การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 9 (วันจันทร์/22/ก.ค./2562)


       สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับหลังจากห่างหายกันไปสองวัน จริงๆผมเขียนไปเกือบเสร็จแล้วตั้งแต่ตอนบ่าย เขียนไปได้ 90% แล้ว รู้มั้ยครับเกิดอะไรขึ้น โปรแกรมเด้งครับ โอ้ยจะบ้าตาย ชั่วโมงกว่าของฉัน แต่เพื่อท่านผู้ท่านที่เคารพ ผมจะมาพิมพ์ให้อ่านใหม่ครับ ดังนั้นผมจะข้อแจ้งอาจารย์ที่เข้ามาอ่านก่อนนะครับ ว่าต่อไปนี้ผมจะทยอยเซฟเป็นพักๆ ที่เห็นมันขึ้นแก้ไขบ่อยๆไม่ใช่อะไรนะครับ ผมกลัวหายอีก และขอบอกอีกอย่างนะครับ ว่าวันนี้อาจจะมีรูปผมน้อยมาก หรืออาจจะไม่มีเลย เพราะส่วนใหญ่ผมจะเป็นคนถ่าย แล้วตอนผมทำ จะบังเอิญไม่มีคนถ่ายพอดี เอาเถอะ นอกเรื่องมาเยอะแล้ว เรามาเข้าเนื้อหากันดีกว่า เอ้าเริ่ม!! วันนี้ผมมีสูตรการทำขนมจีนโบราณกับการทำขนมตะโก้มาฝากด้วย แต่ก่อนหน้านั้น ขอเกริ่นนำเหมือนทุกทีก่อนนะครับ จริงๆป้านวลนัดไว้ตั้งแต่ก่อนวันศุกร์แล้ว ว่าวันนี้ให้มาถึงก่อน 08.00 น. ซึ่งก็เป็นปกติของผม ที่จะมาถึงเป็นคนแรกให้เดาว่ากี่โมง?

รูปที่ 1 เวลาที่มาถึงที่ทำงาน
      ตามที่เห็นแหละครับ มาถึง 07.45 น.เป็นปกติครับ มาถึงก็เปิดไฟเปิดแอร์รอเพื่อนๆ สักพักเพื่อนก็มา นั่งเหงาตั้งนาน แต่พอเพื่อนมานั่งยังไม่ทันเย็นเลย ก็ต้องออกเดินทางซะแล้ว เพราะวันนี้เราต้องแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ4คน เพื่อไปลง2ศูนย์การเรียนรู้ในช่วงเช้า งงไหมครับ เอาง่ายว่าผมและเพื่อนอีกสามคนไปศูนย์ฯนึง แล้วอีกสี่คนก็ไปอีกศูนย์ฯนึง แล้วเสร็จก็สลับศูนย์ฯกัน นี่คือภารกิจในรอบเช้า ครับ ผมออกเดินทางประมาณ 08.30 น.ไปยังศูนย์ฯแรก คือศูนย์การเรียนรู้การทำขนมจีนโบราณ

รูปที่ 2 ศูนย์ฯการทำขนมจีนโบราณ
      คือจุดประสงค์ของการจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาคือ การให้ความรู้กับเด็กๆ เพราะวันนี้ได้มีเด็กนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาล5มา ส่วนพวกผมแค่ไปช่วยงานเฉยๆ พอถึงศูนย์ฝึกได้ไม่นาน เด็กๆก็มากัน เพราะงั้นหน้าที่แรกของผมคือการนำเด็กจากรถไปนั่งที่ ที่ที่นั่งที่จัดเอาไว้ให้(หลายที่หน่อยนะ)

รูปที่ 3 พาเด็กไปนั่ง
      หลังจากพาเด็กไปนั่งแล้ว คุณลุงคุณป้าก็ได้เริ่มให้ความรู้กับเด็กๆ ด้วยการอธิบายเกี่ยวกับการทำเส้นขนมจีน โดยผมจะมาอธิบายรวมถึงบอกวิธีการทำอย่างหยาบๆนะครับ ต่อไปนี้จะให้ท่านผู้อ่านดูรูปภาพประกอบการบรรยายนะครับ(ถึงท่านอาจจะไม่อยากอ่านก็แล้วแต่ท่าน) ต่อไปจะเป็นรูปก่อนนะครับ แล้วจะอธิบายทีเดียวยาวๆเพลินๆ

รูปที่ 4 แป้งหมัก

รูปที่ 5 ตำแป้งหมัก

รูปที่ 6 นำมานวด

รูปที่ 7 เติมน้ำอุ่นเล็กน้อย

รูปที่ 8 นำแป้งใส่ผ้ากรอง

รูปที่ 9 นำผ้าที่จะใช้บีบแป้งมาโชว์

รูปที่ 10 บีบแป้งใส่น้ำเดือด

รูปที่ 11 กลับเส้น

</strong></u><p style="text-align: justify;">รูปที่ 12 นำมาจัดจับ
</p>

รูปที่ 13 เสร็จสวยงาม

รูปที่ 14 ทำข้าวจี่

รูปที่ 15 เสร็จสวยงาม(มั้ง)

รูปที่ 16 น้ำยาที่เตรียมแจก

รูปที่ 17 แจกให้น้องๆ

รูปที่ 18 เติมพลัง

      เริ่มอธิบายแล้วนะครับ ขั้นแรกเราก็เอาแป้งข้าวมาต้มน้ำพอสุกใช้ได้(รูปที่ 4)เราก็เอามาตำเพื่อให้มันเหนียวเป็นก้อนๆ บอกเลยว่าตอนตำนี่ แห้งเปลี้ยเลย เพราะแป้งมันดูดและไม้ก็หนักมากกก(รูปที่ 5)หลังจากนั้นพอเป็นก้อนสวยงามเราก็เอามานวด(รูปที่ 6)โดยในระหว่างนวดจะต้องเติมน้ำอุ่นเสมอเพื่อไม่ให้แป้งแห้ง(รูปที่ 7)จากนั้นก็เอาแป้งที่เป็นน้ำเหนียวๆใส่ผ้ากรอง แล้วบีบออกเพื่อกรองกากแป้งที่เป็นก้อน(รูปที่ 8)จากนั้นเราจะใช้ผ้าที่ทำมาโดยเฉพาะ คือผ้าที่มีรูตรงกลางไว้สำหรับบีบขนมจีนให้เป็นเส้นๆ(รูปที่ 9) จากนั้นก็ต้มน้ำให้เดือด เอาแป้งกรอกใส่ผ้าที่เตรียมไว้ ก่อนจะบีบแป้งลงน้ำเดือดให้เอาน้ำเปล่าเติมเล็กน้อย เพื่อไม่ให้มันเดือดเกินไป แล้วบีบลงไปเลยอย่าให้ขาดและบีบสม่ำเสมอเพื่อให้เส้นสวย(รูปที่ 10)  ต่อมาพอเส้นสุกมันจะลอย เราก็เอากระชอนพลิกด้านมันเพื่อให้สุกเท่ากัน(รูปที่ 11) จากนั้นก็เอาไปพักไว้ในน้ำปกติแล้วทำการจัดให้เป็นจับ(รูปที่ 12) แค่นี้เราก็ได้จะได้ขนมจีนเกร๋ๆไว้กินแล้วครับ(รูปที่ 13) และผมมีของแถมด้วย คือการทำขนมแป้งจี่ คือมันจะใช้แป้งที่เราตำนั่นแหละ มาทำ วิธีคือ เอาแป้งมาปั้นเป็นก้อนแล้วกดให้แบนเป็นแผ่น เอาใบตองห่อแล้วเอาไปปิ้งในเตาถ่าน(รูปที่ 14) พอสุดจะได้แป้งจี่ที่เปรี้ยวแล้วเค็ม(เพราะเราไม่ได้ปรุง)ปกติเค้าจะใส่น้ำตาลให้มันหวานๆหน่อย(รูปที่ 15) ต่อไปเค้าได้ทำน้ำยาเตรียมไว้แล้วเพื่อแจกให้น้องๆที่มาอบรม โดยพวกผมก็ได้ช่วยกันจัดเป็นชุดๆ(รูปที่ 16) และเตรียมแจก(รูปที่ 17) หลังจากนั้นก็เติมพลังด้วยขนมจีนน้ำยาฝีมือเราสักหน่อย เพื่อเตรียมตัวไปอีกศูนย์ฯนึง(รูปที่ 18) ตอนที่ทำเสร็จทั้งหมดนั้น ประมาณ10.30 น. ดังนั้นพอกินเสร็จอะไรเสร็จผมก็เดินทางไปอีกศูนย์ฯทันที

      ทีนี้ อีกศูนย์ก็คือศูนย์การเรียนรู้การทำขนมหวาน

<p style="text-align: justify;">รูปที่ 19 ศูนย์การเรียนรู้การทำขนมหวาน</p><p style="text-align: justify;">       เมื่อมาถึง เราก็พบว่า น้องๆนักเรียนมาถึงก่อนเราอีก ตกใจหมด และสิ่งแรกที่ได้ทำ คือการทำกระทงขนมตะโก้ โดยการเอาใบตองมาห่อแล้วเอาแม็กเย็บ</p>

<p style="text-align: justify;">รูปที่ 20 กระทงเกร๋ๆ</p><p style="text-align: justify;">       หลังจากนี้ผมจะเริ่มการอธิบายการทำขนมตะโก้แย่างหยาบๆแล้วนะครับ วิธีก็แบบเดิม เอารูปไก่อนแล้วอธิบายทีเดียว เอ้า เริ่ม!!!!</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 21 ต้มน้ำ</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 22 ใส่เผือกที่หั่นเป็นลูกเต๋า
</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 23 ใส่น้ำตาลปี้ป</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 24 น้องๆมีส่วนร่วมตลอดการอบรม</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 25 นำไส้ที่เสร็จแล้วมาหยอดใส่กระทงที่ทำไว้</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 26 พวกเราและน้องๆช่วยกันหยอดไส้</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 27 พักไว้ก่อน</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 28 วัตถุดิบการทำตะโก้(1)</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 29 วัตถุดิบการทำตะโก้(2)</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 30 ต้มน้ำและใส่เกลือ</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 31 ใส่หัวกระทิ</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 32 ใส่แป้งข้าวจ้าว</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 33 ผู้ที่ให้กำลังใจไม่ห่างหาย</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 34 ช่วยกันหยอดหน้าตะโก้</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 35 เสร็จสมบูรณ์</p>
<p style="text-align: justify;">รูปที่ 36 ขนมตาล</p><p style="text-align: justify;">       เอาล่ะครับ มาถึงการอธิบายแล้ว(ตอนแรกผมก็ทำถึงตรงนี้ ก่อนมันจะค้างและหายไปกับสายลม) ขั้นแรกของการทำตะโก้ เราจะทำไส้ก่อน ไส้นั้นทำด้วยการเริ่มจากการต้มน้ำก่อน(รูปที่ 21) แล้วเอาเผือกที่หั่นเป็นลูกเต๋าใส่ไปต้ม(รูปที่ 22) จากนั้นใส่น้ำตาลปี้ป(รูปที่ 23) ซึ่งในการทำกิจกรรมทุกอย่างตั้งแต่ขนมจีนจนถึงขนมหวาน น้องๆจะเป็นผู้มีส่วนร่วมหลัก ส่วนพวกผมจะซับพอร์ตอย่างเดียว(รูปที่ 24) หลังจากเคี่ยวจนเหนียว เราก็เอามาหยอดใส่กระทงที่เตรียมไว้(รูปที่ 25) โดยหลังจากน้องทำกันครบทุกคน พวกเราก็มาทำต่อ(รูปที่ 26) หลังจากนั้นก็พักไว้ให้เย็น(รูปที่ 27) และในรูปที่ 28-29 จะเป็นวัตถุดิบของการทำขนมตะโก้ ต่อมาจะเป็นการทำหน้ากระทิที่ไว้หยอดหน้าขนม เริ่มโดยการต้มน้ำและใส่เกลือลงไปนิดหน่อย(รูปที่ 30) พอเกลือละลายเราก็ใส่หัวกระทิ(รูปที่ 31) คนสักพักก็ใส่แป้งข้าวจ้าวลงไป(รูปที่ 32)โดยแป้งข้าวจ้าวต้องใช้ที่กรอง เหตุผลเดียวกับการทำขนมจีน โดยตลอดการทำขนมของเรา จะมีผู้ให้กำลังใจอยู่ตลอดเวลาไม่ห่างหาย ยันเราทำเสร็จมันก็ยังอยู่ตรงนั้น(รูปที่ 33) พอเคี่ยวจนเหนียว เราก็เอาแป้งมาหยอดลงบนไส้ที่พักไว้(รูปที่ 34) ต่อมา(รูปที่ 35)มันก็เสร็จแล้ววว บอกเลย่วาอร่อยมาก และแถมเค้ายังมีขนมตาลให้กินอีกด้วย(รูปที่ 36)เสร็จตรงนั้นก็เที่ยงพอดี เราจึงขอตัวกลับเพื่อไปกินข้าวกัน เรากลับมาที่สำนักงาน โดยเพื่อนที่ไปบ้านขนมจีนรอบสองได้ขนมจีนน้ำยาติดไม้ติดมือมาด้วย จึงเสร็จผม กลายเป็นข้าวกลางวันที่แสนอร่อยและประหยัด แถมยังมีขนมตะโก้กับขนมตาลติดมากินเป็นของหวานตบท้ายอีก จริงๆแล้วตอนบ่ายผมต้องไปบ้านปลากัดกับบ้านผ้าไหมต่ออีก แต่เนื่องจากไม่มีใครอยู่ประจำห้องป้านวลเลย ผมเลยต้องอยู่แทน เผื่อมีคนมาติดต่ออะไรจะได้มีคนรับเรื่อง ดังนั้นในช่วงบ่ายผมจึงใช้ชีวิตอยู่ในห้องป้านวล พร้อมเดินเอกสารเล็กๆน้อยๆ และเวลาก็ล่วงเลบมาจนถึงเวลา 16.30 น. ผมก็เลยเก็บของกลับบ้านตามปกติ</p><p style="text-align: justify;">       สรุป ในวันนี้ปมได้ความรู้เพิ่มเติมมามากมาย ทั้งการทำขนมจีน และการทำตะโก้ แถมยังได้รู้จักน้องๆที่น่ารักอีกด้วย น้องๆมีแต่ชั้นอนุบาลและป.3เอง แต่น้องน่ารักมากไม่ดื้อเลย ร่วมกิจกรรมดีมาก ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นอาทิตย์ที่ดีมากเลยทีเดียว</p><p style="text-align: right;">จบบันทึกวันที่ 9 เวลา 21.20 น.</p>

หมายเลขบันทึก: 663572เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท