แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเกี่ยวกับการจัดจ้าง (พัสดุ)ในการบริการ: การจัดการแนวทางการปฏิบัติในการจัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนาสำหรับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่


  • ส่วนที่ ๑. สรุปสาระความรู้เกี่ยวกับ การจัดการเกี่ยวกับการจัดจ้าง (พัสดุ)ในการบริการ: การจัดการแนวทางการปฏิบัติในการจัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนาสำหรับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

ประธาน : ดร.ปิ่นนเรศ กาศอุดม /ผู้ดำเนินการ: ดร.เชษฐา แก้วพรม

เลขา: สายฝน อินศรีชื่น ดำเนินการวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๒

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ ได้จัดโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการความรู้ (KM) ครั้งที่ ๒ โดยมีรายละเอียดของเนื้อหา ดังนี้

๑. ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง

  • ๑) สำรวจความการในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ของแต่ละปีงบประมาณ โดยแต่ละงานคาดการณ์

จากการใช้งานจริง โดยให้กำหนดคุณสมบัติของพัสดุที่จะใช้ให้ชัดเจนว่าต้องการเท่าไหร่ อย่างไร

  • ๒) จัดทำแผนจัดซื้อวัสดุ/ครุภัณฑ์ ตามปีงบประมาณ
  • ๓) เมื่อได้รับงบประมาณจัดสรร เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำร่างขอบเขตงานทำรายงานขอซื้อ ขอ

จ้าง

                                                                                                

๒ การเตรียมการจัดซื้อ/จัดจ้าง

  • ๑) เมื่อได้รับความเห็นชอบตามรายงานขอซื้อ/ขอจ้างจากหัวหน้าส่วนราชการแจ้ง
  • ๒) เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการจัดหาตามวิธีการต่างๆ ได้แก่ วิธีตกลงราคา สอบราคา

ประกวดราคา  วิธีพิเศษ วิธีกรณีพิเศษ วิธีประกวดราคาทางอิเล็คทรอนิกส์

  • ๓) คัดเลือกได้ตัวผู้ขาย/รับจ้าง แล้วให้คณะกรรมการฯ ทำการบันทึกสรุปผลรายงานการ

เสนอขออนุมัติสั่งซื้อ/จ้าง (ผ่าน หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ)

  • ๔) ผู้อำนาจอนุมัติสั่งซื้อ/จ้าง จะพิจารณาอนุมัติสั่งซื้อ/จ้าง ได้ตามที่คณะกรรมการเสนอ
  • ๕) งานพัสดุ แจ้งรับราคา และผู้ได้รับคัดเลือกมาทำสัญญา/บันทึกข้อตกลง

 ๖)  ผู้ขาย/รับจ้างส่งมอบ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง

  • ๗) เบิกจ่ายเงินชำระหนี้
  • ๘) คณะกรรมการตรวจรับ ส่งมอบสิ่งของ/งาน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อนำไปลงบัญชี/

ลงทะเบียนการควบคุมทรัพย์สิน

ส่วนที่ ๒ คลังความรู้

COPs  การแลกเปลี่ยนและสะท้อนคิดของอาจารย์และบุคลากร: การจัดการแนวทางการปฏิบัติในการการจัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนาสำหรับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

          Storytelling ๑การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกัน การเรียนรู้ที่จะเกิดการพัฒนาได้คือ

การเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน โดยการสะท้อนคิดทั้งตัวผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายประสานการดำเนินงาน

          “เบื่อหน่ายที่ต้องส่งโครงการซ้ำเดิมหลายครั้ง เนื่องจากแนวปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน แก้บ่อยครั้งมาก ทำให้หมดพลังในการดำเนินการ เพราะต้องยื่นเอกสารหลายครั้งสูญเสียเวลาในกิจกรรมอื่น”

          Storytelling ๒ แนวทางปฏิบัติต้องชัดเจนจึงสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับผิดชอบมีเวลาในการดำเนินกิจกรรมให้เกิดประโยชน์หรือบรรลุเป้าหมายเป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้รับผิดชอบและระบบการดำเนินการ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมซึ่งกันและกัน

          “พบปัญหาว่าในแต่ละครั้งการแก้ไขงานมีหลากหลายรูปแบบ ทำให้ไม่ชัดเจนว่าต้องเขียนอย่างใดจึงจะถูกต้อง อยากให้มีหลักการที่ชัดเจน”

          Storytelling ๓การสะท้อนคิดเพื่อการพัฒนาระบบการดำเนินการ แนวปฏิบัติการจัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนาโดยเริ่มจากการสะท้อนคิดตนเอง แล้วเปิดใจยอมรับในการที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ

          “เมื่อเขียนโครงการแล้ว และได้รับการเซ็นจากหัวหน้าฝ่าย เมื่อไปพบการเงิน ก็ต้องกลับมาแก้ไข 

หลังจากนั้นเมื่อแก้ไขแล้วเสร็จ เมื่อผ่านนักจัดการทั่วไปก็ต้องกลับมาแก้ไขในอีกรูปแบบหนึ่ง วนเวียนอยู่แบบนี้ในหลายๆครั้งต่อการทำกิจกรรม 1 โครงการ ตั้งแต่ก่อนพิจารณาอนุมัติ การอนุมัติดำเนินการ การจัดซื้อจัดจ้าง การยืมเงินทดรอง การปิดโครงการ การสรุปค่าใช้จ่ายเบิกคืนเงิน ซึ่งหลายขั้นตอน และหลายครั้งเกินไป”

๓. สรุปประเด็นการประชุมกลุ่มย่อยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่ม

 แนวทางการปฏิบัติในการจัดฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

การฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา มีวิธีการ หรือกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสำเร็จ
สรุปเป็นกระบวนการหลักได้ ๗ กระบวนการ ซึ่งสามารถให้เห็นตามแผนผัง (Flowchart) ต่อไปนี้


หมายเลขบันทึก: 663916เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2019 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2019 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท