ปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ตนเอง


ปฐมบทขององค์ความรู้เริ่มต้นจากไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นหลักสัจธรรมของพระพุทธศาสนา ที่สอนให้เข้าใจธรรมชาติตามความเป็นจริงของทุกสิ่งบนโลกนี้ จากการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ซึ่งจะทำให้ตระหนักรู้ และรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งบนโลกนี้ โดยประกอบด้วยหลักความจริง 3 ประการ1) อนิจจัง หมายถึงความไม่คงทนถาวร ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ความไม่คงทนอยู่สภาพเดิมตลอดไป ซึ่ง สามารถเป็นไปได้ทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม โดยถ้าเป็นรูปธรรมนั้น จะเริ่มจากการเกิดขึ้นมา (อุปจยะ) ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต ที่เกิดจากการแบ่งเซล หรือสิ่งที่มีการสร้างขึ้นมาเป็นสิ่งของ จากนั้นจะมีการสืบต่อคงสภาพเดิม (สันตติ) ซึ่งจะคงอยู่ได้นานหรือชั่วขณะ ก็เป็นไปตามธรรมชาติของสิ่งนั้น จากนั้น ก็มีการดับสูญ หรือแตกสลายไป (ชรตา) ซึ่งเป็นการสิ้นสุดสภวะการดำเนินต่อของสรรพสิ่งนั้น ถ้าเป็นนามธรรม จะเริ่มจากการรับรู้จำได้ของจิต (อุปปาทะ) ที่เกิดขึ้นจากการผุดขึ้นมา แล้วมีการระลึกคงสภาพอยู่ชั่วขณะ (ฐิติ) แล้วแต่เร็วบ้างช้าบ้าง หลังจากนั้นก็จะการดับสูญของการรับรู้นั้น (ภังคะ)ซึ่งในการเกิดช่วงเวลาตั้งแต่เกิดจนดับสูญนั้น ย่อมมีข้อมูลและสารสนเทศของแต่ละบุคคลตั้งแต่อดีต โดยเริ่มตั้งแต่เกิดขึ้นมา เกิดที่ไหน เกิดอย่างไร เกิดเมื่อไหร่ เกิดแล้ว มีผลกระทบอะไรต่อผู้อื่นบ้าง จะเห็นว่า แค่เริ่มเกิดมา ก็มีข้อมูลเกิดขึ้นมาแล้ว พอเกิดมาจนถึงเมื่อวินาที ก่อนหน้านี้ จะถูกเรียกว่าเป็นอดีต ล้วนมีข้อมูลและสารสนเทศ สะสมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่มีปริมาณมหาศาล (Metedata หรือบางแห่งเรียกว่า Big Data) แล้วสิ่งที่เป็นปัจจุบัน จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา (Dynamic) ซึ่งจะต้องมีการจดจ่ออยู่ตลอดเวลาในปัจจุบัน (การเกิดสติ) โดย วินาทีที่เกิดขึ้น ถัดไปจากปัจจุบัน ไปข้างหน้า ล้วนเป็นอนาคตทั้งนั้นดังนั้น การที่จิตยังอยู่ในอดีต ทำให้เกิดการยึดติดในสิ่งที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งเกิดเรื่องราวทั้งดีและไม่ดีที่ผ่านเข้ามา ทำให้เป็นการถ่วงต่อการเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน อีกประเภทหนึ่งคือ การนำจิตไปอยู่ในอนาคต จะเป็นการคิดไปเองล่วงหน้า ว่าจะเป็นโน้นแบบบนี้ โดยที่อนาคตยังมาไม่ถึงจะเห็นว่า ไม่ว่าจิตจะอยู่อดีตหรือปัจจุบัน นั้นเกิดความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากเรื่องที่ผ่านไปแล้ว หรือทุกข์จากเรื่องกังวลในอนาคต ทำให้ พลังชีวิต ที่มีอยู่ในตัวจะถูกใช้อย่างเสียประโยชน์ แล้ว จะไม่สามารถมีพลังเพียงพอในชีวิตที่เป็นปัจจุบัน จึงอยากให้มีการจดจ่อปัจจุบัน ณ ทุกขณะจิต ซึ่งจะทำให้มีการตื่นรู้ ณ ปัจจุบัน ตลอดเวลา2) ทุกขัง หมายถึง ความทุกข์ที่เกิดจากกิเลสหรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามความต้องการหรือเกิดจากมีความเปลี่ยนแปลงแล้วยอมรับไม่ได้หรือเกิดจากต้องทนในสิ่งที่ไม่ต้องการหรือไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น ซึ่งทุกข์ในไตรลักษณ์นั้น เรียกว่า ทุกขลักษณะ จะเป็นทุกข์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแล้วยอมรับไม่ได้ ทุกข์ที่เกิดจากการไม่ยอมรับการดับสูญ ทุกข์ที่เกิดจากการยึดมั่นในสิ่งที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในรูปธรรมที่จับต้องได้และนามธรรมที่เกิดขึ้นตามอารมณ์ความรู้สึก โดยจะเกี่ยวข้องกับทุกข์ในอริยสัจ 4 ซึ่งเรียกว่า ทุกขอริยสัจ ซึ่งเป็นทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ซึ่งจิตเป็นตัวกำหนดว่าเป็นทุกข์ โดยอริยสัจ 4 นั้น ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็น วิถีแห่งการพ้นทุกข์ เนื่องจากเป็นคำสอนที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำได้ มาลองเปรียบกันระหว่างอริยสัจ4 กับการแก้ไขปัญหา เอามาใช้ด้วยกันได้อย่างไร- ทุกข์ นั้นในชีวิตประจำวันแสดงว่ามีปัญหา เมื่อมีปัญหาจึงทำให้เกิดทุกข์ ดังนั้น เราสามารถเปรียบได้ว่า ทุกข์นั้นเป็นปัญหาของเรา- สมุทัย ต้นเหตุของทุกข์ ในชีวิตประจำวันก็คือ เราสามารถหาได้ไหมว่า ต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไรบ้าง อะไรที่ทำให้เกิดปัญหา นั้นก็คือต้นเหตุของทุกข์- นิโรธ การดับทุกข์ ซึ่งก็หมายถึง ปัญหานั้นได้หมดไปแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง ดังนั้นเราสามารถกำหนดเป้าหมายได้ว่า เมื่อปัญหาหมดไปแล้วจะได้ผลลัพธ์อะไรออกมาให้เห็น- มรรค หนทางการดับทุกข์ ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อเราพิจารณาปัญหา ทราบต้นเหตุของปัญหา แล้วทราบความต้องการเป้าหมายที่จะไปถึง เราก็ต้องวิเคราะห์พิจารณาเส้นทางที่จะแก้ไขปัญหานั้นไปสู่เป้าหมาย ดังนั้นหนทางการดับทุกข์ ก็จะเป็นวิธีการหรือขั้นตอน ที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาไปสู่ความสำเร็จนั่นเองในทางธรรม มรรค นั้น เป็นหนทางการดับทุกข์ โดยใช้ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งศีลนั้นประกอบด้วย #สัมมาวาจา การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ#สัมมากัมมันตะ การเว้นจากการประพฤติผิดทางกาย 3 อย่างคือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการถือเอาของผู้อื่นเป็นของตนและเว้นจากการประพฤติผิดในกาม#สัมมาอาชีวะ การเว้นจากการเป็นมิจฉาชีพ ให้สามารถประกอบอาชีพสุจริตขั้นต่อมาในส่วนสมาธิ ประกอบด้วย#สัมมาวายามะ การมีความเพียรในการกำหนดจิตให้คงอยู่ โดยมี 4 แนวทาง 1) ให้จิตป้องกันสิ่งที่ไม่ดีที่จะเข้ามาไม่ให้เกิดขึ้น 2) ให้จิตลดสิ่งที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นมาแล้วให้ลดน้อยลง 3) ให้จิตเปิดรับสิ่งที่ดีที่เข้ามาใหม่ 4) .ให้จิตทบทวนสิ่งที่ดีที่มีอยู่แล้วตลอดเวลา#สัมมาสติ การรู้เท่าทันตนเองอยู่ตลอดเวลา โดยตนเองนั้น จะมี 4 สภาวะคือ 1) กาย เป็นการรู้เท่าทันอริยาบทการเคลื่อนไหวของตนเอง 2) เวทนา เป็นการรู้เท่าทันความรู้สึกของตนเอง พิจารณาอย่างต่อเนื่องว่า ตอนนี้สุข ตอนนี้ทุกข์ ตอนนี้ดีใจ ตอนนี้เสียใจ หรือตอนนี้เฉยๆ 3) จิต เป็นการรู้เท่าทันจิตตนเอง พิจารณากิเลสที่เกิดขึ้น ทั้งโลภ โกรธ หลง 4) ธรรม เป็นการพิจารณาระลึกถึงหลักธรรมคำสอน ตั้งแต่ สัญญา สังขาร นิวรณ์ อุปาทาน ขันธ์ อายตนะภายในและภายนอก โพชฌงค์ และอริยสัจ#สัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากสัมมาสติ ที่มีการระลึกรู้เท่าทันทั้ง กาย เวทนา จิตและธรรม โดยมีการตั้งมั่น ซึ่งจะมีการเข้าสู่ภาวะสมาธิได้ 4 ระดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุยฌานซึ่งท้ายสุดจะทำให้เกิดปัญญา ประกอบด้วย#สัมมาสังกัปปะ เป็นแนวคิดในทางที่ถูกต้อง ซึ่งจะประกอบด้วย 3 อย่างคือ 1) เนกขัมมะ เป็นแนวคิดที่ให้เกิดความหลุดพ้นจากความอยากได้ ความต้องการในสิ่งต่างๆ 2) อพยาบาท เป็นแนวคิดที่ให้เกิดความหลุดพ้นจากความพยาบาท โกรธเกลียด 3) อวิหิงสา แนวคิดในการหลุดพ้นจากการเบียดเบียนและทำร้ายผู้อื่น#สัมมาทิฎฐิ เป็นการรู้แจ้งอย่างแท้จริงโดยใช้หลักของอริยสัจ ใน 16 เรื่อง ดังต่อไปนี้ อกุศล อาหาร ทุกข์ ชราและมรณะ ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ อายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร อิชชา และอาสวะ โดยในแต่ละเรื่องนั้น ต้องมีการพิจารณาถึง ต้นเหตุ การดับ และหนทางในการดับ3) อนัตตา หมายถึง ความไม่มีตัวตนอย่างแท้จริง ซึ่งการเห็นเป็นรูปร่างนั้นได้เกิดจากการรวมตัวกันของ รูปขันธ์ 1 และนามขันธ์ 4 โดยรูปขันธ์ 1 นั้น จะประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วน นามขันธ์ 4 นั้นจะแบ่งเป็น เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ซึ่งสิ่งที่ตรงข้ามกับอนัตตา นั่นก็คือ อัตตา ความมีตัวตน ทุกอย่างเป็นของตน ส่วนใหญ่จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงนิพพาน แต่สำหรับคนธรรมดาทั่วไป ทุกคนย่อมมีอัตตาเป็นของตนเอง มากบ้างน้อยบ้าง เพียงแต่ว่า คนเราสามารถที่จะรู้เท่าทันอัตตาของตนเองได้อย่างได้ ที่สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ถ้าตามสุภาษิต “อัตตาหิ อัตโนนาโถ” ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน น่าจะหมายถึง การที่ตนเองรู้จักตัวเองแล้วใช้ตนเองให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ไม่น่าจะหมายถึง การเอาตัวรอดด้วยตนเอง ไม่ว่าวิธีไหนก็ตามดังนั้น ในชีวิตประจำวันท่ามกลางผู้คนที่ยังมีอัตตาอยู่ ก็ควรที่จะใช้ปัญญาในการควบคุมอัตตา ให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม สามารถใช้อัตตาได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ สามารถที่จะควบคุมอัตตาเมื่อร่วมทำงานกับผู้อื่น ซึ่งแนวทางที่จะนำอัตตา มาผสานกับปัญญา มีแนวทางโดยการ ให้เรียนรู้ตนเองด้วยตัวเอง ให้วิเคราะห์ตนเองด้วยตัวเอง รู้เท่าทันความคิดของตนเอง รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง รู้เท่าทันจิตของตนเอง ให้พิจารณาการกระทำของตนเองด้วยตัวเอง ให้ประเมินผลการกระทำของตนเองด้วยตัวเอง ให้เกิดการพัฒนาตนเองด้วยตัวเอง มีผลทำให้ การมีตัวตนในปัจจุบัน มีการดำเนินไปอย่างมีสติในทุกขณะ แล้วสามารถทำสิ่งต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีตัวตนนั้นเป็นสิ่งที่จะได้ประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและสังคม จากที่กล่าวมาทั้งหมด จึงขอเรียกองค์ความรู้ในแผนภาพนี้ว่า “อัตตปัญญา” ซึ่งถ้าในภาษาอังกฤษจะใกล้เคียงกับคำว่า Mindset Literacy

หมายเลขบันทึก: 663732เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2019 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2019 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท