@chokdeemeechai
วิชาชีวิตเพื่อความมั่นคงทางจิตใจ โชคชัย คงบวรเกียรติ

อ่านเจตนาที่แท้จริงของคนให้ออก16 ตอน การจับโกหก TRUST OR LIAR


การจับโกหก TRUST OR LIAR

            Cluster กลุ่มการแสดงออกภาษาทางกาย ซึ่งทำให้เราเข้าใจ รับรู้ได้ ตระหนักหยั่งรู้สึกได้ว่า กริยาที่เขาแสดงออกนั้น บ่งบอกถึง อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ที่ตัวของเขามีในขณะนั้น ต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว คน สิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์นั้น ๆ มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกที่เขาแสดงออก เป็นอารมณ์ในกลุ่มใด ทางบวก (พึงพอใจ ชอบ สมหวัง ดีใจ มีส่วนร่วมเป็นมิตร สนุกสนาน) หรือ ทางลบ (ไม่พอใจ ผิดหวัง ไม่ชอบ หงุดหงิด รำคาญ เครียด วิตกกังวล กลัว โกรธโมโห ก้าวร้าว เศร้าเสียใจ  ลำบากใจอึดอัด กระวนกระวาย รู้สึกผิด) ซึ่งทำให้เราสามารถจำแนกแยกแยะได้ถูกต้องแม่นยำได้ ก็ต้องอาศัยการสังเกต และการประเมินผล จากประสบการณ์ในการอ่านพฤติกรรมคนจากภาษาทางกาย กับภาษาทางใบหน้า และภาษาพูด ในการประกอบการตัดสินว่า คนนั้นมีความน่าเชื่อถือได้ไหม หรือ กำลังโกหกเราอยู่

                กริยาอาการที่แสดงออกมา มีสิ่งใดที่ผิดปกติ มีพิรุธ แตกต่างไป ไม่สอดคล้องกับ กลุ่มอารมณ์หลักของเขา แต่มีการรั่วไหล หลุดรอด(Leakage) ของอารมณ์ปลีกย่อย (Subtle or  Micro Expression) ของกริยา ที่บ่งบอกถึง เจตนาทัศนคติที่แท้จริงของขา ออกมาให้เราได้เห็น ชั่วแว๊บเดียว เศษเสี้ยววินาที ที่ไม่สอดคล้องกับการแสดงออกทางภาษากาย ยกตัวอย่างเช่น กำลังรับฟังเรื่องราวในระหว่างการประชุม เขาก็ตั้งใจฟัง และ พยักหน้าเป็นระยะ แสดงถึงการรับฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจ และเห็นด้วย แต่ก็มีการแสดงกริยาไม่สอดคล้อง คือ ขยับที่มุมปากข้างหนึ่ง ให้เห็น ซึ่งแสดงว่า ไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย กับสิ่งที่ได้ยินเรื่องราวนั้น เป็นต้น มีความขัดกัน แตกต่างจากการแสดงออกหลักที่รับฟังและเห็นด้วย


(Congruency ความสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน) Lying or Trustworthy โกหก หรือ เชื่อถือไว้วางใจได้

                ความสอดคล้องตรงกันเป็นเรื่องเดียวกัน ของภาษาทางกาย ภาษาทางใบหน้า และ ภาษาที่เป็นคำพูด เหมือนการดูภาพยนต์ที่เล่าเรื่องราวหนึ่ง ที่ตื่นเต้น แต่เพลงทำนองประกอบ เป็นจังหวะช้า เศร้า นั้นไม่ตรงกับอารมณ์ของหนังนั้น ไม่มีความสอดคล้องต้องกัน ขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด ไม่เป็นเรื่องเดียวกัน ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่เข้าพวกกลุ่ม Cluster การแสดงอารมณ์หลัก มีบางอย่างผิดปกติมีพิรุธ Something Wrong  ที่แตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด 

  • การสบสายตา Eye Contact
  • - การสบสายตา 2 ใน 3 ของการสนทนา ถ้าสบสายตาน้อยกว่า 1 ใน 3 ของการสนทนา ต้องดูสาเหตุว่ามากจากการโกหก แล้วออกอาการ กลัว หรือรู้สึกผิด อึดอัดใจ ไม่สบายใจหรือไม่ หรืออาจเกิดจากความขี้อาย เกรงกลัว ต่อการคุกคามทางสายตา จึงไม่กล้าสบสายตา
  • - การหลบเลี่ยงสายตา เบาะแสสายตาในการเข้าถึงความคิด (Eye Accessing Cues) มองไปทางฝั่งใด  
  • § ถ้ามองไปทางขวา (ซ้ายของเรา) หมายความว่า สร้างเรื่องอยู่ และ โกหก
  • § ถ้ามองไปทางซ้าย (ขวาของเรา) หมายความว่า คิดถึงดึงข้อมูลจากความทรงจำ จริง
  • § แต่ก็อาจจะมีข้อยกเว้น ที่ไม่ตรงตามกฏหรือหลักการก็ได้ ถ้าคนถนัดซ้าย หรือพฤติกรรมของเขาที่โกหกแล้วจะมองไปทางด้านใดก็เป็นความเคยชินของเขา ต้องหมั่นสังเกตดูว่าคนที่เรามีปฏิสัมพันธ์นั้น เหลียวไปด้านข้างไหนที่เวลาเขาโกหก ต้องจับจุดสังเกตให้ได้ โดยใช้ประสบการณ์ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ซับซ้อนต้องใช้เวลาและประสบการณ์ รวมถึงต้องมีวิจารญาณด้วย
  • - กลอกดวงตา ล่อกแล่กไปมา ซ้ายทีขวาที หรือ มองขึ้นทีมองลงที หรือ ดวงตาสั่นเครือ กระตุก
  • - หลบสายตา เพราะ รู้สึกผิด ก้มมองต่ำที่พื้น ไม่กล้าสู้หน้า
  • - กระพริบตาถี่หรือมากขึ้น โดยปกติ คนเราจะกระพริบตา 10 -20 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าโกหก วิตกกังวล จะกระพริบตาถี่ เกินกว่า 20 ครั้งต่อนาที
  • - พยายามฝืนจ้องสบสายตาเป็นเวลานาน จนเหมือนเกร็งและผืนไม่ให้กระพริบตา ดูไม่เป็นธรรมชาติ
  • ขนาดรูม่านตา Pupils Size
  • - การควบคุมการทำงานของรูม่านตา ตาดำ ตาขาว เป็นการสั่งงานของ ระบบประสาทอัตโนมัติ ในการปรับแสง ความสว่าง สี และปรับระยะทางการโฟกัสในการมองใกล้ มองไกล ที่สั่งการทำงานด้วยสมอง ที่ควบคุมการทำงานของร่างกายเกือบทั้งหมดผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งไม่สามารถที่จะไปแกล้งแสร้งทำได้ มันมาจากสัญชาตญาณ ดวงตาเป็นหน้าต่างของจิตใจ
  • - อารมณ์ที่แท้จริงเป็นตัวกระตุ้นให้สมองสั่งงานผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ ให้ควบคุมการทำงานของดวงตา รูม่านตาให้หด หรือขยาย รวมไปถึงการแสดงออกทางสีหน้า ที่สมองสั่งงานผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมกล้ามเนื้อและอวัยะต่าง ๆ ที่ใบหน้า และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์
  • - รูม่านตาขยายใหญ่ขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมมีแสงน้อย สลัว มืด ดวงตาจะปรับตัวตอบสนองด้วยการ ขยายรูม่านตา เพื่อปรับสายตาให้ได้รับแสงมากขึ้น ทำให้ตามองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในสภาพแสงน้อย อีกทั้งยังบ่งบอกถึงอารมณ์ความรู้สึกทางบวก เมื่อถูกกระตุ้นเร้าอารมณ์ ตัวอย่างเช่น สนใจ อยากรู้อยากเห็น ตื่นเต้น ดีใจ ประหลาดใจ ชอบ พึงพอใจ สมหวัง สนุกสนาน มีความสุข ความเสน่หาดึงดูดเพศตรงข้าม และความต้องการทางเพศ แต่ก็มีอารมณ์ทางด้านลบ ที่ทำให้รูม่านตาขยายขึ้น การตกใจกลัว ประหลาดใจกับข่าวร้าย ช็อค ผิดหวังอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และการโกรธ โมโห ความก้าวร้าว เป็นต้น
  • - รูม่านตาหดเล็กลง เมื่อสภาพแวดล้อมมีแสงมาก หรือแสงสว่างแดดจ้า ดวงตาจะปรับตัวตอบสนองด้วยการ หดรูม่านตา เพื่อลดการรเปิดรับแสงที่มีมากเกินไป ปรับสายตาให้ได้รับแสงน้อยลง เพื่อไม่ทำให้ส่งผลเสียต่อดวงตา และ รูม่านตาหดลง เมื่อต้องโฟกัส ซูมเพ่งมองเข้าไปใกล้วัตถุให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น การหดของรูม่านตา ต่ออารมณ์ความรู้สึก ยกตัวอย่างเช่น เศร้าเสียใจ ผิดหวัง ไม่พอใจ หงุหงิด รำคาญใจ รังเกียจเหยียดหยาม อิจฉาริษยา วิตกกังวล เครียด ง่วงนอน กินยา เมาเหล้าเมายา เป็นต้น
  • Deceptive โกหกหลอกลวง ทำให้เขาไม่สบายใจ จนเกิด กริยาอาการแสดงออกปลีกย่อยจากอารมณ์หลัก
  • - เป็นการต่อสู้กันภายใน ระหว่าง ความดี เทวดาในจิตใจ กับ ความไม่ดี ปีศาจมารในจิตใจ ซึ่งในขณะที่จิตกำลังต่อสู้กับความรู้สึกภายในจิตใจนั้น จะมีการหลุดรั่วไหลของกริยาอาการ แสดงออกถึง ความคับข้องใจ ไม่สบายใจ อึดอัดใจ ลำบากใจ กระวนกระวาย สับสนประหม่า อยู่ไม่สุข พฤติกรรมทำซ้ำ วิตกกังวล  กดดันตึงเครียด แสดงออกมาให้เห็น Spot Detectable Lie สามารถตรวจจับจุดโกหกได้
  • - เมื่อเกิดความคับข้องใจ จึงต้องหาทางออก เพื่อป้องกันตนเอง และบรรเทาคลายความกดดันตึงเครียดจากการโกหก จึงระบายความไม่สบายใจ อัดอั้นเก็บกด พลังงานส่วนเกิน ออกมาเป็นกริยาการกระทำ ที่ดูไม่ปกติ เพื่อคลายจากความวิตกกังวล กลัว รู้สึกผิด ลำบากใจ เพื่อทำให้ตัวของเขารู้สึกดีขึ้น
  • - การแสดงออกที่ไม่สอดคล้อง ไม่เข้ากัน ไม่เป็นเรื่องเดียวกัน  ภาษาพูดภาษาทางกายปลีกย่อยที่ไม่ตรงกับ กับ เจตนาที่แสดงออกมาของอารมณ์หลัก เช่น ความไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย ไม่สบายใจ ลำบากใจ วิตกกังวล เครียด เป็นต้น
  • - ปฏิกริยาพีน็อคคีโอ่ จมูกยื่น อุณหภูมิเพิ่มขึ้น เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของใบหน้ามากขึ้น ที่จมูก หู ตา ปาก คอ ศีรษะ เหงื่อออก ทำให้คันระคายเคือง ต้องเกาเพื่อบรรเทาอาการคัน
  • - ความดันโลหิตสูงขึ้น การหายใจเข้าออกถี่ขึ้น เพราะเกิดจากความไม่สบายใจ อึดอัดใจ วิตกกังวล กลัว ตึงเครียด จึงต้องการสูดหายใจไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น เป็นปฏิกริยาตอบสนองของร่างกายเพื่อบรรเทาความตึงเครียดภายในร่างกาย
  • - แกล้งแสร้งทำเป็นไม่ผิดปกติ ฝืนทำให้ดูดี แต่ข้างใน ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น จนเห็นอวัยวะมีสีที่เปลี่ยนไปเป็นสีชมพูจนถึงออกแดง เช่น ที่หู ปีกจมูก แก้ม กราม ลำคอ หรือมีเหงื่อซึมไหลออกมามากกว่าปกติ ทั้งที่อากาศไม่ร้อนและเขาไม่ได้ออกกำลังกายมาก่อนหน้านี้ บางคนก็ออกหน้าซีดขาว เพราะ กังวลและกลัว
  • - ปากแห้ง คอแห้ง กลืนน้ำลายบ่อย ๆ ทำให้พูดจาลำบาก น้ำเสียงแห้ง พูดไม่ค่อยชัดเจน เสียงแผ่วเบาลงไปบางช่วงบางตอน
  • - กริยาการเคลื่อนไหว ที่ช้าผิดปกติ หรือ เร็วกว่าปกติ
  • - และการสั่น กระตุก เกร็ง ตามใบหน้า และร่างกาย
  • - ทำอะไรที่แตกต่างไปจากยามปกติ เกิดความประหม่า สับสน กระวนกระวายใจ จึงแสดงออกมาไม่ตรงกับความตั้งใจของเขา มีหลุดรอดรั่วไหลของอาการกริยาแปลก ๆ ออกมาให้เห็น เช่น เขย่ามือ เขย่าขาไปมา ทำตัวอยู่ไม่สุข หรือ นิ้วมือไหวไปมา ทำมือเคาะเป็นจังหวะที่หน้าตักขา หรือกัดเล็บ เม้มริมฝีปากแน่น ขบริมฝีปากหายเข้าไปในปาก หรือเอามือปิดหรือลูบปาก หรือ กอดอกจับบีบแขนแน่น กำมือกอดอกซ่อนไว้ใต้แขน เนื่องจากอยู่ในภาวะความกดดันตึงเครียด เป็นต้น
  • Pinocchio Effect ปฏิกริยาอาการพีน็อคคีโอ่ โกหก แล้วจมูกยาวขึ้น ภาษาทางกายด้านลบไม่ดี (Negative Body Language) ที่มีผลต่อร่างกายและจิตใจแล้ว ทำให้แสดงออกมาเมื่อตอนโกหก
  • - เมื่อโกหก จะรู้สึกคัน ระคายเคืองที่ จมูก เพราะมีเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น ที่จมูก และส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า แก้ม กราม คาง ลำคอ หู ปาก ทำให้เกิดอาการ คันทางจิต จึงต้องเกา ลูบ สัมผัส โดยเฉพาะที่จมูก
  • - ปิดปาก จับสัมผัส ลูบ มือครอบคลุม ป้องปิดที่ปาก เพื่อป้องกัน ขัดขวาง ไม่ให้พูดโกหก
  • - ปิดหู จับสัมผัส ลูบ เกา มือปิดที่หู เพื่อไม่อยากได้ยินคำพูดโกหกของตนเอง
  • - ปิดตา จับสัมผัส ลูบ เกา มือปิดที่ตา หรือ คิ้ว บ่งบอกถึง การหลีกเลี่ยงไม่อยากสบสายตา มองก้มต่ำ หรือมองไปทางอื่น
  • - เมื่อโกหก เขาจะรู้สึกอึดอัดใจ เหงื่อออก เพราะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและใบหน้า ศรีษะ หน้าผาก ขมับ จมูก ริมฝีปากบน หลังหู เหงื่อออกซึมไหลออกมาเยอะกว่าปกติ ทำให้รู้สึกไม่สบาย เกิดอาการคัน ทำให้เขาต้องเกา ลูบ ปาดเช็ดเหงื่อ ขยับคอเสื้อ เนคไท เพื่อให้ตัวของเขารู้สึสบายขึ้น
  • - แกล้งไอ แกล้งจาม แกล้งกระแอมเคลียร์ลำคอ เพราะรู้สึกไม่ดี คอแห้ง ปากแห้ง ใจสั่น เมื่อเวลาโกหก
  • - การนำมือ เกา ลูบ สัมผัสที่ส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า ต้องแยกแยะให้ออกว่า เกิดจากคันจริง ๆ ทางร่างกาย (Physical) หรือ คันเพราะปฏิกริยาที่โกหก (Lying or Pinocchio Effect) หรือ คันเพราะผลกระทบทางจิตใจแสดงออกอารมณ์หลัก (Core Emotion) จะได้ตรวจสอบให้แน่ใจ ชัดเจนว่าเกิดคันทางกายจริง หรือเกิดจากคันทางจิต
  • § คัน จริงทางร่างกาย (Physical)  อาการร้อน มีเหงื่อออกมามาก หรือ แมลง ยุงกัด ทำให้คัน ระคายเคือง การเกา สัมผัส จะค่อนข้างแรง และเร็ว ขยี้เน้นเกาให้หายคัน ที่เกิดจากการระคายเคืองทากาย
  • § คัน เพราะปฏิกริยาที่โกหก (Lying or Pinocchio Effect) เลือดไปเลี้ยงที่ส่วนนั้นมากขึ้น อุณหภูมิเพิ่มขึ้น มีเหงื่อซึมออกมา ที่เกิดจากภาวะทางจิต ที่รู้สึกไม่สบายใจ อึดอัดลำบากใจ กระวนกระวายใจ มีความคับข้องใจที่ต่อสู้กันภายในจิตใจ จึงเกิดความเครียดกดดัน ทำให้จิตไปสั่งงานสมองปรับสมดุลให้ร่างกาย บรรเทาคลายความกดดันตึงเครียด จึงเกิดอาการคันทางจิต ที่ต้องหาทางระบายความอัดอั้นออกมาด้วยการ เกา ลูบ สัมผัส ส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า แต่ลักษณะการเกา นั้น จะเกาเบา ๆ และช้า ๆ ไม่ได้เกาให้หายคัน แต่เป็นการระบายความระคายเคืองทางจิตใจมากกว่า หรือเพียงแค่ลูบสัมผัสเท่านั้น เพื่อปรับสมดุลทางจิตใจ ทำให้เขารู้สึกสบายใจขึ้น
  • § คัน เพราะผลกระทบทางจิตใจ (Core Emotion) หงุดหงิด ไม่พอใจ เกิดความคับข้องใจ ที่ไม่สามารถกระทำได้ดั่งใจต้องการ ผิดหวังจากที่คาดการณ์ไว้ คัน หัวร้อน เกาที่ลูบที่ศรีษะ หรือหลังคอ เกาลูบเร็วไม่ได้เน้นที่น้ำหนักเลย แสดงถึงความไม่พอใจ หัวร้อน เพื่อเป็นการระบายอารมณ์ ความคับข้องใจ
  • § ปิดปาก (หรือจับสัมผัสบางส่วน) เพราะช็อคได้ยินข้าวร้าย ตึงเครียด กลัว วิตกกังวล
  • § ปิดหู (หรือจับสัมผัสบางส่วน) เพราะไม่อย่างได้ยินเรื่องที่ไม่ดี หรือ ไม่อยากได้ยินสิ่งที่ตนเองยอมรับไม่ได้ ไม่เห็นด้วย
  • § ปิดตา (หรือจับสัมผัสบางส่วนที่ตาหรือคิ้ว)  ไม่อยากเห็น เพราะกลัว ขยักแขยง ไม่กล้ามอง
  • § ปิดจมูก (หรือจับสัมผัสบางส่วน) เพราะไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ ไม่ชอบ
  • - เมื่อแยกแยะออกแล้ว ต้องดูอย่างอื่นที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปถึงการโกหก ลักษณะการแสดงออกทางสีหน้า แววตา สิ่งที่เขาพูดตอบคำถาม เรื่องราวที่เขาพูดถึง มีความเป็นไปได้เป็นจริงได้แค่ไหน มาประกอบการพิจารณาในการประเมินว่าเขาโกหกหรือไม่ มีความสอดคล้องตรงกันไหมของภาษาพูด ภาษาทางสีหน้าตา และภาษาทางกาย เป็นเรื่องเดียวกันไหม
  • - โกหก ออกมาเป็น ภาษาพูด คำพูด
  • § พูดเกินจริง พูดไปเรื่อยเปื่อย พูดมากกว่าปกติ บางที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังคุยสนทนากันอยู่เลย พูดนอกเรื่อง หลีกเลี่ยงไม่พูดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่เขาโกหก
  • § หาเหตุผลแก้ต่าง แก้ตัว สารพัด ชักแม่น้ำทั้งห้า
  • § ยืนยัน สัญญา สาบาน ว่าตัวเองพูดความจริง ไม่ได้โกหก แต่จริง ๆ แล้ว โกหกอยู่
  • § โกหกด้วยการละเว้นไม่พูดถึง เปลี่ยนเรื่องคุยซะงั้น พยายามเบี่ยงเบนความสนใจไปพูดเรื่องอื่นแทน
  • § การเปลี่ยนเรื่อง เบี่ยงเบนความสนใจไปเรื่องอื่น ชักแม่น้ำทั้งห้า หาเหตุผลมา กลบเกลื่อน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้จับผิดเขาได้
  • § ปากแห้ง คอแห้ง ลูบคอ กลืนน้ำลายบ่อย พูดจาติดขัด
  • § น้ำเสียงเปลี่ยน ออกเสียงไม่ชัดเท่าที่ควรเป็น  หรือแกล้งพูดโมโนโทน เสียงราบเรียบจนเกินไป หรือ พูดเสียงขึ้นสูงเกินกว่าปกติมาก หรือ น้ำเสียงตึงเครียดเป็นซีเรียสจริงจังขึ้นมาในทันที
  • § พูดซ้ำ ย้ำ เน้น คำพูดบ่อย หรือ ตอบคำถามด้วยประโยคเดียวกันซ้ำกัน วนกลับมาตอนแบบเดิมอีก
  • § ไม่มีสมาธิ ให้ทวนคำถามซ้ำ ๆ หลายครั้ง หรือ "หา ถามอะไร ฉันไม่ได้ยิน ฉันไม่เข้าใจ ถามใหม่อีกครั้งได้ไหม" "ช่วยพูดอีกครั้ง ช่วยถามคำถามใหม่อีกครั้ง" เป็นต้น
  • § พูดไม่ค่อยออก "เออ อา ออ อื อือ ฉัน ผม ตัวฉัน ของฉัน"  เกิดความลังเลใจ กระอักกระอ่วน ว้าวุ้นในใจ หรือน้ำเสียงตะกุกตะกัก สะดุด ติดขัด ติดอ่าง ทั้งที่ปกติไม่เคยเป็น มัวแต่คิดสร้างเรื่องในหัว คิดประดิษฐ์สร้างเรื่องไม่ทัน คิดไม่ออก และเป็นการซื้อเวลา ยืดเวลาออกไป เพื่อให้ตนเองมีเวลามากขึ้นในการสร้างเรื่องในหัวได้ดีขึ้น
  • § นึกคำโกหก สร้างเรื่องอยู่ในหัว จึงดูเหมือนตอบสนองช้ากว่าปกติ คิดสร้างเรื่อง หรือคำพูดไม่ทันเหตุการณ์ ค้างชั่วขณะ Pause หรือ Freeze เหมือนถูกแช่แข็งไม่ตอบสนองไปชั่วขณะ ใช้เวลานึกคิดคำพูดค่อนข้างนาน  ก่อนจะพูดคำตอบออกมาได้
  • § แกล้งอารมณ์เสีย โกรธ โมโห พาลคนอื่น เพื่อเอาตัวรอด ไปจากสถานการณ์นี้ ใช้กลไกการป้องกันตนเอง ในทางที่ผิด Defense Mechanisms เพื่อให้ตัวเองรอดไปจากสภาวะคับข้องใจนี้
  • § ปฏิเสธ เสียงแข็งยืนกรานอย่างออกหน้าออกตา จริงจังเกินกว่าเหตุ หรือ ปฏิเสธด้วยภาษากายที่บอกว่า "เปล่านะฉันไม่ได้ทำ" ทำตาโตตาแป๋ว ยกคิ้วสูง ยกไหล่ขึ้นทั้งสองข้าง แบมือหงายผ่ามือ ผายมือออกข้างตัว เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามไม่สงสัยและไว้ใจเชื่อเขา แต่ความจริงเขาเป็นคนทำและกำลังโกหกเราอยู่
  • - กริยาการกระทำเพียงอย่างเดียว (Context) เนื้อหาบริบทที่ช่วยให้ความเข้าใจความหมาย อาจจะตีแปลความหมายเป็นอย่างนั้นจริงได้ แต่ต้องดู องค์ประกอบโดยร่วมด้วย (Clusters) อยู่ในกลุ่มหมวดหมู่อารมณ์หลักใด อยู่ในสถานการณ์แวดล้อมใด ณ ขณะนั้น รวมทั้งความสอดคล้องตรงกัน (Consequence) เป็นเรื่องด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ในระหว่างสัมภาษณ์งาน ว่าเขาประหม่า รู้สึกอึดอัด เพราะ ขาดความเชื่อมั่น ขี้อาย จริง หรือ อึดอัดใจ ไม่สบายใจเพราะโกหก พูดเกินความเป็นจริง ให้ตัวเองดูดี เพื่อให้ตัวเองได้งานในต่ำแหน่งที่สมัครงานไว้ หรือ ถูกตั้งคำถามที่ลงในรายละเอียดเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ใช้เวลานานในการสร้างเรื่องให้ดูดี กว่าจะตอบคำถามออกมาได้ ทำให้มีอาการเกร็งที่ใบหน้า ตากระตุก มุมปาก คิ้วกระตุก หรือจมูกย่น ขมวดคิ้ว หรือสัมผัส ลูบ เกาส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า ระหว่างสัมภาษณ์งาน ทั้งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นซึ่งบ่งบอกว่าเป็นสิ่งผิดปกติที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น ว่าเขามีความรู้สึกไม่สบายใจ ลำบากใจ กระวนกระวายใจ ออกมาให้เห็นจากท่าทางภาษาทางกาย เป็นต้น
  • Micro Expressions การแสดงออกปลีกย่อย (มีพิรุธ) ที่มีความผิดปกติแตกต่างจากอารมณ์หลัก

        เกิดจากความคับข้องใจ ไม่สบายใจ ไม่ปลอดภัย ไม่ชอบ ไม่พอใจ หงุดหงิดรำคาญ กระวนกระวายใจ กังวล ลำบากใจ  อันเนื่องจากการปรับตัวที่เกิดจากความตึงเครียดทางอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติที่เขามีต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวในขณะนั้น ๆ เป็นการปรับตัว ปรับความสมดุล เพื่อบรรเทาผ่อนคลาย ให้หายจากความตึงเครียด ด้วยการเปลี่ยนท่าทาง หรือแสดงออกเพื่อบรรเทาความคับข้องใจ (frustration) เพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น ได้ระบาย พลังงานส่วนเกินเหลือล้นออกไป ทำให้เขาสบายขึ้น กลับเข้าสู่สภาวะปกติได้อีกครั้ง

        การปรับสมดุลนั้น เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นการทำงาน สั่งงานด้วยสมอง เพื่อป้องกันตนเอง ปรับให้สมดุลทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางครั้งกริยาอาการบางอย่างก็ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สอดคล้องกับการแสดงออกอารมณ์หลักของเขา

        ความเครียด เก็บกด ฝืนไว้ บังคับ ปราบไม่ให้แสดงออกมา แต่มีความกดดัน เก็บกด พลังไว้ภายในจิตใจและร่างกายมากเกินไป สมองก็จะสั่งงานให้ผลักดัน ขับความเก็บกด ความเครียด ระบายมันออกมา เพื่อบรรเทา ระบายความเครียด ผ่านทางกริยาพฤติกรรมที่ไม่ปกติออกมา เพื่อปรับความสมดุลของจิตใจและร่างกายออกมา ให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความผิดแปลกแตกต่างและไม่สอดคล้องของการกระทำนั้นจากความผิดแตกต่างจากสภาวะในยามปกติ

        อารมณ์ที่แสดงออกมาจากความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของเขา ที่เขาพยายามปกปิดห้ามปราบไม่ให้แสดงออกมา แต่จะหลุดรอดกริยาออกมาให้เห็นในความแตกต่างจากพฤติกรรมที่เป็นปกติที่เขาพยายามแสร้งแกล้งทำให้ดูเหมือนไม่มีอะไรผิดปกติ แต่จะหลุดรั่วไหลให้เห็นในความไม่สอดคล้องไม่เข้ากัน เป็นคนละเรื่องกับที่เขาแสดงออกมาอย่างชัดเจน

  • Detecting Micro Expressions (มีพิรุธ) จุดสังเกตุบนใบหน้าที่สำคัญ ของการแสดงออกปลีกย่อยที่ไม่สอดคล้อง

หน้าผาก คิ้ว ดวงตา จมูก ปาก และ การออกไม้ออกมือประกอบระหว่างการสนทนา Negative Body Language

  • - เมื่อไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือ ไม่เห็นด้วย
  • § ทำปากมุ้ย เบะปาก หน้าบูดบึ้ง
  • § จมูกย่น หลีกจมูกขยับยกขึ้นเล็กน้อยอย่างรวดเร็ว เหมือนแสดงความรังเกียจ
  • § ยกริมฝีปากบนขึ้นไป เกือบแตะจมูก
  • § หรื่อตามอง หรือ จ้องมองเขม็งตาขวาง
  • § เปลือกตาปิดหลับตาปี๋ เกร็ง แล้วจึงค่อยเปิดตากขึ้นมามองอีกครั้ง
  • § กลอกตามองไปมา ดวงตาแข็งกร้าว
  • § ขมวดคิ้ว สันจมูกย่น คิ้วเข้าหากัน
  • - ใบหน้าไม่สมมาตร
  • § ยิ้มเฝื่อน เจื่อน ไม่สมมาตร จังหวะในการยิ้มค้าง สะดุด ตอนคืนรูปหน้าเป็นปกติ ติดขัด จังหวะขาดตอน ไม่ราบลื่น
  • § ยิ้มเพียงครึ่ง เหมือนไม่เต็มใจยิ้มให้
  • § ยิ้มแต่ดวงตาไม่ยิ้ม ดวงตามีอาการเกร็ง ย่นยับที่เปลือกตาด้านในหว่างคิ้ว
  • § ความไม่เข้ากัน และไม่สมมาตรของใบหน้า เม้มริมฝีปาก กัดฟัน ใบหน้าเกร็งตึงเครียด
  • - เมื่อดูหมิ่นเหยียดหยาม อิจฉาริษยา รังเกียจ
  • § เยาะเย้ยหยัน แสยะมุมปาก หยักฉีกออกไปด้านข้าง เห็นลักยิ้มข้างปาก หรือ ฉีกยิ้มไปด้านข้าง
  • § จมูกย่นยกขึ้น คางเชิด
  • § มองลอดผ่านจมูก ดวงตากจิกลง
  • § อาการรังเกียจ เป็นสิ่งที่เด็ก ๆ หรือคนที่ไม่มีความอดทนทำตัวเป็นเด็กแสดงอออกมา เพื่อเป็นการยืนยันการโกหกของเด็ก ๆ ทำตัวประชดประชันต่อต้าน  ต่อคนที่มีสถานะที่สูงกว่า
  • - Guilty รู้สึกผิด อึดอัดลำบากใจ หรือ อับอายขายหน้า ละอายใจ ที่เกิดจากการต่อสู้กัน ระหว่างความดี และการกระทำผิด ที่มีอยู่ภายในจิตใจของตนเอง
  • § ก้มหัวต่ำ มองต่ำที่พื้น
  • § พยายามหลบเลี่ยงไม่กล้ามองสบสายตา
  • § สีหน้าออกแดง
  • § หน้าบูดเบี้ยว ไม่ได้รูปสมมาตร
  • § แสยะยิ้ม ฝืนยิ้ม ทำหน้าเจื่อน วางหน้าไม่ถูก
  • § คิ้วและหางตาตก คล้ายหน้าเศร้าเสียใจ แต่มีความตึงเครียดอยู่ด้วย เช่น เม้มริปฝีปากเข้าไปในปาก มีรอยย่นยับที่หน้าผาก เป็นต้น
  • - Stress and Tension เมื่อเกิดความตึงเครียด กดดันซีเรียส
  • § มีรอยย่นยับที่หน้าผาก
  • § คิ้วขมวด มีรอยหยักที่คิ้ว
  • § ตาหรี่ หลิ่วตามอง
  • § เม้มริมฝีปากแน่น หรือ เม้มริมฝีปากหายเข้าไปในปาก
  • § กัดฟันแน่น จนเห็นรอยย่นยับที่ปากและกราม
  • § ริมฝีปากสั่น คางสั่งเครือ
  • § มุมปากกระตุก สั่น เกร็ง หรือ ขยับมุมปากขึ้นออกไปด้านข้าง มุมหนึ่งของปากอย่างรวดเร็ว
  • § ใบหน้ามีการเกร็ง กราม แก้ม ขมับ คาง มีรอยยับ รอยบุ๋ม
  • § มือจับรัดบีบนวด ที่หน้าผาก ขมับ แก้ม คาง ปาก หรือมือกุมศรีษะ
  • § อัตราการเต้นของหัวใจเร็วถี่ขึ้น เพราะตื่นเต้น ลำบากใจ ไม่สบายใจ กดดัน
  • § ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจมีอวัยวะบางแห่งมีสีออกแดง
  • § หายใจแรง และ หายใจถี่ขึ้น ร่างกายต้องการอ็อกซิเจนมากขึ้น เพื่อไปปรับภาวะสมดุลให้ร่างกายกลับเป็นปกติ จนเห็นแผ่นอก ไหล่ ยกกระพรืบขึ้นลงอย่างชัดเจน
  • - บรรเทา ความเครียด
  • § กระพริบตาถี่ขึ้น หรือ หนังตากระตุก
  • § แก้ม กรามกระตุก
  • § คางยื่นไปข้างหน้า หรือ คางยื่นหันไปด้านข้าง
  • § ชบลิ้น ขบริมฝีปาก
  • § ดึง เสยผม จัดทรงผม จัดคอปกเสื้อ หรือจัดแต่งเสื้อผ้าทั้งที่ไม่ได้อยู่หน้ากระจก
  • § เอามือสัมผัส ลูบจมูก เปลือกตา คิ้ว ทำซ้ำบ่อย ๆ
  • § ระบายถอนหายใจ บางครั้งมีเสียง เฮ้อ ให้ได้ยินเสียงถอนหายใจอย่างแรง
  • § เหงื่อออกมากกว่าปกติ ที่มือ คอ หัว ตามใบหน้า
  • - Repeating กริยาอาการทำซ้ำ ๆ บ่งบอกถึงความประหม่า สับสนลังเล กระวนกระวายใจ อยู่ไม่สุข อึดอัดใจ วิตกกังวลใจ
  • § พูดซ้ำ ๆ พูดวกไปวนมา ซ้ำในเรื่องเดิม ประโยคเดียวกัน บ่อย ๆ
  • § เน้นคำสรรพนามแทนตนเอง "ฉัน ผม ของผม" บ่อยมาก
  • § เน้น คำว่า "ไม่" มากบ่อยครั้งเกินไป เช่น "ไม่,ไม่ใช่,ฉันไม่เคย" หรือ "ฉันไม่ได้ทำนะ แต่..." เนื่องจากในความคิดที่เขาสร้างเรื่องคิดแต่เรื่องไม่ดี ที่เป็นด้านลบอยู่ จึงคิดแต่คำว่า ไม่ รวมเน้นอยู่ที่หัว ทำให้พูดคำว่า ไม่ ออกมาบ่อยครั้ง
  • § ลูบ สัมผัส หรือ เกา ส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย บ่อย ๆ ซ้ำไปซ้ำมา
  • § พยักหน้าผงกหัว หรือ ส่ายหน้าไปมา บ่อย ๆ
  • § เคาะ ทำฟันกระทบกัน กัดฟัน
  • § เคาะนิ้วมือเป็นจังหวะ หรือ โบกนิ้วมือไหวไปมาเป็นคลื่น
  • § แกว่งมือไปมา
  • § กุมมือ ประสานมือ บีบมือ
  • § เขย่งขา เขย่าขาขึ้นลง หรือเขย่าขาส่ายไปมา
  • § ขาเคาะกัน ชนกระทบกันเป็นจังหวะ
  • § กัดเล็บนิ้วมือ หรือ ขบนิ้วมือ อม ดูดนิ้วมือ
  • § แกล้งไอ แกล้งกระแอม แกล้งจาม แกล้งหาว
  • § แกล้งทำเป็นยืดเส้นยืนสาย คลายความเมื่อยล้า บิดนิ้ว บิดมือ บิดสะบัดคอ บิดเอว นวดแขน นวดไหล่ เป็นต้น
หมายเลขบันทึก: 665281เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2019 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2019 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท