@chokdeemeechai
วิชาชีวิตเพื่อความมั่นคงทางจิตใจ โชคชัย คงบวรเกียรติ

อ่านจุดประสงค์เจตนาที่แท้จริงของคน ๆ นั้นให้ออก9 ตอน ภาษาทางร่างกาย Body Language (การอ่านภาษาทางกาย Reading Body Language)


ภาษาทางร่างกาย Body Language

        การอ่านคน ก็เหมือนการเปิดหนังสืออ่าน แต่การอ่านคนต้องอ่านจากภาษาพูด Verbal Language ประกอบกับ ภาษาทางกาย ว่าสื่อสารข้อความ มานั้น ตรงกับอารมณ์ที่แสดงออกผ่านสีหน้าตา Face Language  และภาษากาย Body Language เป็นเรื่องเดียวกัน สอดคล้องตรงกันหรือไม่

                Non-Verbal Language = Face and Body Language

                การติดต่อสื่อสารของคนเรานั้น  มีองค์ประกอบหลักสามอย่าง คือ

                ภาษาทางกาย 55 % Body Language การแสดงออกทางใบหน้า การสบสายตา การเคลื่อนไหวร่างกาย การวางท่วงท่า การสัมผัส การรักษาระยะห่างส่วนบุคคล ซึ่งภาษาทางกายนั้น มีทัศนคติ และอารมณ์ร่วมอยู่ด้วยกับ ภาษาทางกาย

                น้ำเสียง  38 % Voice Tone น้ำเสียง อัตราและระดับเสียงที่พูด จังหวะทำนองในการพูด เสียงสูงต่ำ การเว้นวรรคคำ การเน้นเสียงในบางจังหวะ เสียงที่ผิดแปลกไปเพราะความเครียดเสียงสั่นเครือ

                คำพูด 7 % Words คำพูดบทสนทนานั้นใช้จิตสำนึกในการนึกคำพูด ตีความหมาย

                ที่ไม่ใช้ภาษาพูด 93 % ภาษาทางใบหน้า และภาษาทางกาย นั้นโดยส่วนใหญ่ใช้จิตใต้สำนึกในการแสดงออก เพราะมันมาจากสมองระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นตัวสั่งการในการแสดงออก ส่วนภาษาพูดเป็นการใช้จิตสำนึกในการแสดงออกมาเป็นคำพูด

               

โดยอ้างอิงจาก Professor Albert Mehrabian มหาวิทยาลัย UCLA ผู้เขียนหนังสือ Non Verbal Communication (1972)

https://www.workplacestrategiesformentalhealth.com/mmhm/pdf/full_communicating_0.pdf

https://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Mehrabian

การอ่านภาษาทางกาย (Reading Body Language)

            การอ่านภาษาทางกาย สามารถที่จะรับรู้ ตัดสินใจ และหยั่งรู้ในการพัฒนาประสาทสัมผัส การตระหนักกำหนดรู้(สติสัมปชัญญะ ความสามารถในการพินิจพิเคราะห์ตระหนักเข้าใจความหมาย) ที่ได้รับและวิเคราะห์ในความหมายนัยของสัญญาณที่ไม่ใช่ภาษาพูด เพื่อให้สามารถอ่านคนอื่ได้ถูกต้อง ซึ่งต้องฝึกฝนตนเองให้กลายเป็นคนหยั่งรู้ เฉลียว และเข้าใจได้ อย่างไวต่อสิ่งกระตุ้น รู้สึกถึงได้ และตระหนักรู้ความหมายนัยเล็ก ๆ ที่เป็นตัวบอกเหตุ เบาะแส ที่สามารถอ่าน บรรยายภาพแทนคำพูด เป็นข้อความสื่อความหมาย ที่ออกมาจากภาษากายได้

***อดทน ค่อย ๆ อ่านไปเรื่อย ๆ นะครับ มองถึงจุดประสงค์หลัก ที่การอ่านคนจาก ภาษาทางกายให้ออก จะได้สามารถดูเจตนาความคิดทัศนคติที่เขามีต่อสิ่งต่าง ๆ ในขณะที่เขาแสดงภาษาทางกายออกมา สิ่งที่เขาพูด สิ่งที่เขาแสดงออกมา ว่าคิดด้านบวก มีความเป็นจริง หรือคิดด้านลบแสดงออกไม่ดี หรือ กำลังโกหกเราอยู่ ปกปิดซ่อนเร้น บอกเราแค่บางส่วน ปิดบังเรื่องไม่ดีเอาไว้ หรือเพื่อหวังให้ได้ผลประโยชน์จากเราด้วยการเบียนเบียนเอาเปรียบเราโดยที่เราไม่ทันสังเกต ไม่ทันตั้งตัว จนพลาดพลั้งถูกเขาหลอกลวงเอาได้ ***ภาษากายเป็นเรื่องของประสบการณ์ในการเรียนรู้และการสังเกต ตีความหมาย ซึ่งเราทุกคนก็มีประสบการณ์บางอยู่แล้วทุกคน เพียงแต่ไม่ได้ศึกษากันจริงจัง และไม่ค่อยเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากสิ่งนี้ จริง ๆ แล้ว มีผลต่อการอ่านใจคน ดูคนให้ออกได้เร็วและถูกต้องแม่นยำนั้น ต้องอาศัยประสบการณ์ที่สะสมมาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน และศึกษาเพิ่มเติมในชีวิตประจำวันในอนาคต เพื่อสะสมเพิ่มพูนประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต ที่จะต้องพบเจอปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากมาย หลากหลายรูปแบบ หลากหลายอาชีพ เพื่อเป็นการรวมองค์ความรู้พื้นฐานส่วนบุคคลของตัวเรา เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันต่อไป การเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบ***

การอ่านภาษาทางกาย

                1. เรียนรู้ และจดจำ สัญญาณบ่งบอก สามารถรู้ความหมายนั้นได้

                2. สังเกตการกระทำของเขา และรวบรวมเบาะแส เชื่อมโยงให้ได้มากที่สุด

                3. วิเคราะห์ทุกสิ่ง ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ กับ ภาพรวมที่เป็นจริง อย่าด่วนตัดสิน

                ด้วยการออกไปพบปะผู้คน สังเกต เรียนรู้ เปรียบเทียบ กับความรู้สึกของเรา ว่าถ้าเราอยู่ในอารมณ์นี้ เราจะแสดงออกอย่างไร เขาคนอื่นที่เราติดต่อด้วยเขาจะแสดงปฏิกริยาในอารมณ์เดียวกันอย่างไร อารมณ์ไหน ท่าทาง การเคลื่อนไหวอย่างไร แสดงถึง มีความหมายอย่างไร โดยปกติแล้วคนเราเติบโตมา ก็มีการเรียนรู้ภาษากาย จากการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวเราอยู่แล้ว แล้วเราก็มีประสบการณ์ในการอ่านคนได้พอสมควร เราใช้อารมณ์ในการคิด วิเคราะห์ ตีความหมายด้วยทัศนคติของเราที่ใช้อารมณ์ในการตัดสินตีความหมาย ถอดแปลภาษาทางกายเป็นข้อความออกมาจากความรู้สึกนึกคิดของเราเอง แต่ไม่ได้ใช้ความสามารถในการอ่านคนจากภาษากายอย่างจริงจังและวิเคราะห์จุดประสงค์เจตนาในการแสดงออกของเขาอย่างถูกต้องแม่นยำได้ถึงเพียงใด ตัวเราไม่ได้ตั้งใจศึกษาและทดลองเปรียบเทียบในความเป็นไปได้ในการอ่านคนได้ถูกต้องเที่ยงตรงหรือไม่ คนปกติจะใช้ความรู้สึก ไม่ใช่สัญชาตญาณที่แท้จริงจิตสำนึกในการหยั่งรู้ในการอ่านความคิดคนจากภาษาทางกายเท่าที่ควรเป็น

                ต้องใช้สติสัมปชัญญะ ความพยายาม ที่จะอ่านความหมายของท่าทาง วิธีการพูด การแสดงออกทางสีหน้า การเคลื่อนไหว และท่วงท่า ต้องฝึกฝนตัวคุณให้มองเห็นถึงสัญญาณ ต้องใช้เวลา โฟกัสในการอ่านภาษากาย และต้องมีความตั้งใจที่ทำด้วยความเป็นธรรมชาติและไหลลื่นต่อเนื่องใช้สติสมาธิในการสังเกต เพิ่มความสนใจ ทำใจให้โล่ง สงบ ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปสุ่มคิดเออเอง หรือต้องไปวางแผนคิดมากมาย แค่โฟกัสไปที่ ณ เวลาปัจจุบันที่เกิดขึ้นก็พอแล้ว

                ประสบการณ์ที่มหัศจรรย์ หลังจากที่คุณรู้สึกผ่อนคลายและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม คุณจะมีระบบประสาทสัมผัส การหยั่งรู้ที่เฉียบคม และจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอย ๆตัวได้ลึกซึ้ง และกว้างขวางมากขึ้น ต้องใช้ความพยายามในการฝึกฝน และมีคุณค่าที่จะทำมันให้สำเร็จ ด้วยความอดทน สังเกต ศึกษา เปรียบเทียบ ทำจนเป็นกิจวัตรประจำวัน จะเกิดความชำนาญในทักษะการสังเกตจับจุดที่มีความผิดปกติได้อย่างเห็นได้ชัด ปลุกสัญชาตญาณในการตระหนักรู้เท่าทันเหตุการณ์สภาพแวดล้อม

                การอ่านภาษกาย เหมือนกับ การเล่น 20 คำถาม กับตัวคุณเอง เริ่มมองหาเบาะแส เกี่ยวกับ คนอื่นด้วยการเฝ้าสังเกต ภาษาทางกายด้วยความเอาใจใส่ สนใจฝึกฝนจนชำนาญใช้ได้คล่องแคล่ว ที่จะมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น

                องค์ความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่อดีตเพื่อช่วยในการอ่านภาษากาย

                1. คนเราเกิดมาก็อาศัยอยู่ในสังคม และเรียนรู้ จดจำ ภาษากาย (ตั้งแต่แรกเกิดมาลืมตาดูโลก) ก็เข้าใจ ภาษกาย เราทุกคนสามารถที่จะแสดงความพอใจ ยิ้มได้โดยไม่ต้องมีใครมาสอน เพียงแต่เรารู้สึกและแสดงออกมาได้เองด้วยสัญชาตญาณ เราสามารถที่จะพิจารณาภาษากาย ชี้แนะบ่งบอกให้เราเข้าใจที่จะมองหา ค้นพบ สัญญาณจากภาษากายได้

                2. เราเรียนรู้จากประสบการณ์ของเรา ออกไปข้างนอกพบปะผู้คน ในการสังเกต คนที่เราติดต่อด้วย ว่าเราแสดงอารมณ์ผ่านภาษากายแบบนี้ คนอื่น ๆ ในสังคมจะแสดงแบบเดียวกับเราไหม นำมาเปรียบเทียบกับตัวเรา และจดจำ และระมัดระวังตระหนักรู้ได้ถึงความหมายที่เรารู้สึกได้ เพิ่มทักษะในการอ่านอย่างชำนาญมากขึ้น ใช้เวลาทั้งชีวิตในการศึกษาฝึกฝนการอ่านคนเป็นองค์ความรู้ระยะยาวบ่มเพาะความสามารถในการอ่านคนตลอดชีวิตของตัวเรา และต้องใช้สิ่งนี้ในการดำรงชีวิตของเราด้วยในการอ่านภาษาทางกาย รวมถึงอ่านความคิด อ่านเจตนาจุดประสงสงค์ของเขาที่แสดงออกว่าต้องการอะไรจากเรา ทำให้เรารู้เท่าทันคน ไม่ถูกหลอกลวงจากคนอื่น

องค์ประกอบในการเรียนรู้ภาษาทางกาย The 3 C's of Body Language

                1. Context เนื้อหา องค์ประกอบ สภาพแวดล้อม ในการช่วยให้เข้าใจตีแปลความหมาย การแสดงออกทางใบหน้า และ ลักษณะท่าทางภาษากาย

                2. Clusters มองหากลุ่มหมวดหมู่ของพฤติกรรมกริยาที่เขาแสดงออก สามารถแยกแยะ อารมณ์หลัก กริยาที่เป็นจริง และอารมณ์ปลีกย่อย ที่แสดงสื่อความหมายถึงกริยาสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติ ในพฤติกรรมนั้นได้

                3. Congruency ความสอดคล้อง ระหว่าง คำพูด การแสดงออกทางสีหน้าตา และการแสดงออกทางภาษาทางกาย มีความสอดคล้อง ไหลลื่น ไม่ติดขัด หรือเข้ากัน เป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าไม่สอดคล้อง ขัดแย้งกันจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนและสามารถตีความหมายในพฤติกรรมนั้นได้

                แล้วจะให้สังเกตสิ่งใดเป็นหลักล่ะ จากภาษาทางกาย

  • - สีหน้าตา(การแสดงออกทางอารมณ์) อารมณ์หลัก การแสดงออกปลีกย่อย สิ่งผิดปกติในการเปลี่ยนอารมณ์
  • - กริยาท่าทางการเคลื่อนไหว(การออกไม้ออกมือ การเคลื่อนไหวของร่างกายแบบใดหมายความว่าอย่างไร)
  • - การวางมาดท่วงท่า(การยืน นั่ง บ่งบอกทัศนคติของเขา) เขามีความสนใจ มีความตั้งใจจะแสดงออกอย่างไร
  • - การแนวโน้มศีรษะและลำตัว(แสดงความสนใจ การเข้าหาผู้คน หรือพยายามหลีกเลี่ยงถอยออกห่าง)
  • - การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล(ความสัมพันธ์ใกล้ชิด แบบสนิทสนม แบบพิธีการ หรือคนแปลกหน้า)
  • - ความสอดคล้องต้องกัน เป็นเรื่องราวเดียวกัน การแสดงออกทางสีหน้าภาษาทางใบหน้า และท่าทางภาษากาย สอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกันกับภาษาพูด ที่แสดงออกมา
  • - สิ่งที่เขาแสดงออกมาเป็นเรื่องจริง เชื่อถือได้ หรือ เป็นการโกหก หลอกลวง
  • - ประกอบเป็นภาพรวมให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของเขาได้

                ศึกษา สังเกต พฤติกรรมยามเขาปกติ ยามเขาผิดปกติ รวมถึง ความหมายของพฤติกรรมมีเอกลักษณ์เฉพาะในตัวของเขา

                การสังเกตนั้นอย่าด่วนตัดสินใจจากสัญญาณ หรือเบาะแสเพียงสิ่งเดียวที่ได้เห็น แต่ให้ดูสัญญาณอื่น ๆ ที่จะตามมาอีก อย่าพึ่งด่วนสรุป หรือสันนิษฐาน คาดการณ์ สมมุติฐานไปก่อนด้วยความอคติ หรือตีความหมายในพฤติกรรมนั้น ๆ ไปก่อนที่จะดูให้ครบจบ ให้ดูเป็นภาพรวมเหมือนจิ๋กซอว์มาประกอบเป็นภาพใหญ่ แต่จงใช้วิจารณญาณ สัญชาตญาณที่เปิดใจกว้าง ผ่อนคลาย ไม่เครียดไปกับมัน

                ลองสังเกตจากการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คน ลองดูโทรทัศน์ หนังภาพยนตร์ ปิดเสียง และพยายามทำความเข้าใจจาก ภาษากาย ว่าคุณจะเข้าใจในเรื่องราวหลัก ๆ ได้หรือไม่ แล้วลองย้อนกลับมาดูอีกครั้ง โดยเปิดเสียง ว่าคุณจะสามารถเดาภาษากายได้ถูกต้องไหม หรือ ดูภาพยนตร์ในภาษาที่คุณไม่รู้จักไม่เข้าใจความหมาย เช่น จีน สเปน อิตาลี โดยไม่มี Subtitle แปลความหมายเลย ให้ดูจากภาษากายของเขา โดยไม่ต้องรู้ความหมายของภาษาพูด แต่ให้ดูภาษากายล้วน ๆ ระดับความยากจะมากขึ้น ใช้ทักษะในการอ่านภาษากาย ยี่งทำให้คุณอ่านเจตนาของคนได้แม่นยำขึ้นไปอีก

                ให้สังเกต ความสอดคล้อง ระหว่าง สิ่งที่พูด กับ ภาษาร่างกายของผู้พูด เป็นเรื่องราวเดียวกันไหม ไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกันหรือไม่ ถ้าสอดคล้อง เชื่อถือได้ ถ้าไม่สอดคล้องขัดแย้งกัน ไม่น่าเชื่อถือ มีแนวโน้มว่าโกหก

หมายเลขบันทึก: 665272เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2019 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2019 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท