@chokdeemeechai
วิชาชีวิตเพื่อความมั่นคงทางจิตใจ โชคชัย คงบวรเกียรติ

อ่านจุดประสงค์เจตนาที่แท้จริงของคน ๆ นั้นให้ออก1 บทนำเรื่อง และ ตอน ภาษาพูด VERBAL LANGUAGE สื่อความหมายเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ จาการพูดสนทนา


อ่านจุดประสงค์เจตนาที่แท้จริงของคน ๆ นั้นให้ออก

  การจะอ่านจุดประสงค์เจตนาของคนที่เราติดต่อปฏิสัมพันธ์ออกนั้น ต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งคำพูด น้ำเสียง พฤติกรรมที่เขาแสดงออก ทางหน้าตา ปฏิกิริยาอาการ ท่าที ภาษาทางกาย รวมทั้งความจริงใจที่มีต่อเรา ว่ามีความแน่ชัดเพียงพอไหม ที่เราจะเชื่อใจไว้ใจเขาได้มากเพียงพอแค่ไหน กับที่เขาแสดงออกมาทั้งหมด ซึ่งบางคนที่เราติดต่อด้วยสามารถอ่านได้เร็ว บางคนแสดงออกแบบแอบแฝงบิดบังเจตนาที่แท้จริง ว่าเขามีความปรารถนาอยากได้อะไรจากเรา หรืออยากให้เราทำอะไรให้กับเชา ซึ่งถ้าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมก็ดีไป แต่ถ้าเจตนาของเขาไม่บริสุทธิ์ใจ คิดหวังอยากได้ทรัพย์สินหรือมีส่วนในผลประโยชน์จากเราโดยการกระทำผิดต่อตัวเรา เช่น หลอกลวง ฉ้อฉล หลอกล่อ ให้เสียเงินเสียทอง ให้กับเขา ซึ่งคนเอาเปรียบ คนขี้โกง หวังอยากได้ทรัพย์สินของเราเป็นของเขา ด้วยการไม่แสดงเจตนาที่แท้จริง กลับเอาความโลภความอยากได้มาล่อให้เราร่วมลงทุนหรือเล่นแชร์แล้วทำให้เราเชื่อใจตายใจ สุดท้ายโกงเงินหนีหายไป จึงทำให้เราจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิธีการอ่านจุดประสงค์เจตนาที่แท้จริงของคน ๆ นั้นให้ออก เพื่อจะได้รู้เท่าทันคน เท่าทันเหตุการณ์ ไม่ถูกคนไม่ดีมาหลอกลวงได้

ปกติคนเราเกิดมาก็ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เราใช้ความเคยชิน เพียงแต่ตัวเราไม่เคยนำมารวบรวมประมวลผลใหม่ หรือศึกษา ภาษาพูด การแสดงทางสีหน้า ภาษาทางกาย การจับโกหก พฤติกรรมโดยรวม นำมาเป็นองค์ความรู้ที่ได้มากจากการเรียนรู้ของตัวเรา นำมาประยุกต์ใช้ในการอ่านเจตนาของคนให้ออก ว่าเขาคนนั้นคิดจะทำเพื่อหวังสิ่งใดเป็นสิ่งตอบแทน สิ่งนั้นจะทำให้เราเสียหายเสียทรัพย์หรือไม่หวังดี หรือประสงค์ร้ายต่อเรา ตัวของเราเองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรียนรู้พัฒนาการอ่านจุดประสงค์เจตนาของคนให้ออก เพราะเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถเรียนรู้เพิ่มเติ่มได้จากชีวิตจริง อีกทั้งยังมีกรณีศึกษาให้ได้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิตไม่สิ้นสุด

ถึงกระนั้นต้องใช้การสังเกต การวิเคราะห์ อยู่เป็นประจำ ทำทุกวันก็จะเกิดความเคยชินและมีความชำนาญมีทักษะจนสามารถแยกแยะจุดประสงค์ของบุคคลนั้น ๆ ได้ เมื่อทำบ่อยครั้งสมองหรือกิริยาตอบสนองของเราก็จะสั่งงานโดยอัตโนมัติ ว่าควรจะแสดงออกอย่างไร ใช้คำพูดอะไร น้ำเสียงอย่างไร ควรเงียบและฟังอย่างตั้งใจ หรือปล่อยผ่านไป ที่สำคัญไม่ควรใช้อารมณ์ในทางไม่ดี หรือคิดในแง่ร้ายเกินไป มาอยู่เหนือความมีเหตุผล ในการเลือกตัดสินใจทำ หรือแสดงออก (แต่อย่าให้ความเคยชินนั้นเป็นความไม่เป็นกลาง และเข้าข้างตนเองมากเกินไป จนทำให้การอ่านคนนั้นผิดเพี้ยนไป ไม่ตรงกับความเป็นจริง ต้องหมั่นทบทวน สังเกต ฝึกฝน ปรับทัศนคติเป็นช่วง ๆ เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้ได้ในสถานการณ์ที่เป็นจริง)

อ่านจุดประสงค์เจตนาคนให้ออก

            1. ภาษาพูด คำพูด น้ำเสียง การเน้นคำ VERBAL LANGUAGE

                2. ภาษาการแสดงออกทางใบหน้า FACE EXPRESSIONS LANGUAGE

                3. ภาษาทางร่างกาย BODY LANGUAGE

                4. การจับโกหก TRUST OR LIAR

                5. บทบาท หน้าที่ สถานะของเขา POSITION OF STATUS

                6. ระดับความสัมพันธ์ RELATIONSHIP คำนึงถึงสัมพันธภาพระยะยาว อย่าด่วนตัดสัมพันธ์

                7. เขาต้องการอะไรจากเรา มีเจตนาอะไรแอบแฝงหรือไม่ INTENTION

                8. TRUSTWORTHY ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ลักษณะนิสัย พฤติกรรมของเขาในอดีต จนถึง ปัจจุบัน BEHAVIOR ที่มีต่อเราและคนรอบข้าง

                9. ความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ SINCERITY

                10. เปรียเทียบบทบาทสถานะของเขา สลับกับของเรา SWITCH POSITION OF STATUS รู้เขารู้เรา

                11. อ่านจาก JIGSAW องค์ประกอบทั้งหมดมาต่อเป็นภาพรวม ตีความ ตรวจสอบ ประเมินสถานการณ์

                12. การเลือกวิธีการตอบสนอง CHOOSE THE RESPONSE ยอมรับ ตอบรับ โต้ตอบ ต่อสู้ ปฏิเสธ หรือวางเฉย ขอเวลาคิด ประวิงเวลา (ถอย หรือ สู้ Flight or Fight)

1). ภาษาพูด VERBAL LANGUAGE สื่อความหมายเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ จาการพูดสนทนา

  • v คำพูด คำบอกเล่า คำถาม ดูเจตนาของคน ก่อนตัดสินใจ
  • o คำบอกเล่า  บอกกล่าว เล่าเรื่องราว คำบ่น  ตีความได้ดังนี้

                1. บอกกล่าวเล่าให้ฟังไม่ต้องการคำตอบหรือความคิดเห็นจากอีกฝ่าย แค่เป็นผู้ฟังที่ดีก็พอแล้ว

                2. เล่าเรื่องราวให้ฟัง แล้วต่อด้วยคำถามที่ต้องการความคิดเห็นหรือคำตอบจากเรา

                3. คำบ่น คำสบถ ที่เขาต้องการระบายออกมา แต่ไม่ต้องการคำตอบ หรือการแสดงโต้ตอบจากเรา

                4. คำด่า คำหยาบคาย คำสบถ บางครั้งก็ไม่ต้องการโต้ตอบ ปล่อยให้เขาแสดงออกมา ซักพักเมื่อเขาพอใจ สบายใจ ก็จะเงียบไปเอง

                5. คนบางคน ก็บ่น พูดกับตัวเองออกมาให้คนอื่นได้ยิน  จนบางครั้งเราคิดว่าเขาพูดบ่นกับเรา แต่เป็นเพียงพฤติกรรมแปลก ๆ ของเขา (เกือบจะทุกคนอาจจะมีอาการแบบนี้แต่ไม่ค่อยจะรู้ตัวเองหรือสังเกตเท่าไรนัก)  เราแค่เงียบเฉย ๆ เพราะมันไม่เกี่ยวกับเรา เขาคุยกับตัวของเขาเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับใคร (ยิ่งเด็กรุ่นใหม่ เล่นเกมพูดคำหยาบเสียงดัง ไม่ได้สนใจหรือเกรงใจคนรอบข้างตัวเลยแม้แต่น้อย จนตกใจนึกว่าเด็กด่าเรา ที่ไหนได้ เล่นเกมใส่อารมณ์อยู่ตัวขาเองคนเดียว)

                6. เรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเราเลย คนอื่นเขาคุยกัน สนทนากัน เถียงกัน ด่ากัน ทะเลาะกัน เงียบเฉยไว้ดีกว่า ถ้าเขาไม่ได้ทำให้เราเดือดร้อน นิ่งเฉยดีกว่า มันเรื่องของเขา ไม่เกี่ยวกับเรา ไม่ได้พูดถึงเรา ไม่ได้พูดกับเรา

                7. คำนินทา ว่าแดกดัน กระทบคราด ถ้าไม่ได้เอ่ยถึงเรา ชื่อของเราโดยตรง ไม่ต้องไปยุ่ง ไม่ต้องไปสนใจ คิดซะว่า หมาเห่า เราแปลความหมายไม่ออก แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับคนในครอบครัวของเรา ฟังไว้ ตรวจสอบว่ามีเค้าความเป็นจริงไหม ถ้าไม่เป็นจริงให้ปล่อยทิ้งไป รกสมอง เอาไปคิดถึงเรื่องที่มีสาระมากกว่านี้ดีกว่า (ถ้ามีเค้าความจริง อย่างที่เขาเม้าส์กัน หาข้อมูลให้แน่ชัดว่าจริง หาทางแก้ไขกันเองในครอบครัว ไม่ต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่โต)

(การบอกเล่า หรือเล่าเรื่องราว ควรจะยึดหลัก WHO WHAT WHEN WHY WHERE HOW AFFECT คือ ใคร ทำอะไร เมื่อไร อย่างไร ทำไม ที่ไหน อย่างไร มีผลกระทบ กับใคร เกี่ยวข้องกับตัวเราไหม) หรือใช้ในการฟังจับใจความแยกแยะสรุปได้ง่ายขึ้นว่าต้องการสื่อความหมายอะไรกันแน่

  • o คำถาม

            1. คำถามปกติที่ต้องการคำตอบ

                1.1 คำถามปิด คือให้ทางเลือกสองอย่าง แต่ต้องตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการยืนยันคำตอบและถือเป็นข้อตกลงแก่กัน เช่น ใช่ไหม ถูกต้องไหม เป็นต้น

                1.2 คำถามเปิด คือไม่มีทางเลือกให้ แต่ตอบคำถามได้โดยไม่ต้องระบุว่าใช่ ไม่ใช่ เป็นคำถามที่ต้องการฟังความรู้สึก หรือเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง ส่วนใหญ่เป็นคำถามประเภท อะไร  อย่างไร ทำไม ต้องทำยังไง เป็นต้น

                1.3 คำถามที่รอคำตอบ เพื่อชี้นำจะคุยสนทนาในเรื่องถัดไป "วันนี้ตอนเที่ยงกินอะไรดี" อีกฝ่ายตอบ "ขนมปัง" ผู้ถาม "จะไปซื้อที่ตลาด หรือ จะซื้อที่เซเว่นล่ะ"

                2. คำถาม ที่ไม่ต้องการคำตอบ เช่น ถามแบบหาเรื่อง "อยากลองดีใช่ไหม อยากเจ็บตัวหรือ" เลี่ยงคำตอบและพยายามถอยออกห่างดีที่สุด

                2.1 คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบอีกแบบหนึ่ง ลงท้ายว่า เหรอ เช่น ต้องการให้ทำอย่างนี้เหรอ เป็นคำถามแทนความหมายว่า ใช่ไหม แต่ไม่ต้องการคำตอบ เพราะมันมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ออกแนวประชด คำสบถ

                2.3 คำถามที่เป็นการทักทายตามอัธยาศัยมีไมตรี ไม่ได้ต้องการคำตอบจริงจัง แค่ทักทาย "สบายดีไหม" ,  "วันนี้เป็นยังไงบ้าง"  ก็แค่ตอบตามมารยาทในการทักทายประสาคนรู้จักกัน ไม่ได้ต้องการคำตอบจริง ไม่ต้องตอบตามความรู้สึกจริง ๆ ว่าไม่สบายใจ มีปัญหาต้องคิดหนักก็ไม่ต้องไประบายให้เขาฟัง เพราะจุดประสงค์ของเขาแค่ทักทายกันตามมารยาททางสังคมเท่านั้น

  • o คำอุทาน ที่ออกเสียงเพื่อแสดงอารมณ์สื่อความหมายออกมาตามเจตนารมณ์
    • แสดงความประหลาดใจ ในทางที่ดี Surprise "อุ๊ยตาย, ว้าว, ว้ายกรี๊ด, เอ๊ะ, เอ๋, โอ๊โอ, โอโห"
    • แสดงความสะเทือนใจ ตกตะลึง ในทางไม่ดี Shock "อุ๊ย, อุ๊ยตาย, ฮือ, อาฮะ, หา, เอ๊ะ, ต้ายตาย
    • ดีใจ พอใจ ชอบสมหวัง ได้ชัยขนะ "เย้, เฮ, ไฮ้, ไชโย่, เยส"
    • ไม่พอใจ ไม่ชอบ เสียใจ ผิดหวัง "ว้า, ห๊า, ว่าแล้ว"
    • เสียใจ เศร้า "ฮีอ, ฮา, อ้า" ลากเสียงยาว เสียงสั่นเครือ สั่นสะอื้น
    • ดูหมิ่นเหยียดหยาม "ถุย, ถุ๊ย, แหยะ,หยะแหยง, อี้, อี๊, โฮ, ฮิ้ว, ชิ้ว ๆ, ไป"
    • โกรธเคือง "แหม,เหม่, ชิ,ชิชะ,คำราม ฮีม"
    • กลัว ตกใจกลัว "ว๊าย, อุ๊ยตาย"
    • ได้รับบาดเจ็บ "อุ๊ย, โอ๊ย, โอย"
    • ร้องเรียก ทักทาย "เฮ้, เฮ้ย, ไฮ, ฮาย" และกล่าวลา "บาย"
    • เชิงหัวเราะ ร่าเริง "อาอะ อะอะ, อิอิ, ฮิฮิ, คลิก คลิ๊ก"
    • ตอบรับเข้าใจ เห็นด้วย "อาฮะ อาฮึ, อืม, อีอฮึ, ฮืม, ออ, อ้อ, อ๋อ, เออ, เหรอ, โอ, โอเค, ค่ะ, ครับ, จ๊ะ, จ๋าจ๊ะ"
    • ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ ไม่เห็นด้วย " ไม่, ฮืม, หือ, อึก, อ้า(เสียงสั่นเพราะส่ายหัว)
    • ถอนหายใจ ระบายความคับข้องใจ "เฮอ, เฮ้อ, ฮืม"
    • เชียร์ ให้ฮึด "สู้ ๆ, เฮ ๆ, ฮาไฮ้"
    • ปลอบประโลม "โอ๋ ๆ เอเอ้ "
    • สงสาร "โธ่ ๆ โอ้, โอ"
    • สงสัย แปลกใจ "หา,หือ, เอ่, เอ๋, เอ๋, เอ๊, เอ๊ะ, เหรอ, ฮึ, ฮีอ เอ๊ะเอ, โอ๊ะโอ" จะลากเสียงยาวกว่าหน่อย
    • คำอุทานมีอีกเยอะ กระผมขอยกตัวอย่างพอสังเขป จะได้เข้าใจตีความหมายของน้ำเสียง คำอุทานออกมา ว่าเขามีเจตนารมณ์ใด ที่สื่อความหมายให้เรารับรู้ได้

                    น้ำเสียงมีส่วนสำคัญในการสื่อสารความหมาย บอกอารมณ์ความรู้สึกที่แสดงออกมา เราควรจะใช้น้ำเสียงที่เหมาะสม คือน้ำเสียงที่แสดงความเป็นมิตร เป็นกันเอง น่าไว้ใจ ไม่ประสงค์ร้าย ไม่ห้วนไม่มีหางเสียง ไม่ประชดประชัน ไม่เย้ยหยันเหน็บแนม ไม่เสแสร้งดัดจริตหากเลือกใช้น้ำเสียงผิด ความหมายของคำหรือประโยคที่พูดก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ควรใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

    • o คำพูด ประโยคเดียวกัน  พูดด้วยน้ำเสียง และวิธีการต่างกัน ก็สื่อความหมายต่างกันไปได้

    คุณไม่ให้เกียรติผมเลย        

                    พูดน้ำเสียงที่ราบเรียบ โทนเสียงเดียวกัน  ตีความหมายว่า น้อยใจ หรือตัดพ้อ บอกเล่า

                    พูดน้ำเสียงเศร้า เสียงอ่อย ไม่ค่อยเต็มเสียง  ตีความหมายว่า น้อยใจ เสียใจ

                    พูดน้ำเสียง ที่เสียงสูงต่ำไม่เท่ากัน เน้นเสียงหนักแน่น หรือใส่อารมณ์ ตีความหมายว่า ไม่ชอบ ไม่พอใจ สิ่งที่เราทำกับเขา

    • o การเปลี่ยนสรรพนามแทนบุคคลต่างไป ก็เปลี่ยนนความหมายได้

    มึงไม่ให้เกียรติกูเลย             

                    พูดน้ำเสียงที่ราบเรียบ โทนเสียงเดียวกัน เสียงไม่ดัง ตีความหมาย พูดกับเพื่อนแบบน้อยใจ หรือเตือนเพื่อน

                    พูดน้ำเสียงเศร้า เสียงอ่อย เสียงสั่น ไม่ค่อยเต็มเสียง  ตีความหมายว่า น้อยใจ เสียใจ

                    พูดน้ำเสียง ที่เสียงสูงต่ำไม่เท่ากัน เน้นเสียงหนักแน่น หรือใส่อารมณ์ ตีความหมายว่า ชวนทะเลาะ ไม่พอใจ

    ถ้าพูดกับเพื่อนที่สนิท หรือคนใกล้ชิด ความหมายจะเปลี่ยนจากการชวนทะเลาะ เป็นการแสดงออกถึงไม่พอใจ หรือตักเตือนเพื่อน

    แต่ถ้าพูดกับคนแปลกหน้า หรือ คนไม่รู้จักกันมาก่อน หมายถึง ชวนทะเลาะวิวาท หาเรื่องใส่ตัว

    • o การออกคำสั่ง  

                    โดยปกติคนที่ใช้มีสถานะสูงกว่าเรา  เช่นเป็นพ่อแม่ พี่ หรือผู้บังคับบัญชา หรือเรามใช้กับคนที่มีสานะต่ำกว่าเรา เช่น น้อง ลูก หลาน ผู้ใต้บังคับบัญชา  ใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นชัดถ้อยชัดดำ สื่อได้ชัดเจน  ไม่ใช้อารมณ์ก้าวร้าว ฉุนเฉียว หรือว่ากล่าวเสียงดังจนเกินไป เพราะผู้รับฟังปฏิบัติตามคำสั่งอาจทำตามด้วยความไม่พอใจได้  ควรให้น้ำเสียงที่เป็นมิตร ผลที่ออกมาจะดีกว่ามากนัก

                    ไหว้วาน หรือใช้งานคนอื่น  สถานะมากกว่า หรือเทียบเท่ากัน ต่ำกว่าเรา  ก็ควรใช้คำพูดและน้ำเสียงที่สื่อความหมาย เป็นมิตรเป็นกันเอง เสียงอ่อนหวาน เสียงอ้อน แสดงออกในเชิงขอร้องให้ช่วยเหลือทำงานให้หน่อย ฝ่ายผู้รับฟังคำสั่งก็ทำตามด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ทำตาม แต่ในหัวคิดคัดค้านเป็นปรปักษ์ด่าอยู่ในใจ

    • การใช้ถ้อยคำที่แตกต่างกันก็ส่งผลต่างกัน  ตัวอย่างเช่น

    ไปซื้อของให้หน่อย

    ช่วยไปซื้อของให้หน่อยนะ

    ช่วยไปซื้อของให้หน่อยนะครับ(นะค่ะ)

    รบกวนช่วยไปซื้อของให้ผมหน่อยครับ

    กรุณาช่วยไปซื้อของให้ผมหน่อยนะครับ

    ผมขอรบกวน ช่วยกรุณาไปซื้อของให้ผมหน่อยครับ

    ใช้ประโยคกลาง ๆ  ช่วยไปซื้อของให้หน่อยนะครับ

    ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ ประสบการณ์ วิจารณญาณในการเลือกใช้ปฏิบัติ ให้ถูกกาลเทศะ จะออกมาเป็นผลดี ที่ได้รับกลับมาอย่างดีแน่นอน

    • o การเว้นวรรคคำ ภาษาไทยนั้น การเว้นวรรค หยุดเว้นระยะแล้วพูดต่อ ในประโยคเดียวกัน ความหมายก็แตกต่างกันได้

    คุณสวยดีอยู่แล้วใจดีมีเมตตาไม่มีพิษเป็นภัยกับใคร

    คุณสวย ดีอยู่ แล้วใจดี มีเมตตาไม่ มีพิษ เป็นภัย กับใคร

    คุณ สวยดีอยู่แล้ว ใจดี มีเมตตา ไม่มีพิษเป็นภัย กับใคร

    • o การเน้นน้ำหนักคำในประโยค ที่ต่างกัน ความหมายก็สื่ออีกแบบหนึ่งได้ ควรเน้นที่ สรรพนาม กริยา การแสดงความเป็นเจ้าของ คำที่คุณต้องการแสดงออกอย่างขัดเจน

    คุณเป็นคนดี ช่วยทำความสะอาดบ้านให้ฉันด้วยนะจ๊ะ  เน้น คนดี ขอบคุณที่ช่วยทำให้

    คุณเป็นคนดี ช่วยทำความสะอาดบ้านให้ฉันด้วยนะจ๊ะ เน้น คล้ายออกคำสั่งให้ ช่วยทำความสะอาด

    คุณเป็นคนดี ช่วยทำความสะอาดบ้านให้ฉันด้วยนะจ๊ะ                เน้น คุณเป็นคนดี ถ้าทำความสะอาด

    คุณเป็นคนดี ช่วยทำความสะอาดบ้านให้ฉันด้วยนะจ๊ะ                เน้น เป็นคำสั่ง คุณ ทำความสะอาดบ้านให้ฉัน

    คุณเป็นคนดี ช่วยทำความสะอาดบ้านให้ฉันด้วยนะจ๊ะ เน้น เป็นการขอบคุณที่ทำให้ฉัน

    • o ผู้พูดคนละคน ความหมายเปลี่ยน คำพูดประโยคเดียวกัน แต่ออกมาจากปากคนละคน สถานะต่างกัน พูดออกมาผู้รับฟังความรู้สึกต่างกันไป ตามความเชื่อถือ และความคิดเข้าข้างตนเองของเขา

    "คุณนี่เก่งจัง จัดการปัญหายาก ๆ ได้ น่าชื่นชม" ได้ยินคำพูดประโยคเดียวกัน

    • - จากปากเพื่อนสนิท แสดงถึง เขาชมอย่างจริงใจ
    • - จากปากเพื่อนไม่สนิท แสดงถึง เขาแกล้งชม หรือ มีเลศนัยแอบแฝง
    • - จากปากคู่อริ ที่ไม่ถูกกัน แสดงถึง เขาดูถูก ดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือ อิจฉาริษยา หรือ ประชดประชัน
    • - จากปากของแฟน แสดงถึง ชื่นชมในความสามารถคุณจริง
    • -  ความรู้สึกต่างกันมาก จากปากคนที่คุณไม่เชื่อถือ รู้สึกไม่ดีต่อเขา
    • - กับ จากปากคนที่คุณเชื่อถือ ไว้วางใจ รู้สึกดีต่อเขา ความรู้สึกที่ได้ยิน คุณตีความหมายต่างออกไปทั้งที่ประโยคเดียวกัน มันให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน กับคนที่รู้สึกไม่ดีต่อเขา เขาพูดรู้สึกดีแค่หน่อยเดียว แต่กับคนที่มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทำให้รู้สึกดีมาก ๆ

    ในบทนี้ ภาษาพูด กระผมขอกล่าว เน้นที่ การอ่านเจตนาอารมณ์ที่เขาแสดงออก เพื่อที่เราจะได้ทำเข้าใจสิ่งที่เขาพูด อ่านวัตถุประสงค์ของเขาได้ถูกต้อง จากที่เขาตั้งใจสื่อความหมายในคำพูดออกมา

    ดูจากประโยค บทสนทนาทั้งหมด จับใจความ ดูวัตถุประสงค์ ของเขาว่าต้องการอะไรกันแน่ ถ้าไม่มั่นใจ ถามเขากลับไปได้เลยตรง ๆ ดีกว่า เพื่อจะได้สรุปสิ่งที่พูดมาทั้งหมดว่าต้องการอะไรจากเรา ให้เขาพูดเข้าเป้าตรงประเด็นสำคัญ ในเจตจำนงความมุ่งหมายของเขาจริง ๆ

    • v น้ำเสียง เสียงหนักเบา และ จังหวะในการพูด
    • o Tone of Voice น้ำเสียงในการพูด

                บ่งบอกถึง ความรู้สึกของผู้พูดต่อเรื่องราวสิ่งที่เขาพูด และการสร้างบรรยากาศในการสนทนาต่อผู้รับฟัง เปรียบเหมือนดนตรีประกอบเรื่องราวในภาพยนตร์ให้สอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน ในแต่ละสถานการณ์ และในแต่ละบรรยากาศสภาพแวดล้อม

    • - The Four Dimensions of Tone of  Voice (โดย Jakob Nielsen นักการตลาดที่ทำการวิจัย เกี่ยวกับน้ำเสียงของผู้เขียนบทความทางสื่อออนไลน์  Tone of Voice in online copywriting) ซึ่งกระผมของนำหลักการมาใช้ประยุกต์ปรับใช้ในเรื่อง น้ำเสียงของคำพูดที่ใช้สื่อความหมายในการพูดสนทนา ถึงบรรยากาศในการสนทนา
    • Humor (Funny VS. Serious) อารมณ์ขัน(สนุกสนาน กับ จริงจัง)
    • § อารมณ์ขัน สนุกสนาน รื่นเริง สบายใจ น้ำเสียง จะผ่อนคลายมีความเป็นกันเอง เป็นตัวของตนเอง มีน้ำเสียงขึ้นลง ครื้นเครง เสียงดัง หัวเราะ ครึกครื้น อึกทึกไปบ้าง เสียงผ่อนคลายเป็นไม่เกร็งไร้กังวล
    • § จริงจัง เคร่งครัด เคร่งขรึม น้ำเสียงจริงจัง เน้นเสียงหนัก เสียงทุ่ม แน่นหนัก เสียงแข็งค่อนข้างจริงจัง
    • Formality (Formal VS. Casual) (เป็นทางการพิธีการ กับ ไม่เป็นทางการสบายเป็นกันเอง)
    • § เป็นทางการพิธีการ น้ำเสียง นุ่มลึก พูดชัดถ้อยชัดคำ เน้นเสียงดังฟังชัด ออกจะเกร็ง และเกรงใจกลัวว่าตนเองจะพูดไม่ถูกกับกาลเทศะในสถานการณ์ที่เป็นทางการ คำนึงถึงผู้อื่นค่อนข้างมาก
    • § ไม่เป็นทางการ สบายเป็นกันเอง น้ำเสียง เป็นกันเอง สบาย ๆ ในบรรยากาศผ่อนคลาย เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องหวั่นวิตกกังวลกับคนอื่นรอบข้าง
    • Respectfulness (Respectful VS. irreverent) (มีความเคารพนับถือให้เกียรติ กับ ไม่เคารพนับถือ ไม่ให้เกียรติต่อต้าน)
    • § มีความเคารพนับถือ ให้เกียรติแก่กัน น้ำเสียง ราบเรียบ นุ่มนวล พูดชัดถ้อยชัดคำแต่ไม่เสียงดังเกินไป เกรงใจ มีความสุภาพ เคารพอ่อนน้อมถ่อมตน
    • § ไม่เคารพนับถือ และไม่ให้เกียรติแก่กัน รู้สึกต่อต้าน ขัดขืน น้ำเสียง แข็งกร้าว ขึ้นเสียงดัง พูดแรงและใส่อารมณ์ความรู้สึกก้าวร้าว
    • Enthusiasm (Enthusiastic VS. Matter of Fact  / apathetic) (กระตือรือร้น กับ เฉย ๆ ไม่แยแสไม่ใส่ใจ)
    • § มีความกระตือรือร้น สนใจ น้ำเสียง ดังขึ้นและสูงขึ้นในบางจังหวะ ค่อนข้างเร้ากระตุ้นอารมณ์ ก่อให้เกิดความสนใจน่าเข้าหาอยากรู้อยากเห็น การมีส่วนร่วม ในเรื่องที่พูด
    • § เฉย ๆ ไม่ใส่ใจเท่าที่ควร น้ำเสียง ราบเรียบ ออกโมโนโทน เสียงเดียวตลอด ฟังดูเบื่อหน่าย ไม่มีความน่าสนใจในเรื่องราวที่พูด ไม่น่าติดตาม
    • - พูดเสียงราบเรียบปกติ เน้นคำบางบ้างคำในประโยค เป็นการพูดปกติ ที่ดูเป็นทางการ
    • - พูดเสียงโมโนโทน ราบเรียบเกินไป ไม่มีเน้นน้ำหนักในบางคำของประโยคเลย อาการเบื่อหน่าย หรือ ทำตัวฝืน เวลามีพิรุธ
    • - พูดเสียงสูงมากผิดปกติ ใส่ใจ สนใจอยากรู้อยากเห็น หรือ โกหกอยู่ เสียงสูงตอนท้ายของคำตอบ
    • - พูดเสียงต่ำ เกินปกติ เบื่อหน่าย เหนื่อยหน่าย เมื่อยล้า อ่อนแรง เพลียหมดแรง  หรือ ล้อเลียน หยอกล้อ ขี้เล่น
    • - เสียงสั่นเครือ บ่งบอกถึง วิตกกังวล กลัว
    • - เสียงสะอึกสะอื้น ขาดช่วงบางตอน เสียใจร้องไห้

    https://www.nngroup.com/articl...

    https://www.knowledgeowl.com/home/four-dimensions-of-tone-of-voice 

    • o Emotional of Voice น้ำเสียงแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ต่อเรื่องราวสิ่งที่พูด
    • - Happiness มีความสุข สนุกสนาน น้ำเสียงสดใส แสดงอารมณ์อย่างเต็มใจ เปิดใจ สบายใจ รู้สึกดี สนุก ร่าเริง  ครื้นเครง   หัวเราะครึกครื้น
    • - Sadness ความเศร้า เสียใจ น้ำเสียงอ่อย เบาลง พูดช้าลง เศร้าสร้อย
    • - Excitement ตื่นเต้น เร้าอารมณ์ เสียงดังเสียงสูงขึ้น เร่งเร้า พูดจังหวะเร็วขึ้น
    • - Boredom เบื่อหน่าย น้ำเสียง ราบเรียบ ช้า กว่าปกตินิดหน่อย
    • - Rapport เป็นมิตร น้ำเสียงสุภาพอ่อนหวาน พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง นุ่มนวล แสดงความอยากเป็นมิตรไมตรีจิต
    • - Antagonize เป็นปรปักษ์ ต่อต้าน เถียง ขึ้นเสียง เสียงดัง กระชากเสียงเน้นเสียงใส่อารมณ์ความรู้สึกต่อต้าน เป็นปรปักษ์ ไม่กลัวเกรง
    • - Love and Care ความรัก และ ใส่ใจดูแลปรารถนาดี น้ำเสียงนุ่มนวล แผ่วเบาแต่ฟังชัด อ่อนหวาน เอ็นดูมีเมตตา เห็นอกเห็นใจ พูดจาดีต่อกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
    • - Aggression ก้าวร้าว ชวนทะเลาะ น้ำเสียงแข็งกระด้าง ห้วน กระแทกเสียง ใส่อารมณ์ โกรธ โมโห เร่งเร้า กระตุ้นอารมณ์โต้เถียงด่าทอ ชวนทะเลาะ หาเรื่อง เกิดวิวาท ทำร้ายด้วยวาจาและทำร้ายร่างกายฝ่ายตรงข้าม
    • - รังเกียจ ชิงชัง ดูหมิ่นเหยียดหยาม อิจฉา ริษยา น้ำเสียง สูงกว่าปกติ อวดดี ดูหมิ่นดูถูก เหยียดหยาม หรือ ต่ำกว่าปกติ เยาะเย้ยถากถาง ขู่คำราม  รังเกียจ ขับไสไล่ส่ง
    • - ชื่นชม ยินดี คำชม สรรเสริญ ยกย่อง น้ำเสียงผ่อนคลาย หนักแน่น แต่อ่อนโยน
    • - ตำหนิ ติเตียน กล่าวโทษให้ร้าย น้ำเสียงดัง แค่น กระชากเสียงสูงช่วงท้าย

    น้ำเสียง บ่งบอก ความรู้สึก ของคนที่พูด และเป็นการชี้นำชักจูงใจในการสร้างบรรยากาศในการสนทนาต่อผู้รับฟัง

    Tempo and Rate of Speech จังหวะและอัตราความเร็วในการพูด ตรงกับอารมณ์ที่สื่อความหมายออกมา

    • - พูดช้า หมายถึง สงบ ยอมรับยอมจำนน หรือ เป็นทางการ หรือ เบื่อหน่าย
    • - พูดช้ามาก หมายถึง ไม่มีพลังไม่มีชีวิตชีวา เหงาหงอย เศร้า เซื่องซึม เกียจคร้าน ไม่สนใจ ไร้อารมณ์ ไม่แยแส
    • - พูดเร็ว หมายถึง กระตือรือร้น มีชีวิตชีวา ตื่นเต้น เร้าใจ ไม่เป็นทางการ เป็นตัวของตนเองอย่างสบายใจ
    • - พูดเร็วมาก หมายถึง ตื่นเต้น ตึงเครียด วิตกกังวล อารมณ์เสีย หงุดหงึด กระวนกระวาย โกรธ โมโห ก้าวร้าว โต้เถียง ต่อสู้
    • - พูดเร็วปานกลาง หมายถึง เป็นทางการ หรือ เขามั่นใจเชื่อมั่น ภาคภูมิใจในตนเอง พูดชัดถ้อยชัดคำ

    https://www.slideshare.net/draizelle_sexon/rate-of-speech

    Volume of voice

    • - เสียงเบา แสดงถึง ไม่ค่อยมั่นใจ ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก หรือ กลัวเกรง วิตกกังวล หรือ อ่อนน้อมถ่อมตน สถานะต่ำกว่า หรือรู้สึกผิด
    • - เสียงดัง แสดงถึง กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก หรือ ต่อต้าน โต้แย้ง เบ่งข่ม คำราม
    • - เสียงดังฟังชัดถ้อยชัดคำ แสดงถึง ความมั่นใจ เชื่อมั่นในตนเอง
    • - เสียงปานกลาง แสดงถึง ความไว้ใจ เป็นกันเอง
    • - เสียงเบากว่าปกติมาก แสดงถึง กระซิบให้รู้กันแค่สองคน ไม่อยากให้คนอื่นได้ยิน
    • - เสียงดังกว่าปกติมาก แสดงถึง ตกใจกลัว หรือประหลาดใจ และ โกรธโมโห ฉุนเฉี่ยว ก้าวร้าว หมายทำร้าย

    สรุป น้ำเสียงโทนเสียง บ่งบอกถึง ทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึกที่เข้ามีอยู่ในขณะที่พูด และชี้นำชักจูงให้ผู้ฟังมีอารมณ์ร่วม เข้าถึงบรรยากาศในขณะที่เขาพูดเล่าเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ เพื่อสื่อความหมาย ออกมาเป็นความรู้สึกที่เขามีอยู่ในเวลานั้น

    จังหวะในการพูด และ น้ำหนักเสียงดังเบา บ่งบอกถึง ความรู้สึกของเขา อยู่ในสภาวะอารมณ์ใด ขณะที่พูดอยู่ เช่น มีความมั่นใจ อารมณ์ดี สงบ ไม่พอใจ หงุดหงิด โกรธโมโห หรือ เบื่อหน่าย เศร้า เสียใจ เป็นต้น รวมถึงบ่งบอกได้ว่า เขากำลังคิดอะไรอยู่ มีทัศนคติต่อสิ่งที่พูดอย่างไร คำพูดที่แสดงออกมานั้น มีส่วนสัมพันธ์กับภาษาทางกาย ในด้านความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติของเขาที่เขามีต่อสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวที่เขาคิดและพูดออกมา

    การเล่าเรื่องราว อารมณ์ที่สื่อออกมา สอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน เหมือนเพลงประกอบภาพยนตร์ คำพูดเปรียบเหมือนเรื่องราวเนื้อเพลง เนื้อเรื่อง หลักในหนัง น้ำเสียงโทนเสียง และน้ำหนักเสียงดังเบาเหมือนกับดนตรีบรรเลงประกอบสื่ออารมณ์ความรู้สึก จังหวะในการพูดเหมือนเครื่องดนตรีเคาะประกอบจังหวะ ตื่นเต้นเร้าใจ หรือ สบายใจสุขใจ หรือ เศร้าเสียใจ เป็นต้น ซึ่งทำให้คนฟังที่ร่วมสนทนาด้วยนั้น รับรู้ได้ถึงบรรยากาศ ความรู้สึกทัศนคติที่คุณตั้งใจสื่อออกมาให้ผู้ฟังสัมผัส รับรู้ได้ด้วยใจที่เปิดรับ เปิดใจ

    นิสัยการพูดจาที่เขาแสดงออกมาเป็นประจำ ยังช่วยบ่งบอกว่าเขาเป็นคนมีบุคลิกภาพหลักแบบใด เช่น พูดเสียงดังตลอดพูดเร็วชัด หนักแน่น เป็นคนเบ่งอำนาจ เด็ดเดี่ยวกล้าตัดสินใจ เชื่อมั่นตนเองมาก ๆ คนแบบ D=Dominance ผู้ครอบงำบงการ หรือเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก น้ำเสียงค่อนข้างเบา พูดช้า หรือพูดติดขัดบ้างเล็กน้อย ไม่มีความมั่นใจในตนเอง หรือ เป็นกล้าแสดงออก คนชอบคุยชอบเข้าสังคม Extrovert น้ำเสียงมั่นใจ พูดเร้าอารมณ์สร้างบรรยากาศในการมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี เล่าเรื่องเก่ง คนแบบ I=Influence ผู้ชักจูงโน้มน้าวชอบเข้าสังคม หรือ เจ้าระเบียบรอบคอบ พูดช้าเพราะคิคก่อนพูด น้ำเสียงค่อนข้างราบเรียบ แต่ถ้าใครขัดจังหวะ หรือไม่เป็นระเบียบ เขาจะเสียงดังขึ้นเสียงแนวออกคำสั่ง หรือ Introvert คนเก็บตัว เงียบขรึม น้ำเสียงค่อนข้างราบเรียบ พูดเร็วปานกลางออกไปทางช้าเล็กน้อย ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ความรู้สึกร่วมให้เห็นเท่าไรนัก หากไม่ใช่คนที่เขาสนิทสนมเขาจะไม่ค่อยแสดงอารมณ์ความรู้สึกให้ใครเห็นมากนัก เป็นต้น

    น้ำเสียงโทนเสียง และน้ำหนักเสียงดังเบา และจังหวะในการพูด การเล่าเรื่องราว สามารถที่จะนำไปประยุกต์ในการสร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในความรู้สึกอารมณ์ที่แสดงออกมากับน้ำเสียง จังหวะ เสียงดัง เบา ให้สอดคล้องกับอารมณ์ในขณะที่พูด เพื่อช่วยโน้มน้าวชักจูงชี้นำผู้รับฟัง ให้มีความคิดเห็น อารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม ร่วมถึงมีความคิดอยากทำตามที่เราชักจูงใจเขาให้เชื่อถือ คล้อยตาม ทำตามที่เราต้องการได้ หากเราใช้คำพูด ที่เหมาะสม น้ำเสียงน่าเชื่อถือ เร้ากระตุ้นอารมณ์ ที่เขารู้สึกได้และเข้าถึงได้ รวมถึงเขามีความเชื่อถือสิ่งที่เราพูด ไว้วางใจเรา ก็จะทำให้เขาคล้อยตามความคิดของเราได้ง่ายยิ่งขึ้น

  • o คำพูด น้ำเสียง ประโยคเดียวกันแต่พูดอีกแบบก็สื่อความหมายต่างออกไป

  • หมายเลขบันทึก: 664092เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2019 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2019 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท