การจัดการกระบวนการเรียนรู้ KM และ Transformative Learning วพบ.สระบุรี


การจัดการกระบวนการเรียนรู้ KM และ Transformative Learning

วพบ.สระบุรี

เมื่อวันที่ 24 ได้รับเชิญจากวิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี สระบุรี ไปจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง KM และ TL โดยช่วงแรกให้บรรยายเนื้อหาเกี่ยวข้องในสองเรื่องดังกล่าว 

"รูปแบบที่เลือกใช้จึงเป็น Interactive Lecture ผสมผสานกับการทำ Self-Reflection" 

ความท้าทายของการจัดการเรียนการสอนเช่นนี้ คือ ผู้เข้าร่วมมีความแตกต่างกัน คือ มีทั้งคณาจารย์และบุคลากร และผู้ที่เคยและไม่เคยผ่านประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในแนวนี้ การนั่งเรียนแบบ Class room 

ท้ายสุดจาก session นี้คือ ให้วิเคราะห์ตนเองว่า มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระดับไหน ได้ลองสุ่มจากอาจารย์หลายๆ ท่านการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับ New Mindset เปลี่ยนวิธีคิดและนำไปสู่การออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อดำเนินการในรูปแบบใหม่ที่มาจากมุมมองอันแตกต่างไปจากเดิม 

สาระ 

เป็นการพูดคุยถึงในหลายๆ เรื่องไปพร้อมๆ กันไม่ว่าจะเป็น KM ,Transformative Learning, Reflective Learning พร้อมสาธิตกระบวนการจัดการเรียนสอน สื่อให้เห็นถึงเทคนิคและวิธีการใช้ Tool โดยเฉพาะในการทำ Reflection และเชื่อมไปถึง Transformation ในคลาสมีอาจารย์สามกลุ่มคือ กลุ่มวัยคนรุ่นใหม่ วันกลาง และรุ่นอาจารย์อาวุโส ดังนั้นประสบการณ์และมุมมองย่อมแตกต่าง แต่เมื่อกระบวนการเรียนรู้ผ่านไปกลับพบว่า ในความต่างนั้นมีความงามที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่แปรเปลี่ยน อาจารย์รุ่นใหม่สะท้อนคิดให้เห็นถึงพลังของ Creative Thinking ค่อนข้างสูง ส่วนอาจารย์ที่มีประสบการณ์ก็จะเห็นความลึกซึ้งและการเชื่อมโยงในระดับกว้าง และที่สำคัญไอเดียใหม่ที่เกิดขึ้นที่น่าจะเรียกว่าเป็น "แรงบันดาลใจ" หรือ Inspiration ก็ว่าได้ที่ทำให้อาจารย์หลายท่านย้อนกลับไปมองการจัดการเรียนการสอนของตนเองใหม่

จุดเน้น

การจัดการเรียนการสอน TL ที่หลายท่านรู้สึกว่าไปต่อไม่ได้ ส่วนตัวมองว่าน่าจะเป็นเรื่องของการ Capture หรือสกัดองค์ความรู้ออกมา รวมถึงการทำวิเคราะห์และสังเคราะห์หลังจากเด็กๆ นักศึกษาทำ Reflection แล้ว ตรงนี้ค่อนข้างสำคัญเพราะจะทำให้มองเห็นภาพชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น มีระดับลึกซึ้งมากน้อยเพียงไร (เกิด Transformation) 

การได้รูปแบบหรือโมเดลใหม่ๆ ที่สามารถนำไปเชื่อมต่อการศึกษาวิจัยเพื่อทดสอบว่าโมเดลที่ได้ออกมานั้นส่งผลต่อการเรียนรู้ในรายวิชานั้นอย่างไร ซึ่งประเด็นนี้ก็ค่อนข้างสำคัญเพราะโลกของการศึกษายังคงยึดอยู่กับการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เด็กเก่งไม่เก่ง เด็กรู้ไม่รู้ โดยยังไปไม่ถึงการสร้างความรู้ที่เชื่อมโยงไปสู่สถานการณ์อื่นๆ ในวิถีชีวิตจริง

ดังนั้น ช่วงท้ายของการจัดกระบวนการนอกจากจะเป็นการเปิดวงคุยกันเล็กๆ เกี่ยวกับประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นสกัดโมเดลต้นแบบ และนำไปสู่การออกแบบรูปแบบการวิจัย (Research Design) ที่อาจารย์สามารถนำไปเชื่อมต่อได้

สุดท้ายตกผลึกไปจนถึงภาพฝันของการทำวิจัยต่อเนื่องที่เป็น Mega Project ที่เราอยากตามรอยการเปลี่ยนแปลงของเด็กในระยะเวลา 4 ปีภายใต้การจัดการเรียนการสอนตามฐานคิด "การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" นี้

24-07-62

หมายเลขบันทึก: 663823เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2019 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2019 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท