การพัฒนาการใช้ Alberta Stroke Program Early CT Score (ASPECTS)


อ่านงานของรังสีแพทย์ท่านหนึ่ง

นำ ASPECTES มาใช้ในการเทียบเคียง การอ่านผลของรังสีแพทย์ และแพทย์ใช้ทุนเพื่อทดสอบค่าความแปลผลว่าแตกต่างกันไหม

โดยใช้ค่า ICC ในการทดสอบ ถ้า แพทย์ใช้ทุนสามารถอ่านผลได้แม่นยำใกล้เคียงรังสีแพทย์ ก็จะสามารถอ่านและแปลผลได้เลย โดยไม่ต้องรอรังสีแพทย์มาอ่านผล ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ได้ในโรงพยาบาลที่ขาดแคลนรังสีแพทย์ค่ะ 

จุดเด่นของงานนี้คือ

- ข้อเด่นของงานคือ ลดระยะเวลาและเพิ่มความเเม่นยำในการวินิจฉัยโรค

ทำให้ลดการดีเลย์ในการวินิจฉัย ผู้ป่วยเข้าถึงระบบบริการมากขึ้น

ซึ่งผลงานนี้คือ
การพัฒนาการใช้ Alberta Stroke Program Early CT Score (ASPECTS) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลยโสธร”

ผู้วิจัย:อนิลธิตา พรมณี

" โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของความทุพพลภาพและเสียชีวิตทั่วโลก การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเป็นขั้นตอนสำคัญในการประเมินภาพถ่ายทางรังสีของสมองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางเส้นเลือดดำอย่างรวดเร็ว ภายใน 3-4.5 ชั่วโมงแรกนับตั้งแต่เริ่มมีอาการซึ่งจะสามารถทำให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติได้หรือช่วยลดความพิการเมื่อติดตามผลภายหลังการรักษา 3 เดือน มีหลายงานวิจัยแนะนำให้ใช้ ASPECTS มาประเมินผลการรักษาและดูว่าเนื้อสมองขาดเลือดมากกว่า 1/3 ของหลอดเลือดแดง middle cerebral โรงพยาบาลยโสธรยังไม่ได้นำ ASPECTS มาใช้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการใช้ ASPECTS ประเมินภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้าระบบ Stroke Fast Track ช่วงที่ผ่านมาและนำผลที่ได้ประกอบการพัฒนาการใช้ ASPECTS ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน

" เพื่อพัฒนาแนวทางการใช้ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยใช้ ASPECTS ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้าระบบ Stroke Fast Track "เป็นการวิจัยและพัฒนา ทำการศึกษาในโรงพยาบาลยโสธร มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนข้อมูลเวชระเบียนและภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองย้อนหลังผู้ป่วยที่เข้าระบบ Stroke Fast Track เดือนม..-มิ.. 2561 มีผู้ป่วยทั้งหมด 120 ราย ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาแนวทางการใช้ ASPECTS ในผู้ป่วย และทดลองใช้ในเดือนม..-มี.. 2562 มีผู้ป่วยทั้งหมด 72 ราย โดยมีแพทย์เพิ่มพูนทักษะ 14 คนและอายุรแพทย์ 7 คนเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางการพัฒนา ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการทดลองใช้แนวทางการพัฒนา 

วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติอ้างอิง Mann - Whitney U Test ความสอดคล้องใช้  Intraclass Correlation Coefficient หรือ ICC" การทบทวนข้อมูลพบว่า มัธยฐานระยะเวลาตรวจและแปลผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเท่ากับ 29 นาที ซึ่งนานกว่าเป้าหมายตามแนวทางการรักษาของ AHA/ASA มัธยฐานระยะเวลาแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเท่ากับ 36 นาที กลุ่ม Better ASPECTS (คะแนน>7) จะมีความรุนแรงและผลลัพธ์ของโรคหลอดเลือดสมองก่อนจำหน่ายดีกว่ากลุ่มWorse ASPECTS(คะแนน≤7)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มที่พบ Hyperedense MCA sign พบผลการรักษาที่ไม่ดี หลังทดลองตามแนวทางที่พัฒนาพบว่า ความสอดคล้องการให้คะแนน ASPECTS ระหว่างรังสีแพทย์กับแพทย์เพิ่มพูนทักษะอยู่ในระดับดี (ICC=0.820, 95% CI=0.712-0.887) ระยะเวลาตรวจและแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ระยะเวลาแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองลดลงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความคิดเห็นส่วนมากของแพทย์เพิ่มพูนทักษะและอายุรแพทย์ต่อการพัฒนาอยู่ในระดับมากและมากที่สุด "1. แพทย์ผู้เกี่ยวข้องในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน มีข้อมูลการแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดย ASPECTS ที่มีคุณภาพ รวดเร็ว เพื่อใช้ข้อมูลประกอบการให้การรักษาผู้ป่วย  

 2. โรงพยาบาลอื่นๆหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลผลการศึกษาไปใช้ในการดำเนินงานหรือพัฒนางานการใช้ผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดย ASPECTS ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้" การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันต้องอาศัยความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาอย่างทันเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการ รวมถึงการวินิจฉัยและการรักษาให้ได้ตามมาตรฐานเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการรักษา ดังนั้นกระบวนการพัฒนาระบบช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองจึงมีความสำคัญยิ่ง ความร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพเพื่อพัฒนางานระบบ stroke Fast track และการสนับสนุนด้านข้อมูลจากแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน และ แผนก รังสีวิทยา


หมายเลขบันทึก: 662444เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2019 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2019 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท