KM เมืองคอน ก้าวใหม่ในปี 50


เกิดอะไรในเมืองคอน หลังมหกรรมการจัดการความรู้
วันนี้อากาศดีกว่า 2-3 วันที่ผ่านมา ด้วยฤทธิ์เดชของพายุทุเรียนที่มาเยี่ยมเยียนคนฝั่งอ่าวไทย คนที่มีบ้านอยู่ริมทะเลใกล้แหลมตะลุกพุกแบบดิฉันได้แต่ภาวนาให้พายุลดกำลังลง  ไม่อยากจะให้เกิดการสูญเสียที่รุนแรงใด ๆ ในอดีตเหมือนแหลมตะลุมพุกอีกเลย  เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2549 ได้ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพร  ในหลวง ณ ศาลาประชาคมอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทำให้นึกถึงงานที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการสนองพระราชดำริไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ การจัดการเรียนรู้แก้จนเมืองนครที่ได้นำพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่านมาเป็นหลักคิดให้คนคอนดำเนินชีวิตแบบพอเพียง มีตัวอย่างที่จับต้องได้ เป็นแกนนำหลักอย่างท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชที่คิดและทำอย่างพอเพียงการติดตามงานที่ทำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การมอบหมายชัดเจน ทำให้คณะทำงานการจัดการความรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน 39 คน  ที่ไปร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 วันที่ 1-2 ธันวาคม 2549 ตั้งใจค้นคว้า หาความรู้ ด้วยความกระตือรือร้น ทำการบ้านที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย ในแต่ละห้อง โซนนิทรรศการ 3 โซน  ทั้งการฟัง สังเกต อ่าน เขียน เพื่อสกัดความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละเรื่องให้ได้มากที่สุด  และนัดพบกันเพื่อกำหนดทิศทางการจัดการความรู้คนคอนในปี 2550 เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.49  ณ ห้องประชุมศรีปราชญ์ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยมีท่านวิชม  ทองสงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน ทีมคุณเอื้อก็มากันพร้อมหน้าพร้อมตา  ตั้งแต่ท่าน    สุทิน เกษตรจังหวัด ท่านสุเมธ พัฒนาการจังหวัด คุณหมอนพพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด คุณถาวร จ่าจังหวัด รองสุรินทร์ รองผอ.ธกส. และท่านวิมล ผอ.กศน. ส่วนทีมคุณอำนวยอำเภอในวันนี้เป็นคุณอำนวยอำเภอที่เป็น ผอ.กศน.อำเภอทั้งหมด  ทีมคุณเอื้อตำบล มีผู้ใหญ่วรรณา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 ต.ท้ายสำเภา มีทีมงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย อีกหน่วยงานละ 5 คน และทีมจัดการ คือรองเกษร อ.บุญช่วย อ.เฉลิมลักษณ์ อ.วาสนา อ.สุจิรา และดิฉัน (ชมภู) รวมทั้งหมดจำนวน 65 คนในช่วงแรกของวงเรียนรู้เป็นการสรุปสิ่งที่ได้รับจากการร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ใน 3 ประเด็น คือ 1) หัวเรื่องที่แต่ละกลุ่ม/คน ไปศึกษา 2) เนื้อหา/ความรู้/ทักษะที่ได้รับ  3) การเชื่อมโยง/ปรับปรุง/เสนอแนะสู่การปฏิบัติงาน KM คนคอน เริ่มต้นจากกลุ่มที่ 1 KM Network  ผอ.สมภาส (ผอ.ศบอ.เมือง) และรองเกสร นำเสนอตั้งแต่บรรยากาศการเข้าชมงาน สิ่งที่น่าสนใจในแต่ละบูธ  ในด้านคน กระบวนการ และเครื่องมือ/เทคนิคกลุ่มที่ 2 KM Inside  .วิไลวรรณ นำเสนอรายละเอียดในแต่ละบูธแยกเป็นหน่วยงาน ตั้งแต่กรมราชฑัณฑ์ รพ.ศิริราช เกษตรชุมพร ปูนซิเมนต์ไทย ฯลฯ เน้นกิจกรรมที่แต่ละหน่วยงานดำเนินการกลุ่มที่ 3 KM Community ผอ.จรัญ (ผอ.ศบอ.หัวไทร) นำเสนอตั้งแต่ชุมชนเมืองบัว บ้านบางดิบ ชุมชน ละหอกกระสัง ฯลฯ โดยเน้นกิจกรรมที่แต่ละแห่งดำเนินการและทุกกลุ่มได้เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติมาสู่การปฏิบัติงาน KM คนคอนได้อย่างน่าสนใจ ในทุกด้าน ซึ่งจะได้นำมาเล่าสู่กันฟังในครั้งต่อไป วันนี้ขอไปจัดทำข้อมูล  Best practice  ส่งสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนก่อนค่ะ
หมายเลขบันทึก: 66568เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตนะครับ

เขียนเล่าละเอียด แต่ไม่ค่อยเขียน

           ยังจับหลักการเขียนในสไตล์ตัวเองไม่เจอ ทำได้เพียงเขียนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยังไม่มีลีลา และความคิดเจ๋ง ๆ ก็เขียนตามคำเรียกร้องของหลายคนคะ ช่วยติชมด้วยละกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท