นวัตกรรมการเปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง Studio สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก


                  หลังจากที่ได้เริ่มทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมแบบกลับด้านห้องเรียน ( Flip Classroom) เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง STUDIO ซึ่งพบว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหลักสำคัญ สำหรับมุมมองทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำหรับดิฉัน เพื่อเข้าถึงทรัพยากรการเรียน การเตรียมแผนการสอน ให้การบ้าน และติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง ครูจึง ต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการ ออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 แอพพลิเคชั่น“Google classroom” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Google Apps for Education จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้ครูมีเวลาที่ติดต่อสื่อสารกับนักเรียนมากขึ้น ในขณะเดียวกันนักเรียนก็มีเวลาค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ มากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นชุดเครื่องที่มีการผสานรวมแอพพลิเคชั่นของ Google ไว้หลากหลาย อาทิ Google Doc, Google drive, Google slide และ Gmail ไว้ด้วยกัน ครูจึงสามารถสร้างและรวบรวมงาน โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองกระดาษ และใช้งานนั้นในชั้นเรียนต่าง ๆ โดยสามารถเลือกว่าจะให้ผู้เรียนทำงานอย่างไร ทำเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน และครูสามารถติดตามว่า นักเรียนคนใดทำงานเสร็จแล้วบ้าง และใครยังทำงานไม่เสร็จ ตลอดจนแสดงความคิดเห็นให้คำแนะนำแก่นักเรียนแต่ละคนได้ตลอดเวลาแม้จะไม่ได้อยู่ในห้องสอน หรือโรงเรียน และนักเรียนสามารถดูรายการงาน ของชั้นเรียนที่กำลังทำอยู่และที่ทำเสร็จแล้ว แสดงความเห็น ปรับเปลี่ยนและทำงานร่วมกันเป็นทีม มองเห็น ภาวะผู้นำและผู้ตามของผู้เรียนในชั้น ที่สำคัญครูสามารถวัดประเมินชิ้นงานตามสภาพจริง สามารถดู คะแนนทั้งหมดของงาน ส่วนนักเรียนสามารถดูคะแนนของตนเองสำหรับงานที่ทำเสร็จแล้ว ที่ชอบสุดๆ คือ การแชร์งานร่วมกัน นักเรียนสามารถทำงานร่วมกัน โดยแชร์งานจากงานชิ้นเดียวกัน  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

นวัตกรรมกลับด้านห้องเรียน เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง Studio
สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนศรียานุสรณ์ จันทบุรี

                                                                            นักเรียน  ม.3/6    จำนวน   35    คน

ตัวอย่างงานชิ้นที่ 1  สรุปความหมาย VDO เป็นผังความคิด

1.การสรุปองค์ความรู้เรื่อง VDO เป็นผังความคิด ลงใน Google Document

2.นำส่งผู้สอนใน Google Classroom นำหนักคะแนน 10 คะแนน
3.ผู้สอนตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การประเมินแก่ผู้เรียนและแจ้งผลคะแนนกลับทันทีดังรูป
                                                 
ตัวอย่างงานชิ้นที่ 2:การเขียนสตอรี่บอร์ดแนะนำตัวเอง

1.นักเรียนศึกษาจากแหล่งเรียนรู้เรื่องหลักการเขียน สตอรี่บอร์ด จากแหล่งเรียนรู้ซึ่งผู้สอนเตรียมไว้ให้ใน Classroom จากที่บ้าน
โดยผู้สอนชี้แนะแนวทางเพิ่มเติมในชั่วโมงเรียน

แหล่งเรียนรู้เรื่องหลักการเขียน สตอรี่บอร์ด จากแหล่งเรียนรู้ซึ่งผู้สอนเตรียมไว้ให้ใน Classroom

**เครดิตร  ครูไอที  บทเรียนออนไลน์

2.นักเรียนฝึกปฏิบัติเขียนสตอรี่บอร์ดและสร้างสตอรี่บอร์ดแนะนำตัวเองใน Google.doc
3. นำส่งผู้สอนใน Google Classroom 
4.ผู้สอนตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การประเมินแก่ผู้เรียนและแจ้งผลคะแนนกลับทันทีดังรูป

ตัวอย่างงานชิ้นที่ 3:การเล่าเรื่องความประทับใจ ด้วย www. storyboardthat.com


1.นักเรียนศึกษาจากแหล่งเรียนรู้เรื่อง การเลือกใช้โปรแกรมและคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากที่บ้าน
2.เลือกใช้โปรแกรม storybordthat.com เพื่อสร้างเรื่องเล่าและความประทับใจตามจินตนาการของนักเรียนในการสร้างชิ้นงาน ผ่าน Google.doc
3. นำส่งผู้สอนใน Google Classroom

4.ผู้สอนตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การประเมินแก่ผู้เรียนและแจ้งผลคะแนนกลับทันทีดังรูป

ตัวอย่างงานชิ้นที่ 4:งานสร้าง VDO แนะนำตัวเอง

  1. นักเรียนศึกษาจากแหล่งเรียนรู้เรื่อง การใช้งานโปรแกรมตัดต่อ VDO Corel Vedeo Studio Pro จากแหล่งเรียนรู้ที่ครูเตรียมให้ใน Google Classroom จากที่บ้าน
    2.ลงมือฝึกปฏิบัติการใช้งานโปรแกรม โดยครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้คำปรึกษาในชั้นเรียน
    3.จัดทำชิ้นงาน VDO แนะนำตัวเอง ส่งผ่าน Google Classroom


                                                             ตัวอย่างชิ้นงานของนักเรียน                                                                   

ตัวอย่างงานชิ้นที่ 5 :งานกลุ่มนำเสนอสารคดี/โฆษณา

1.ผู้เรียนแบ่งกลุ่มๆละ 7-8 คน จำนวน 4-5 กลุ่ม ขี้นอยู่กับจำนวนนักเรียนในแต่ละห้อง

2.แต่ละกลุ่มจัดทำกระบวนการกลุ่มแบ่งบทบาทหน้าที่ในกลุ่ม

3.แต่ละกลุ่มสร้าง Google slide เพื่อเป็นศูนย์กลางในการนำงานมาวางของกลุ่ม

4.ระดมสมองในการเขียนบทเพื่อเตรียมการนำเสนอสารคดี/โฆษณา ในแต่ละกลุ่ม

5.แบ่งหน้าที่บทบาทหน้าที่/ภาระงาน ให้แต่ละคนในกลุ่ม

6.แต่ระยะของการทำงานมีการนำงานมาให้ครูผู้สอนดูเป็นระยะ ( PDCA) เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนางานและเดินหน้าวางแผนการทำงานต่อไป

7.นำงานที่แต่ละคนได้รับมอบหมายให้ไปทำ มา รวม เพื่อดูภาพรวมแล้วนำมาปรับปรุงพัฒนา( PDCA) และเตรียมนำเสนอผ่าน Google Classroom ต่อไป

8.แต่ละคน สะท้อนคิดการทำงาน  (AAR ) ตาม บทบาทและภาระงานที่ตนได้รับมอบหมาย

9.ประเมินการนำเสนองาน/ชิ้นงานของเพื่อนแต่ละกลุ่มพร้อมบันทึกการประเมินและวิจารณ์ชิ้นงานของกลุ่มเพื่อนอย่างสร้างสรรค์

ตัวอย่าง Google slide เพื่อเป็นศูนย์กลางในการนำงานมาวางของกลุ่มสารคดีแนะนำสถานที่ถ่ายภาพ

สารคดีชุมชนขนมแปลกจันทบุรี                                       

สารคดีแนะนำสถานที่ถ่ายรูปสวยๆในชุมชน

สารคดีชุดเด็กติดเกมส์

แสดงตัวอย่าง Google slide เพื่อเป็นศูนย์กลางในการนำงานมาวางของกลุ่มสารคดีพาเที่ยวชุมชนขนมแปลก


โฆษณาหมึกย่างตราเจ๊หมวยรำเค็ญ

ตัวอย่าง Google slide เพื่อเป็นศูนย์กลางในการนำงานมาวางของกลุ่มโฆษณาปลาหมึกย่าง ตราเจ๊หมวยรำเค็ญ

คุณสมบัติของสไสด์งานกลุ่มสามารถเชื่อมโยงไปยังบันทึกการสะท้อนคิดการทำงานของสมาชิกในกลุ่มได้

ประเมินการนำเสนองาน/ชิ้นงานของเพื่อนแต่ละกลุ่มพร้อมบันทึกการประเมินและวิจารณ์ชิ้นงานของกลุ่มเพื่อนอย่างสร้างสรรค์

ตัวอย่างแสดงกระบวนการทำงานของกลุ่มที่นำเสนอ

ตัวอย่างแบบทดสอบออนไลน์ วิชา คอมพิวเตอร์กราฟิก 2
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561

ตัวอย่างการตอบกลับและนำเข้าคะแนนสอบในรายวิชา

                           จากการจัดรูปแบบกิจกรรมดังกล่าว ดิฉันได้นำไปศึกษาว่าผลสัมฤทธิ์และความพึงใจของนักเรียนจะเป็นอย่างไรเมื่อใช้รูปแบบกิจกรรมนี้ ผลปรากฏตามบทคัดย่อของการศึกษาค้นคว้า ดังนี้

ชื่อเรื่อง  :  การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลับด้านห้องเรียน (Flip Classroom) เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องStudio ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรียานุสรณ์ จันทบุรี ภาคเรียนที่ 2/2561

ผู้เขียน        :  ขวัญเรือน   ปริ่มกมล

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

1.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก2 (ง 23202) ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านห้องเรียน (Flip Classroom) เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง Studio

2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ กลับด้านห้องเรียน (Flip Classroom) เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง Studio รายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 2 (ง 23202)

วิธีดำเนินการวิจัย

            วิธีการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการของการวิจัยเชิงทดลอง  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนศรียานุสรณ์   อำเภอสอยเมือง  จังหวัดจันทบุรี        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17  ปีการศึกษา 2561  จำนวน 35 คน    ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลับด้านห้องเรียน (Flip Classroom) เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องStudio   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   เรื่อง  การสร้างชิ้นงาน   จำนวน 20 ข้อ  และแบบประเมินความพึงพอใจ  จำนวน 20 ข้อ      สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าเฉลี่ย  ค่าความแปรปรวน  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าอำนาจจำแนก  ค่าความยากง่าย และค่าสถิติ t-test แบบ Independent

ผลการวิจัย

            1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบกลับด้านห้องเรียนเปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง Studio มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 2  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 
         2.  นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบกลับด้านห้องเรียนเปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง Studio มีความพึงพอใจปานกลาง ต่อการ จัดการเรียนรู้แบบแบบกลับด้านห้องเรียน (Flip Classroom)

             จากผลการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว จึงได้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

           1.การนำกิจกรรมแบบกลับด้านห้องเรียนเปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง Studio มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนและ นักเรียนจะต้องเตรียมความพร้อมโดยครูจะต้องชี้แจงนักเรียนก่อนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียน เข้าใจรูปแบบการเรียนรู้และครูผู้สอนจะต้องมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ จะสอนการจัดกิจกรรมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆ     
          2.ควรนำกิจกรรมแบบกลับด้านห้องเรียนเปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง Studio ไปใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้หรือ แนวคิดอื่นๆที่ส่งเสริมหรือพัฒนาทักษะด้านอื่น เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การอ่าน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น    

หมายเลขบันทึก: 662751เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2019 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2019 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท