage) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดหนึ่งในห้าของประเทศเมียนมาร์ อันได้แก่ เจดีย์ชเวดากอง (เมืองย่างกุ้ง), เจดีย์ชเวมอดอร์ หรือพระธาตุมุเตา (เมืองหงสาวดี), พระธาตุอินทร์แขวน (เมืองไจ่ท์โถ่) และเจดีย์ชเวสิกอง (เมืองพุกาม) 
พระมหามัยมุนี เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.5 เมตร สูง 4 ฟุต 7 นิ้ว หนัก 6.5 ตัน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดมหามัยมุนี (Mahamuni Temple) เมืองมัณฑะเลย์ ชื่อเดิมของวัดคือปยกยี(Payagyi) หมายถึง วัดยะไข่ เพราะแต่เดิมพระมหามัยมุนีประดิษฐานอยู่ที่ยะไข่ ซึ่งพระจันทสุริยะ กษัตริย์ชาวยะไข่ แห่งเมืองธรรมวดี โปรดฯ
ให้สร้างขึ้น เมื่อประมาณประมาณปีพ.ศ688-689


ประวัติตามตำนานเล่าว่า…
สร้างขึ้นสมัยพุทธกาล โดยกษัตริย์แห่งเมืองยะไข่ ซึ่งก่อนที่จะสร้าง กษัตริย์พระองค์นั้นทรงพระสุบินว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทานพรให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นตัวแทนของพระองค์เพื่อเป็นเครื่องสืบพระศาสนาภายภาคหน้า ในช่วงที่เมืองยะไข่ถูกโจมตีโดยกษัตริย์เมืองอื่นแต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ออกจากเมืองยะไข่ได้ จนมาถึงในสมัยพระเจ้าปดุง แห่งราชวงศ์คองบองสามารถตียะไข่ได้จึงอัญเชิญพระมหามัยมุนีออกจากยะไข่มาประทับที่มัณฑะเลย์ได้สำเร็จในปีพ.ศ. 2327 พระมหามัยมุนีจึงได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองมัณฑเลย์นับแต่นั้น แต่ปัจจุบันเมียนมายังเรียกพระมหามุนีอีกชื่อหนึ่งว่าพระยะไข่หรือพระเจ้าเนื้อนิ่มเพราะเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ จึงไม่น่าแปลกใจที่ในแต่ละวันจะมีชาวเมียนมาและพุทธศาสนิกชนเข้ามาสักการะบูชากันเป็นจำนวนมากตั้งแต่เช้าจรดค่ำ เมื่อไหว้พระแล้วคนส่วนใหญ่จะปิดทองที่องค์พระจึงทำให้มีทองคำเปลวปิดทับทั่วองค์พระวรกายเป็นชั้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนหนาขึ้นเรื่อยๆ เราจะเห็นองค์พระมีนูนตะปุ่มตะป่ำ แม้ว่ากันว่าจะมีการลอกทองคำเปลวเก่าออกไปหลายครั้งแล้วก็ตาม ซึ่งหากเอานิ้วกดลงไปจะรับรู้ได้ถึงความอ่อนนิ่มของทองคำเปลว จึงเรียกพระมหามัยมุนีว่า “พระเจ้าเนื้อนิ่ม” หรือ “พระพุทธรูปเนื้อนิ่ม”
พิธีล้างพระพักตร์พระมหามัยมุนี เกิดจากความเชื่อของชาวเมียนมาตามเรื่องเล่าในอดีตที่ว่าพระมหามัยมุนีได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้าจึงเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต จึงต้องจัดพิธีล้างหน้า แปรงฟัน ให้เหมือนกับคนในทุกเช้
า ซึ่งได้ปฏิบัติเช่นนี้สืบทอดกันมานับร้อยปี
พิธีล้างพระพักตร์มีทุกวัน โดยเริ่มทำพิธีประมาณ 04.00 น. พิธีจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อเจ้าอาวาสมาถึงเท่านั้น โดยเริ่มจากคลุมผ้าพระวรกาย ถวายอาหารผลไม้ เปลี่ยนดอกไม้เก่าออกไปนำดอกไม้ใหม่มาถวาย จากนั้นเป็นการล้างพระพักตร์ โดยใช้น้ำที่นำน้ำไม้จันทน์และทานาคามาผสมกัน ส่วนขั้นตอนการล้างพระพักตร์จะล้างด้วยขันทอง 3 ครั้ง ขันเงิน 3 ครั้ง และขันธรรมดา 3 ครั้ง มีการแปรงพระโอษฐ์ (ริมฝีปาก) เปรียบเสมือนการแปรงฟันและเช็ดหน้าด้วยผ้าเช็ดหน้าที่มีคนนำมาถวาย หลังจากนั้นเจ้าอาวาสจะนำรักมาทาองค์พระแล้วปิดทองสำหรับผู้เข้าร่วมในพิธีผู้ชายจะได้นั่งด้านในส่วนผู้หญิงอยู่บริเวณด้านนอกคะ

ในภาพอาจจะมี Ganesh Noi Ganesh
ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง, กำลังยืน และสถานที่ในร่ม
ในภาพอาจจะมี สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์
ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังยืน และสถานที่กลางแจ้ง+19


หมายเลขบันทึก: 665887เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2019 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2019 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท