คาบสมุทรอินโดจีนบทบริบทใหม่เอเซีย (INDOCHINA)  โดย นายต้นสัก สนิทนาม


 คาบสมุทรอินโดจีนบทบริบทใหม่เอเซีย (INDOCHINA)  

โดย นายต้นสัก สนิทนาม


ภูมิภาคซึ่งมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 1,600 ปี

• ภูมิภาคซึ่งมีประเพณีอารยธรรมและสังคมมีความคล้ายกัน
• ภูมิภาคซึ่งมีความแตกต่างทางการเมือง การศึกษาขัดแย้งเชิงพื้นที่ทับซ้อน การแข่งขัน ช่องว่างของการพัฒนา

อินโดจีนหรืออุษาคเนย์ คือ 

- อินโดจีน หมายถึงประเทศที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้
- หมายรวมถึงดินแดนที่มีอารยธรรมทั้งอินเดีย(Indus) และจีน (China) ผสมผสานกัน
- ประกอบด้วยประเทศ เมียนมาร์ สยาม ลาว เวียดนาม กัมพูชา
- ขณะที่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ถือว่าเป็นมุสลิมจ าพวกมาลายู ไม่ถือว่าเป็นอินโดจีน
- ประเทศทั้งหมดเป็นส่วนของของ ASEAN มีเศรษฐกิจรวมกันเท่ากับ 25.2% ของ อาเซียน
- บทบาทของอินโดจีนใหม่ T-CLMV จึงถือเป็นบทบาทของการด ารงอยู่ของความร่วมมือภายใต้ AEC

อินโดจีนจากสงครามเย็น…สู่ความเป็น ASEAN พัฒนาไปสู่ AEC

- ไทยได้เข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา ภายใต้ องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEATO ในการร่วมกองกำลังในสงครามอินโดจีน ซึ่งยุติลงในปี 1977
- ไทยได้ร่วมก่อตั้ง “ASEAN” ในปี 1967 ต่อมาประเทศในอินโดจีน (CLMV) ได้ทยอยเข้าร่วมเป็นสมาชิก ประกอบด้วยเวียดนาม ในปี 1995 ลาวและพม่าในปี 1997 กัมพูชาในปี 1999
- กลุ่มประเทศอินโดจีน เข้าสู่เขตการค้าเสรีหรือ AFTA ในปี 1993
- การประชุมที่เวียนจันทร์ ปี 2004 น าไปสู่ข้อตกลงการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2015

Indochina Regional of Challenge อินโดจีน...ภูมิภาคของโอกาสและความท้าทาย

- ภูมิภาคอินโดจีน เป็นอนาคตของอาเซียน ทั้งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจทรัพยากร
อันสมบูรณ์ และการลงทุน
- ภูมิภาคอินโดจีน มีศักยภาพในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน
- ภูมิภาคอินโดจีน เป็นก ลุ่มประเทศ เพื่อนบ้านแ ละเป็นคู่ค้า หลักของไทยมีมูลค่าการค้า 671,713.30 ล้านบาทและมีมูลค่าการค้าชายแดน 338,724 ล้านบาท
- ภูมิภาคอินโดจีนบนบริบทของ AEC เป็นโอกาสและความท้าทายของไทย

อินโดจีนบนบทของอาเซียนภูมิภาคแห่งช่องว่างทางเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางการเมือง

   1. ภายใต้ความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา ทำให้อินโดจีนภายใต้อาเซียนขาดอัตลักษณ์ร่วมกันที่จะไปสู่การเป็นประชาคมเดียวกันอย่างจริงใจ
   2. ภูมิภาคอินโดจีนยังขาดการความยึดโยงในผลประโยชน์ร่วมกัน มีทั้งรูปแบบการแข่งขัน ช่วงชิงทั้งในด้านการส่งออก การกีดกัน การน าเข้า และปัญหาพื้นที่พรมแดนที่ทับซ้อนกัน
  3. ASEAN CHATER ภายใต้ระบบการเมือง-การปกครองและสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน โดยสมาชิกไม่เข้าไปก้าวก่ายกิจการภายในของกันและกัน ท าให้ความเป็นเนื้อเดียวกันเป็นสิ่งที่ยาก
  4. ช่องว่างของการพัฒนา (Development Gap) ประเทศต่างๆ ที่มีเศรษฐกิจและขีดความสามารถที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งส าคัญ การพัฒนาเป็นเศรษฐกิจฐานเดียวจึงเป็นความท้าทาย
  5. การยกระดับความยากจนด้วยการโยกย้ายแรงงานเสรี ภายใต้ค่าจ้างที่เท่าเทียมกันจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
  6. ภายใต้ความแตกต่างและการขาดการบูรณาการ และช่องว่างของการพัฒนา จะท าให้เกิดการพัฒนาในมิติต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด

มาทำความรู้จัก...ประเทศในแถบอินโดจีนกัน !!!

              เรามาทำความรู้จัก ประเทศในแถบอินโดจีน กันนะครับ ว่ามีกี่ประเทศ และประเทศอะไรกันบ้าง....ลองมาอ่านประวัติคร่าวๆ ของ ประเทศในแถบอินโดนจีนกันนะครับผม

              อินโดจีน หรือ คาบสมุทรอินโดจีน เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และ ทางตะวันออกของ ประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม
            ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมา ในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน

            กล่าวตามนิยามอย่างเคร่งครัดแล้ว อินโดจีนจะหมายถึงอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศส "อินโดจีนของฝรั่งเศส" เท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย
                  - กัมพูชา
                  - ลาว
                  - เวียดนาม
 แต่ในปัจจุบัน ความหมายของอินโดจีนหมายถึงแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนับรวม
                  - คาบสมุทรมลายู
                  - ไทย
                  - พม่า
                  - สิงคโปร์
            ศาสนาที่คนส่วนใหญ่นับถือคือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (หรือ นิกายหินยาน) ส่วนนิกายมหายาน มีคนนับถือในเวียดนามและสิงคโปร์

              อินโดจีน พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการค้ามาอย่างช้านาน เป็นแหล่งเศรษฐกิจโบราณที่เคยมีบทบาทมากในภูมิภาคนี้ เรือสำเภาแล่นไปมาตามเมืองต่างๆ กันมากมาย จนทำให้หมาสมุทรอินเดีย และทะเลจีน มีความสำคัญต่อการเดินเรือของชาติต่างๆ จนถึงขนาดพากันมาตั้งสถานีการค้าที่เมืองท่าริมทะเล

  ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีน จึงได้ชื่อว่า “อินโดจีน” มีรากศัพท์ที่มาจากคำว่า อินเดีย (INDIA) กับ จีน (CHINA, CHI - NO) เช่นเดียวกับคำว่า “อินโดนีเซีย” ที่มาจากคำว่า อินเดีย และ เอเชีย อันมีชาวจีนและอินเดีย นำเรือสินค้าเดินทางไปตามเมืองต่างๆ พร้อมกับศาสนา ฮินดู พราหมณ์ และพุทธ
  ประเทศที่อยู่ระหว่างมหาสมุทร แหละทะเลจีนใต้ จึงหมายถึง ประเทศ เมียนมาร์ (พม่า) ไทย (สยาม) ลาว เขมร เวียดนามเป็นหลัก สำหรับมาเลเซียและสิงค์โปร อยู่ทางฝ่ายแหลมมะละกาหรือมลายูมากกว่าที่จะอยู่ทางฝั่งอินโดจีน

legends of indochina

       ในอดีตถือเอาประเทศที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงเป็นเขตอินโดจีน เนื่องจากฝรั่งเศสได้ยึดครองประเทศนั้นขึ้น และมีท่าทีจะลุกลามมายังดินแดนฝั่งซ้าย คือ ดินแดน อีสานของไทย จนต้องมีการสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซีย ประเทศมหาอำนาจโลกในยุคนั้น เพื่อปรามฝัร่งเศสให้เกรงใจ และยุติการยึดครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้
       ภาพของการเรียกร้องดินแดนอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศสนั้น เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงเข้าใจว่าแหลมอินโดจีนนั้นคือ ลาว เขมร ญวน จึงมีการนับเอาไทย พม่า เป็นแหลมสุวรรณภูมิ หรือแหลมทอง ส่วนมลายู สิงค์โปร์ นั้นเป็นแหลมมลายู แต่ความเป็นอินโดจีน ในปัจจุปันได้เอาประเทศที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีนใต้ หรือส่วนที่เรียกว่า อุษาคเนย์ เป็นประเทศในเขตแหลมอินโดจีน หากรวมถึงเกาะสุมาตรา บรูไน อินโดนีเซีย ด้วยก็ได้เพราะว่ามีวัฒนธรรมเดียวกับ มาเลเซีย
       ในอดีตการเดินทางมายังดินแดนแห่งนี้ ต้องใช้เส้นทางมหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีนใต้เป็นหลัก ด้วยเหตุนี้จึงมีเมืองท่าเกิดขึ้นหลายแห่งตามฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในระยะแรก หรือตลาดใหญ่ที่มีเรือสินค้าติดต่อและจอดรอลมมรสุมตามท่าต่างๆ นั้น บางแห่งก็ถูกชาวต่างชาติยึดครอง กว่าจะหลุดพ้นสิทธิอำนาจนอกอาณาเขตมาเป็นเมืองที่มีอิสรภาพทางการปกครองทาง การค้าได้นั้นก็ใช้เวลายาวนาน บางแห่งก็ยังถูกยึดครองอยู่หรือไม่ก็ตกเป็นพื้นที่ของประเทศใหม่ โดยมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่

legends of indochina
legends of indochina

       การเคลื่อนทางศาสนาและวัฒนธรรมนั้น ได้ทำให้เมืองต่างๆรับเอาศาสนา วิทยาการที่เป็นรูปแบบของอินเดีย รูปแบบของจีน เข้าไปจัดสรรในเมืองจนเกิดวัฒนธรรมของตนขึ้น สรุปก็คือดินแดนนี้ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ กษัตริย์ปกครองเมือง และมีศาสนาฮินดู – พราหมณ์ และศาสนาพุทธ เป็นหลัก ดังปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีหลายแห่ง ที่มีการสร้างเทวสถานบูชาพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาฮินดู-พราหมณ์ขึ้นก่อน และต่อมาก็มีพุทธสถานสำคัญแพร่หลายในประเทศแถบอินโดจีนนี้ อันเป็นผลทำให้ผู้คนแถบนี้สามารถเชื่อมโยงความเชื่อและมีวิถีชีวิตความเป็น อยู่คล้ายกัน มีความสัมพันธ์กันทางพุทธธรรม คัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า แม้จะมีศาสนาอิสลาม คริสต์ศาสนาเกิดขึ้นในระยะต่อมา ก็สามาผสมผสานอยู่รวมกันได้
       ดังนั้นบริเวณแถบนี้จึงมีศาสนาเป็นจุดประสานให้ทุกชนชาติและประเทศในแถบอินโด จีนให้หันหน้าเข้าหากัน มีไมตรีต่อกัน ช่วยเหลือกัน บางชุมชนมีผู้คนนับถือศาสนาต่างกันอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา ความต่างทางศาสนาก็สามารถหลอมรวมเป็นวัฒนธรรมเดียวกันได้ แม้แต่วิถีชีวิตของชนเผ่าที่เหลืออยู่น้อยก็ปรับปรนไปตามสิ่งแวดล้อม โดยความเคยชินตามธรรมชาติสร้างความสุขได้
       ส่วนชนกลุ่มน้อย แม้เคยเป็นชนชาติใหญ่มาก่อนในอินโดจีน แต่ด้วยความเจริญทางวัฒนธรรมเข้ามาเปลี่ยนเป็นชุมชนเมือง และชิงเอาทรัพยาการในพื้นที่การใช้ประโยชน์ให้เป็นเศรษฐกิจของเมืองนั้น ทำให้ชนเผ่ากระจัดกระจายจนกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ชนพื้นเมืองโบราณหลายกลุ่มในแถบนี้ เช่นแขกจาม มอญ ลีซอ อาข่า เย้า ข่า ขมุ ชอง ซาไก อีบาน พิดายุ ไทยลื้อ เป็นต้น ต่างแยกย้ายกันอยู่ในพื้นที่ของประเทศต่างๆ นับว่าจะถูกรวมเป็นเผ่าพันธ์ที่ผสมผสานจากหลายเชื้อชาติ หากยังคงเผ่าพันธุ์เดิมอาจจะสูญพันธ์ได้ในที่สุด
       ในบริบททางวัฒนธรรมอินโดจีนนั้นจึงแตกต่างกับอินโดจีนในบริบทเศรษฐกิจ เมื่อประเทศที่มีอำนาจทางการค้ามากขึ้น การมองเส้นทางอินโดจีนจึงเป็นการสานต่อเส้นทางการตลาดที่นำทรัพยากรและความ เจริญถึงกันในภูมิภาคนี้ โดยถือว่าประเทศที่ได้รับเอาอารยธรรมอินเดียโบราณมาเช่นเดียวกัน คือ กษัตริย์ครองแผ่นดิน
       ปัจจุปันความเป็นอินโดจีนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ด้วยเหตุที่ความเชื่อมสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ ซึ่งเคลื่อนตัวอย่างสะดวกสบาย จนกลายเป็นเมืองใหญ่ ตั้งประเทศและมีพลเมืองมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องเปิดประตูสู่อินโดจีนถึงกัน เพราะแต่ละประเทศต่างมีบริบทใหม่ทางเศรษฐกิจ












คำสำคัญ (Tags): #อินโดจีน#indochaina
หมายเลขบันทึก: 664085เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2019 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2019 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท