การเลี้ยงปลา


หลักการเพาะเลี้ยงปลา

              คุณสมบัติของดินที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา
คุณสมบัติของดินที่เหมาะในการเลี้ยงปลา หมายถึง สภาพของดินที่สามารถเก็บกักน้ำเพื่อเลี้ยงปลาได้และ

ทำให้ปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตดี คุณสมบัติของดินที่เหมาะสม  เป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย  สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ระหว่าง 6.5-8.5 
ดินเปรี้ยวสามารถแก้ไข
ก่อนเลี้ยงปลาในบ่อที่มีการขุดใหม่ให้ระบายน้ำเข้า-ออกจากบ่อปลาบ่อย ๆ ความเป็นกรดของดินจะค่อย ๆ ลดลง 
ใช้ปูนขาวใส่ลงในดินตามอัตรา ดังตาราง 
อัตราการใช้ปูนขาว
อัตราการใช้ปูนขาว เพื่อปรับ pH ของดินให้เหมาะสมในการเลี้ยงปลา

คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา
ความขุ่นใส (Transparency)  ความขุ่นของน้ำแสดงให้เห็นว่าน้ำมีสารแขวนลอย (suspended matter) ได้แก่ อนุภาคดิน ทราย แพลงค์ตอน แบคทีเรีย ตลอดจนแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะจำกัดปริมาณแสงให้ส่องลงไปในน้ำได้น้อยลงโดยสารดังกล่าวจะดูดซับแสงไว้  ความขุ่นของน้ำมีผลต่อคุณภาพน้ำ กล่าวว่าความขุ่นของน้ำที่เกิดจากปริมาณแพลงค์ตอน โดยปกติเป็นสิ่งที่ดีสำหรับบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะจะทำให้มีอาหารธรรมชาติสำหรับสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ ส่วนความขุ่นที่เกิดจากตะกอนจะมีผลต่อสัตว์น้ำและพืชน้ำโดยตะกอนจะเข้าไปอุดช่องเหงือกของปลาทำให้การแลกเปลี่ยนแก๊สไม่สะดวก 
คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา
ค่าความขุ่นใสของน้ำสามารถควบคุมได้ 
ความขุ่นเกิดจากตะกอนดินให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงในบ่อจะทำให้ตะกอนดินที่แขวนลอยอยู่ตกตะกอน 
ความขุ่นของน้ำที่เกิดจากแพลงค์ตอน ใช้วิธีระบายน้ำออก เพื่อเอาน้ำใหม่เข้ามา 
ถ้าน้ำมีค่าความขุ่นใสมาก แสดงว่าแพลงค์ตอนในน้ำมีปริมาณน้อย ต้องเติมปุ๋ยลงไปในน้ำเพื่อให้แพลงค์ตอนเจริญขึ้นมาและวัดค่าความขุ่นใสให้อยู่ในระดับ 30-60 ซม. 
คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา
อุณหภูมิ (Temperature) อุณหภูมิของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต (เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การกินและการย่อยอาหาร เป็นต้น) ก็สูงขึ้น และเมื่ออุณหภูมิของน้ำลดลงกิจกรรมเหล่านั้นก็จะลดลง โดยปกติปลาในเขตร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมควรมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 25-32 องศาเซลเซียส
คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen) 
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ โดยสิ่งมีชีวิตในน้ำจะน้ำเอาออกซิเจนไปใช้ในขบวนการหายใจและขบวนการย่อยสลายอินทรีวัตถุ
คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา
ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
 ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำหรือเรียกย่อ ๆ ว่า พีเอส (pH) เป็นการวัดปริมาณของไฮโดรเจนอิออนที่มีอยู่ในน้ำ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงให้เราทราบว่า น้ำนั้นเป็นกรดหรือเป็นด่าง ค่า pH มีค่าอยู่ระหว่าง 0-14 โดยมี pH 7 เป็นจุดกลาง หรือมีค่าเป็นกลาง pH ต่ำกว่า 7 มีค่าเป็นกรด และ pH สูงกว่า 7 มีค่าเป็นด่าง การวัดค่า pH ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า pH meter หรือใช้กระดาษ pH ก็ได้ แต่ค่าที่ได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร 
คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา
ค่าความเป็นด่าง ( Alkalinity)  ความเป็นด่างของน้ำ หมายถึง ความเข้มข้นของด่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นไอออนของคาร์บอเนต ( CO3 - ) ไบคาร์บอเนต ( HCO3 - ) และ (OH - ) น้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 100 - 120 มิลลิกรัม/ลิตร
คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา
ความกระด้าง (Hardness)
ความกระด้างของน้ำ หมายถึง ความเข้มข้นของไอออนของแคลเซียม (Ca2+) และ แมกนีเซียม (Mg2+) ที่ละลายอยู่ในน้ำ
ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาน้ำจืด 
พื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาน้ำจืด ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ 
สภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมไม่ถึง 
ลักษณะของดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือ ดินเหนียวปนทราย เพราะดินเหนียวจะเก็บกักน้ำได้ดี เกิดการพังทลายของคันบ่อน้อยกว่าดินทราย 
แหล่งน้ำ น้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลา ควรเป็นน้ำจืด ส่วนใหญ่ได้มาจาก 2 แหล่ง คือ 
แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ที่มีระบบชลประทานเพื่อการเกษตร 
แหล่งน้ำใต้ดิน ได้แก่ น้ำบ่อ น้ำบาดาล และจะต้องเป็นน้ำจืด มีปริมาณเพียง พอตลอดการดำเนินกิจการ เพราะแหล่งน้ำดังกล่าว จะขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง
สิ่งอื่น ๆ ที่ควรคำนึงถึงในการเลือกพื้นที่ การคมนาคมสะดวก สามารถติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ ได้  อยู่ห่างจากชุมชนเมืองพอสมควร เพื่อเลี่ยงปัญหาน้ำเสีย จากแหล่งชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม ราคาที่ดิน ต้องคุ้มค่ากับการลงทุน อยู่ใกล้แหล่งอาหารและแหล่งพันธุ์ปลา 
ประเภทของการเลี้ยงปลา 
การเลี้ยงปลาตามลักษณะการให้อาหาร  การเลี้ยงแบบธรรมชาติ คือ การเลี้ยงปลาโดยไม่ต้องให้อาหารปลาจะได้รับอาหารจากธรรมชาติเท่านั้น ฉะนั้นสภาพที่เลี้ยงจะต้องมีอาหารธรรมชาติพวกสัตว์น้ำและพืชน้ำที่ปลาใช้เป็นอาหารได้ มีอย่างสมบูรณ์ การเลี้ยงแบบนี้ ไม่สามารถควบคุมผลผลิตได้  การเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา คือการเลี้ยงปลาโดยเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติควบคู่กับการให้อาหารสมทบ เช่น การเลี้ยงปลาสลิดโดยใช้ปุ๋ยคอก เป็นการเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติควบคู่กับการให้อาหารผสม วันละมื้อ โดยจะใส่ปุ๋ยคอกเดือนละครั้งตลอดระยะเวลาในการเลี้ยง 
การเลี้ยงปลาแบบพัฒนา คือ การเลี้ยงปลาโดยให้อาหารสมทบเท่านั้น ซึ่งปลาจะได้รับอาหารเพียงพอทั้งปริมาณ และคุณค่า การเลี้ยงปลาแบบนี้สามารถควบคุมผลผลิตได้
การเลี้ยงปลาตามลักษณะการจัดการ
การรเลี้ยงปลาชนิดเดียว คือ การเลี้ยงปลาเพียงชนิดเดียว ในหนึ่งบ่อ เช่น บ่อที่ 1 เลี้ยงปลาดุก บ่อที่2 เลี้ยงปลาไน เป็นต้น 

หมายเลขบันทึก: 665781เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2019 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2019 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท